เรื่อง เกี่ยว กับ สุขภาพ: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หลายปีที่ผ่านมา Facebook ถือว่าเผชิญหน้ากับพายุและข่าวร้ายต่างๆ มามากมาย ทั้งเรื่องของสิทธิมนุษยชน ความเป็นส่วนตัว การโปรโมตความรุนแรงผ่านสื่อ ข่าวปลอม อิทธิพลต่อการเมืองและเลือกตั้ง ประชาธิปไตย และอีกมากมาย ส่วนใหญ่แล้วที่ผ่านมาเหตุการณ์เหล่านี้มักจะจบลงที่ข่าวเงียบหายไป หรืออย่างมาก มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) ซีอีโอของบริษัทก็ออกมาชี้แจงเล็กๆ น้อยๆ และสัญญาว่าจะทำให้โซเชียลมีเดียแห่งนี้ดีขึ้น และทุกอย่างก็วนลูปใหม่อีกครั้งหนึ่ง
สัญญาเหล่านี้หลายครั้งดูมีความจริงใจ สิ่งที่ผู้ใช้งานคาดคิดในหัวก็คือว่า “พวกเขาคงพยายามแก้อยู่ ไม่ได้เกิดจากความตั้งใจหรือปล่อยปละละเลยหรอก” แล้วก็หวังว่าทุกอย่างจะถูกดำเนินการและแก้ให้ดีขึ้น แต่ความเป็นจริงอาจจะไม่ใช่อย่างที่คิด เพราะช่วงเดือนที่ผ่านมาตามหลักฐานชิ้นใหม่ที่ถูกเปิดเผยบนเว็บไซต์ The Wall Street Journal บ่งบอกว่าสิ่งที่พวกเขาและแรงจูงใจเบื้องหลังนั้นนอกจากจะเป็นอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของการตัดสินใจของผู้นำที่พวกเขารู้เห็นเรื่องเหล่านี้อยู่แล้วนานหลายปี แต่ยังปล่อยให้เกิดขึ้นต่อไปโดยไม่ทำอะไรเลย
มีหลายเรื่องที่รายงานใน The Wall Street Journal กล่าวถึง แต่เรื่องหนึ่งที่อยากยกมาพูดคือ ‘อันตรายต่อสุขภาพจิต’ ของผู้ใช้งานวัยรุ่นใน Instagram (ที่อยู่ภายใต้ Facebook) โดยเฉพาะกับวัยรุ่นผู้หญิง เอกสารงานวิจัยของ Instagram บอกว่า 1 ใน 3 ของเด็กผู้หญิงวัยรุ่นที่รู้สึกแย่เกี่ยวกับร่างกายของตัวเองนั้น การใช้งาน Instagram ยิ่งทำให้รู้สึกแย่ลงไปอีก (ซึ่งน่าจะเป็นผลจากระบบการจัดอันดับเนื้อหาที่อิงตามการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน) แถมยังรู้สึกว่า Instagram ทำให้กระวนกระวายและซึมเศร้ามากขึ้น และที่สำคัญ คือ ในกลุ่มของผู้ใช้งานเด็กวัยรุ่นที่มีความคิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายโดย 13% เป็นชาวอังกฤษ และ 6% เป็นชาวอเมริกัน บอกว่า ความรู้สึกนี้สามารถไล่ย้อนกลับไปหา Instagram ที่สัมพันธ์กับปัญหาดังกล่าวได้
ตัวเลขเหล่านี้มาจากรายงานงานวิจัยของ Instagram เอง แน่นอนว่า ทุกอย่างนั้น Facebook มีส่วนรู้เห็นและถือข้อมูลไว้ในมือ มีการเปิดเผยและโต้แย้งกลับจากทาง Facebook ที่นำเอาหลักฐานและรายงานมาหักล้างประเด็นดังกล่าว ซึ่งก็เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันต่อว่า The Wall Street Journal อาจจะทำให้เรื่องนี้บิดเบือนและเลือกชูแค่บางประเด็นที่อาจจะไม่ใช่ภาพรวมของทั้งหมดรึเปล่า นิก เคลกก์ (Nick Clegg) รองประธานฝ่ายกิจการระดับโลกของ Facebook ได้กล่าวว่า ข้อกล่าวหาของ The Wall Street Journal นั้น “ไม่ถูกต้องเลย” เขาบอกว่า
“เราปฏิเสธการนำเสนองานของเราที่ผิดเพี้ยนและขัดต่อแรงจูงใจของบริษัท” เขาบอกต่อว่า “จุดประสงค์ของการวิจัยภายในของ Facebook ‘คือการสะท้อนสิ่งที่เราทำและถามคำถามที่ยาก’ ปัญหาที่ซับซ้อนดังกล่าวมักไม่ได้มาพร้อมกับคำตอบง่ายๆ”
แต่ประเด็นเรื่องของผลกระทบทางสุขภาพจิตของเด็กวัยรุ่นนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ ในรายงานของ Facebook ปี ค.ศ.2017 ก็บ่งบอกเช่นกันว่าแพลตฟอร์มของพวกเขาอาจจะส่งผลเสียต่อผู้ใช้งานขึ้นอยู่กับว่าใช้งานมันยังไง
ผลกระทบที่อาจไม่ดีนัก
ในบทความของสำนักข่าว BBC รายงานเกี่ยวกับงานวิจัยของสถาบันนโยบายการศึกษา (EPI) และ The Prince’s Trust (องค์กรการกุศลเพื่อเด็กที่มีความเสี่ยงในอังกฤษ) ที่ตีพิมพ์เมื่อต้นปี ค.ศ.2021 ว่า จากการสอบถามเด็กวัยรุ่นกว่า 5,000 คนในอังกฤษ พบว่าความมั่นใจและสภาพจิตใจของเด็กจะไม่แตกต่างกันมากในวัยประถม แต่เมื่ออายุประมาณ 14 ปี สุขภาพจิตจะเริ่มแย่ลงโดยเฉพาะเด็กผู้หญิงที่ชัดเจนกว่ามาก จากการศึกษา เด็กผู้หญิง 1 ใน 3 ไม่พอใจกับรูปร่างหน้าตาของตัวเองเมื่ออายุ 14 ปี เทียบกับเพียง 1 ใน 7 เท่านั้นตอนจบชั้นประถมศึกษา สิ่งที่พบต่อมาก็คือ ความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างการใช้โซเชียลมีเดียอย่างหนักตั้งแต่อายุ 14 ปี และความมั่นใจในตัวเองที่น้อยลง บวกกับความเครียดทางสภาพจิตใจที่สูงขึ้นเมื่ออายุได้ 17 ปี
นักวิจัยของ EPI ยังพบอีกว่า จำนวนคนหนุ่มสาวที่มีแนวโน้มอาการป่วยทางจิตได้เพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 6 ในปี ค.ศ.2021 จาก 1 ใน 9 ในปี ค.ศ.2017 และในรายงานยังกล่าวต่อว่า
“การใช้โซเชียลมีเดียอย่างหนักถูกเชื่อมโยงกับสุขภาพจิตในทางลบและความมั่นใจในตัวเอง โดยมากเป็นผู้หญิงที่รู้สึกซึมเศร้าและสิ้นหวัง”
หนึ่งในรายงานของ The Wall Street Journal บอกว่า Facebook มีการแชร์ข้อมูลที่สรุปคล้ายกันจากงานวิจัยในเดือนมีนาคม ค.ศ.2020 บอกว่า “การเปรียบเทียบบน Instagram นั้นสามารถเปลี่ยนมุมมองของผู้หญิงวัยรุ่นที่มองตัวและบรรยายตัวเองได้” และทำให้ 1 ใน 3 ของเด็กผู้หญิงวัยรุ่นที่รู้สึกแย่เกี่ยวกับร่างกายของตัวเองนั้น Instagram ยิ่งทำให้รู้สึกแย่ลงไปอีก
ในบทความบทเว็บไซต์ The Conversation ที่เขียนโดยนักวิจัยจาก University of Melbourne’s National Centre of Excellence in Youth Mental Health ได้มีการเตือนเกี่ยวกับเรื่องการใช้โซเชียลมีเดียและผลกระทบทางด้านลบที่ตามมาอย่างความเครียด ซึมเศร้า นอนไม่หลับ เรื่องโภชนาการและความเสี่ยงฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้นด้วย เหตุผลที่ยกมามีตั้งแต่การกลั่นแกล้งทางออนไลน์ (cyberbullying) การเปรียบเทียบกับสิ่งที่ไม่ได้เป็นความจริง (comparisons to unrealistic portrayals) และคอนเทนต์ที่ส่งเสริมการทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย (suicide and self-harm content)
มีการศึกษาชิ้นหนึ่งจาก University of Missouri พบว่า ‘ความรู้สึกอิจฉาคนอื่นหรือรู้สึกว่าตัวเองดีไม่พอ’ เกิดมากขึ้นเมื่อใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook ที่ทำให้ผู้ใช้งานเห็นว่า “คนที่เขารู้จักนั้นมีชีวิตที่ดี มีความสุขในความสัมพันธ์ สิ่งที่ทำให้คนอื่นอิจฉาได้ การใช้งานเว็บไซต์เหล่านี้จะทำให้เกิดความรู้สึกซึมเศร้าได้”
แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผลกระทบในทางลบเหล่านี้จะทำให้เรารู้สึกว่าโซเชียลมีเดียนั้นก่อให้เกิดแต่ปัญหา แต่ในความเป็นจริงแล้วก็อาจจะด่วนสรุปแบบนั้นไม่ได้ การจะบอกว่าการใช้โซเชียลมีเดียนั้น ‘ส่งผลโดยตรง’ ให้สุขภาพจิตใจของเราแย่ลงนั้นก็ยังเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันอยู่ เพราะงานวิจัยหรือการศึกษาทั้งหลายนั้นล้วนบ่งบอกไม่ได้ว่า ‘การใช้โซเชียลมีเดียนั้นทำให้เกิดอาการซึมเศร้าและวิตกกังวล หรือว่า เมื่อคนป่วยเป็นซึมเศร้าหรือวิตกกังวลจึงใช้โซเชียลมีเดียมากยิ่งขึ้น’ เพราะอาการป่วยทางจิตนั้นสามารถเกิดขึ้นได้หลายแบบ มีปัจจัยมากมายที่อาจจะส่งผลกระทบ เพราะฉะนั้นการจะบอกว่าปัญหาสุขภาพจิตมาจากปัจจัยของการใช้งานโซเชียลมีเดียอย่างเดียวก็ดูจะเป็นการด่วนสรุปมากเกินไป
ผลกระทบในอีกทางหนึ่ง
เราจะบอกว่าโซเชียลมีเดียนั้นไม่มีเรื่องดีเลยก็คงไม่แฟร์เท่าไหร่ เพราะโซเชียลมีเดียก็เป็นพื้นที่ให้เราได้เชื่อมต่อถึงเพื่อนฝูง ครอบครัว และคนที่คุณสนใจอยากติดตาม มันเป็นสังคมที่เราเข้าไปใช้ชีวิต มีปฏิสัมพันธ์ สร้างเพื่อนใหม่ๆ มิตรภาพ หางาน หาความรู้ สร้างรายได้ ติดตามข่าวสารมากมาย เพราะฉะนั้นจะบอกว่าไม่มีประโยชน์เลยก็คงไม่ถูกนัก
ในงานวิจัยฉบับเดียวกันของ University of Missouri ที่เพิ่งพูดถึงไปก็พบว่า สำหรับคนที่ใช้โซเชียลมีเดียเพื่อเชื่อมต่อกับคนอื่นนั้น แทบไม่มีผลทางลบเลยด้วยซ้ำ อันที่จริงแล้วสิ่งที่พบกลับตรงกันข้าม ถ้ามันไม่ได้ทำให้เกิดความรู้สึกอิจฉาหรือรู้สึกแย่ Facebook กลับเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีและสร้างผลกระทบทางด้านบวกกับผู้ใช้งานอีกด้วย
มีหลักฐานอีกชิ้นที่น่าสนใจ และบ่งบอกว่าโซเชียลมีเดียนั้นส่งผลดีกับคนที่กำลังเผชิญปัญหาเกี่ยวกับสภาพจิตใจ โดยการเข้าไปอยู่ในกลุ่มสังคมออนไลน์ที่ช่วยเหลือ ให้ข้อมูล และมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลปัญหาไปด้วยกัน องค์กร Mental Health Foundation ในอังกฤษบอกว่ามัน ‘ปฏิเสธไม่ได้’ เลยว่าเทคโนโลยีออนไลน์นั้นสามารถทำให้พวกเขาเข้าถึงกลุ่มคนที่ต้องการความช่วยเหลือจริงๆ และกลุ่มคนที่ไม่ยอมเข้ามารักษาเพราะกังวลการตัดสินจากสังคมที่พวกเขาอยู่ด้วย โซเชียลมีเดียเป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับคนที่มีปัญหาทางสุขภาพ มันทำให้พวกเขารู้ว่าไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว มีคนที่เคยผ่านโรคร้ายมาและตอนนี้ก็ดีขึ้นแล้ว โซเชียลมีเดียเป็นสังคมที่เขาสามารถเป็นส่วนหนึ่งได้ ไม่รู้สึกแปลกแยก โดดเดี่ยว เป็นความรู้สึกที่พวกเขาไม่สามารถไปหาที่ไหนได้ง่าย ๆ เลย
เด็กวัยรุ่นคือกลุ่มคนที่ยังต้องเอาใจใส่
ศูนย์ประสานงานขับเคลื่อนการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ (COPAT) บอกในรายงานของปี ค.ศ.2019 ว่าจากกลุ่มนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนปลายของไทยกว่า 15,000 คน พบว่า 31.1% เคยมีประสบการณ์ในการถูกกลั่นแกล้งออนไลน์ และที่น่าเป็นห่วงไปกว่านั้นคือ 33.6% เคยกลั่นแกล้งผู้อื่นออนไลน์ โดยตัวเลขที่ยิ่งน่าเป็นห่วงหนักเลยคือ 48.5% ของเด็กที่เป็นเพศทางเลือก (เกือบ 1 ใน 2) มักจะถูกกลั่นแกล้งทางออนไลน์เสมอ เด็กที่ถูกกลั่นแกล้งทั้งหมด 40.4% เลือกที่จะเก็บเงียบและไม่บอกใคร
เรื่องความกดดันของสังคมและเพื่อนฝูงออนไลน์ก็ยังเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง แม้ว่าโซเชียลมีเดียต่าง ๆ จะพยายามออกฟีเจอร์เพื่อป้องกันการใช้งานที่มากเกินไป การตั้งเวลาการใช้งาน หรือ parental-control (จัดการโดยผู้ปกครอง) ก็พอช่วยได้ แต่ก็ไม่ได้ทั้งหมด การสื่อสารจากพ่อแม่เองและสถาบันการศึกษาต้องให้ความร่วมมือและพยายามเข้าใจเด็กๆ ในรุ่นต่อไปให้มากขึ้น การใช้โซเชียลมีเดียแบบ active เช่นการส่งข้อความไปคุยกับเพื่อนหรือทำงานนั้นส่งผลทางบวกให้กับการใช้งาน แต่ถ้าเป็นการใช้แบบ passive เช่นนั่งไถ Instagram กลับพบว่าทำให้รู้สึกเครียดและซึมเศร้ามากขึ้น ซึ่งผลกระทบของมันก็มากน้อยต่างกันไปในแต่ละบุคคลอีกด้วย
แน่นอนว่าสิ่งที่เราคาดหวังจากผู้สร้างแพลตฟอร์มอย่าง Facebook หรือ Instagram นั้นจะพยายามทำให้พื้นที่ออนไลน์เหล่านี้มีประโยชน์มากกว่าโทษ และไม่ได้เห็นผู้ใช้งานเป็นเพียงเครื่องผลิตเงินให้กับบริษัทเท่านั้น พยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่าง ‘แท้จริง’ (สักที) แต่ที่สำคัญก็คือว่าเราเองต้องรู้ถึงความเสี่ยง ผลกระทบ ไม่ว่าจะดีหรือร้ายของการใช้งานในพื้นที่โซเชียลมีเดียด้วย เราจะโทษทุกอย่างที่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมว่ามาจากโซเชียลมีเดียก็ไม่ได้ แต่จะปฎิเสธว่ามันไม่เกี่ยวข้องก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน
ผู้ปกครอง องค์กรที่ดูแลเรื่องของสุขภาพจิต โรงเรียน มหาวิทยาลัย และเด็กๆ วัยรุ่นทั้งหลาย มีบทบาทหน้าที่ของตัวเองที่จะต้องทำเพื่อให้ความเสี่ยงเหล่านี้ลดลงให้เหลือน้อยที่สุด เพราะความจริงอย่างหนึ่งก็คือว่า การใช้งานโซเชียลมีเดียไม่มีทางหายไป แม้ Facebook หรือ Instagram วันหนึ่งจะตายหายไป ก็จะมีโซเชียลมีเดียใหม่ๆ โผล่เพิ่มขึ้นมา ซับซ้อนมากขึ้น และอาจจะอันตรายมากขึ้นด้วย เราต้องจัดการความเสี่ยงและผลกระทบเหล่านี้ด้วยกัน ขณะเดียวกันก็เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากมันให้เต็มที่เพื่อเด็กในรุ่นต่อๆ ไปด้วยเช่นเดียวกัน
อ้างอิงข้อมูลจาก
5rightsfoundation.com
www.theweek.co.uk
www.theguardian.com
www.bbc.com
childmind.org
www.abingtonhealth.org
time.com
www.theguardian.com
www.theguardian.com
Illustration by Kodchakorn Thammachart
Share this article
[Update] สุขภาพ ภาษาอังกฤษ | health | เรื่อง เกี่ยว กับ สุขภาพ – Sonduongpaper

สุขภาพ ภาษาอังกฤษ – health
source: expertbeacon.com
วันนี้ผมขอพูดถึงคำว่า สุขภาพในภาษาอังกฤษ โดยคำว่า สุขภาพ ในภาษาอังกฤษ ก็คือคำว่า health ( noun – เฮลธ์) นั่นเอง ถ้าอยู่ในรูป คำ adjective ก็จะกลายเป็น healthy (adj – เฮลธี) แปลว่า สุขภาพดี คำว่า health นี่โดยส่วนใหญ่จะหมายถึงสุขภาพทางร่างกาย (the general condition of your body and how healthy you are)
มีคำกล่าวที่ว่า early to bed and early to rise, makes a man healthy, wealthy, and wise
นอนให้เร็วตื่นให้เช้าทำให้คนเรา สุขภาพดี มีความมั่งคั่งและฉลาด หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการเข้านอนให้ไวตื่นให้เร็วเป็นปัจจัยเบื่องต้นที่จะทำให้ประสบความสำเร็จนั้นเอง
คำว่า health กับ wealth เป็นภาษาอังกฤษที่ผมจำตัวสะกด (spelling) ได้ดีเพราะคล้ายกันมาก พอมาเจอรูป adjective healthy กับ wealthy ยิ่งเหมือนได้กำไร เพราะมีความคล้ายกันเข้าไปอีก wealth (noun-เวลธ์) แปลว่าความมั้งคั่ง หรือความรำ่รวย ส่วน wealthy (adj-เวลธี) แปลว่าร่ำรวย หรือมั่งคั่ง
health-wellness
Source:csum.edu
นอกจากคำว่า health ที่แปลว่า สุขภาพ เราอาจจะใช้ คำว่า healthiness (noun – เฮลธิเนส) หรือ wellness (noun – เวลเนส) ก็ได้เช่นกัน รวมทั้งอาจจะใช้คำว่า well-being (noun – เวลล์บีอิง) ก็น่าจะเทียบเคียงกันได้ เช่น physical well-being สุขภาพทางร่างกาย
ทีนี้เราลองมาดูสำนวนหรือคำที่เรามักจะเจออยู่บ่อยๆเวลาที่พูดถึง health ในภาษาอังกฤษ
damage somebody’s health (แดมมิจ ซัมบอดีซ์ เฮลธ์) ทำลายสุขภาพ
ตัวอย่าง
Smoking will surely damage your health.
การสูบบุหรี่จะทำลายสุขภาพของคุณอย่างแน่นอน
Second-hand smoking or passive smoking damage non-smoker’s health more than the smoker himself and it makes you more likely to get lung cancer.
ควันบุหรี่มือสองที่เรียก second-hand smoking หรือ passive smoking ทำลายสุขภาพของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่มากกว่าคนสูบซะเองและมีความเป็นไปได้มากที่จะเป็นมะเร็งปอด
improve somebody’s health (อิมพรูฟ ซัมบอดีซ์ เฮลธ์) ทำให้สุขภาพดีขึ้น
ตัวอย่าง
Going to bed early improve your health.
การเข้านอนเร็วจะทำให้สุขภาพดีขึ้น
good/excellent health (กูด/เอค’ซะเลินทฺ เฮลธ์) สุขภาพดี สุขภาพดีเยี่ยม
ตัวอย่าง
Even Jenny is 60, she is still in good shape and have an excellent health.
ถึงเจนนี่จะอายุ 60 แล้ว แต่เธอก็ยังคงหุ่นดีและมีสุขภาพดีเยี่ยม
poor/ill health (พัวร์/อิล เฮลธ์) สุขภาพแย่ สุขภาพไม่ดี
ตัวอย่าง
Sara had to leave her job due to ill health.
ซาราต้องออกจากงานเพราะสุขภาพไม่ดี
be in good/excellent/the best of health (บี อิน กูด/เอค’ซะเลินทฺ/เธอะ เบสท์ ออฟ เ ฮลธ์) มีสุขภาพดีเยี่ยม
ตัวอย่าง
Don’t worry too much, she is in excellent health.
อย่ากังวลไปเลย เธอมีสุขภาพดีเยี่ยม
be in poor health (บี อิน พอร์ เฮลธ์) มีสุขภาพแย่
ตัวอย่าง
He is still young but he is in poor health.
เขายังหนุ่มอยู่แต่มีสุขภาพที่แย่
be good for somebody’s health (บี กูด ฟอร์ ซัมบอดีซ์ เฮลธ์) ดีต่อสุขภาพ ทำให้สุขภาพดี
ตัวอย่าง
Eating healthy food is good for your health.
การกินอาหารมีประโยชน์ทำให้สุขภาพดี
Light meals is better for a patient’s health after the operation.
อาหารอ่อนๆจะดี(กว่าอาหารหนัก)ต่อสุขภาพผู้ป่วยหลังผ่าตัด
be bad for somebody’s health (บี แบด ฟอร์ ซัมบอดีซ์ เฮลธ์) ไม่ดีต่อสุขภาพ
ตัวอย่าง
Being around tobacco smoke is bad for your health.
การอยู่ใกล้ควันบุหรี่ไม่ดีต่อสุขภาพของคุณ
somebody’s state of health ( ซัมบอดีซ์ ซะเทท ออฟ เฮลธ์) สภาพของสุขภาพ
ตัวอย่าง
The amount of the medicine they are giving you depends on your state of health
ปริมาณของยาที่พวกเขาจะให้คุณขึ้นอยู่กับสุขภาพของคุณ
mental health (เมนทัล เฮลธ์) สุขภาพจิต
ตัวอย่าง
Her uncle has mental health problem.
ลุงของเธอมีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต
health care (เฮลธ์ แคร์ ) การดูแลสุขภาพ
ตัวอย่าง
Health care or healthcare is the maintenance or improvement of health via the diagnosis, treatment, and prevention of disease, illness, injury, and other physical and mental impairments in human beings.
health care หรือ health care คือการดูแลสุขภาพหรือทำให้สุขภาพดีขึ้นโดยการวิเคราะห์ รักษา และการป้องกันเชื้อโรค การเจ็บป่วย การบาดเจ็บและความบกพร่องทางรางกายและจิตใจอื่นๆ ของผู้คน
health problem (เฮลธ์ พรอบเลม) ปัญหาสุขภาพ
ตัวอย่าง
She had to leave early because of her health problem.
เธอต้องกลับเร็วเพราะปัญหาทางสุขภาพของเธอ
health risk/hazard (เฮลธ์ ริสค์/แฮซ’เซิร์ด) สิ่งที่ทำลายสุขภาพ
ตัวอย่าง
Air pollution is a serious health hazard.
มลภาวะทิงอากาศเป็นสิ่งที่ทำลายสุขภาพที่ร้ายแรงมาก
health insurance (เฮลธ์ อินชัวเรินซ์) ประกันสุขภาพ
ตัวอย่าง
Having health insurance is very good if you can afford it.
การมีประกันสุขภาพเป็นสิ่งที่ดีมากถ้าคุณสามารถจ่ายได้
health warning (เฮลธ์ วอร์นนิง) ป้ายเตือนเกี่ยวกับสุขภาพที่ติดกับผลิตภัณท์ที่มีผลต่อสุขภาพ
ตัวอย่าง
There is health warning on tobacco packages to give people the awareness about the dangers of tobacco use.
มีป้ายเตือนข้างซองบุหรี่เพื่อที่จะให้ผู้คนตระหนักถึงอันตรายของการสูบบุหรี่
nurse someone back to health (เนอร์ส ซัมวัน แบค ทู เฮลธ์) ดูแลคนป่วยจนอาการดีขึ้นเป็นปกติ
Sally was glad to help nurse her mother back to health.
แซลลี่ดีใจที่ได้ช่วยดูแลแม่ของเธอให้หายป่วย
ติดตาม เกร็ดความรู้ภาษาอังกฤษ ในตอนต่อไป ในเรื่อง สุขภาพ ภาษาอังกฤษ ก็ขอจบเพียงเท่านี้ครับ
lindasepp.files.wordpress.com
Read more at:
วันนี้ผมขอพูดถึงคำว่า สุขภาพในภาษาอังกฤษ โดยคำว่าในภาษาอังกฤษ ก็คือคำว่า( noun – เฮลธ์) นั่นเอง ถ้าอยู่ในรูป คำ adjective ก็จะกลายเป็น(adj – เฮลธี) แปลว่าคำว่า health นี่โดยส่วนใหญ่จะหมายถึงสุขภาพทางร่างกาย (the general condition of your body and how healthy you are)มีคำกล่าวที่ว่า early to bed and early to rise, makes a man healthy, wealthy, and wiseนอนให้เร็วตื่นให้เช้าทำให้คนเรา สุขภาพดี มีความมั่งคั่งและฉลาด หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการเข้านอนให้ไวตื่นให้เร็วเป็นปัจจัยเบื่องต้นที่จะทำให้ประสบความสำเร็จนั้นเองคำว่า health กับ wealth เป็นภาษาอังกฤษที่ผมจำตัวสะกด (spelling) ได้ดีเพราะคล้ายกันมาก พอมาเจอรูป adjectiveกับยิ่งเหมือนได้กำไร เพราะมีความคล้ายกันเข้าไปอีก(noun-เวลธ์) แปลว่าหรือส่วน(adj-เวลธี) แปลว่าร่ำรวย หรือมั่งคั่งนอกจากคำว่า health ที่แปลว่า สุขภาพ เราอาจจะใช้ คำว่า(noun – เฮลธิเนส) หรือ(noun – เวลเนส) ก็ได้เช่นกัน รวมทั้งอาจจะใช้คำว่า(noun – เวลล์บีอิง) ก็น่าจะเทียบเคียงกันได้ เช่น physical well-being สุขภาพทางร่างกายทีนี้เราลองมาดูสำนวนหรือคำที่เรามักจะเจออยู่บ่อยๆเวลาที่พูดถึง health ในภาษาอังกฤษแดมมิจ ซัมบอดีซ์ เฮลธ์) ทำลายสุขภาพตัวอย่างSmoking will surelyการสูบบุหรี่จะของคุณอย่างแน่นอนSecond-hand smoking or passive smokingmore than the smoker himself and it makes you more likely to get lung cancer.ควันบุหรี่มือสองที่เรียก second-hand smoking หรือ passive smokingของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่มากกว่าคนสูบซะเองและมีความเป็นไปได้มากที่จะเป็นมะเร็งปอดอิมพรูฟ ซัมบอดีซ์ เฮลธ์) ทำให้สุขภาพดีขึ้นตัวอย่างGoing to bed earlyการเข้านอนเร็วจะกูด/เอค’ซะเลินทฺ เฮลธ์) สุขภาพดี สุขภาพดีเยี่ยมตัวอย่างEven Jenny is 60, she is still in good shape and have anถึงเจนนี่จะอายุ 60 แล้ว แต่เธอก็ยังคงหุ่นดีและมีพัวร์/อิล เฮลธ์) สุขภาพแย่ สุขภาพไม่ดีตัวอย่างSara had to leave her job due toซาราต้องออกจากงานเพราะบี อิน กูด/เอค’ซะเลินทฺ/เธอะ เบสท์ ออฟ เ ฮลธ์) มีสุขภาพดีเยี่ยมตัวอย่างDon’t worry too much, sheอย่ากังวลไปเลย เธอมีบี อิน พอร์ เฮลธ์) มีสุขภาพแย่ตัวอย่างHe is still young but heเขายังหนุ่มอยู่แต่บี กูด ฟอร์ซัมบอดีซ์ เฮลธ์) ดีต่อสุขภาพ ทำให้สุขภาพดีตัวอย่างEating healthy foodการกินอาหารมีประโยชน์Light meals is better for a patient’s health after the operation.อาหารอ่อนๆจะดี(กว่าอาหารหนัก)ต่อสุขภาพผู้ป่วยหลังผ่าตัดบี แบด ฟอร์ซัมบอดีซ์ เฮลธ์ไม่ดีต่อสุขภาพตัวอย่างBeing around tobacco smokeการอยู่ใกล้ควันบุหรี่ของคุณ(ซัมบอดีซ์ ซะเทท ออฟ เฮลธ์) สภาพของสุขภาพตัวอย่างThe amount of the medicine they are giving you depends on your state of healthปริมาณของยาที่พวกเขาจะให้คุณขึ้นอยู่กับสุขภาพของคุณ(เมนทัล เฮลธ์) สุขภาพจิตตัวอย่างHer uncle hasลุงของเธอมีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต(เฮลธ์ แคร์ ) การดูแลสุขภาพตัวอย่างoris the maintenance or improvement of health via the diagnosis, treatment, and prevention of disease, illness, injury, and other physical and mental impairments in human beings.health care หรือ health care คือการดูแลสุขภาพหรือทำให้สุขภาพดีขึ้นโดยการวิเคราะห์ รักษา และการป้องกันเชื้อโรค การเจ็บป่วย การบาดเจ็บและความบกพร่องทางรางกายและจิตใจอื่นๆ ของผู้คน(เฮลธ์ พรอบเลม) ปัญหาสุขภาพตัวอย่างShe had to leave early because of her health problem.เธอต้องกลับเร็วเพราะปัญหาทางสุขภาพของเธอ(เฮลธ์ ริสค์/แฮซ’เซิร์ด) สิ่งที่ทำลายสุขภาพตัวอย่างAir pollution is a seriousมลภาวะทิงอากาศเป็นที่ร้ายแรงมาก(เฮลธ์ อินชัวเรินซ์) ประกันสุขภาพตัวอย่างHavingis very good if you can afford it.การมีประกันสุขภาพเป็นสิ่งที่ดีมากถ้าคุณสามารถจ่ายได้(เฮลธ์ วอร์นนิง) ป้ายเตือนเกี่ยวกับสุขภาพที่ติดกับผลิตภัณท์ที่มีผลต่อสุขภาพตัวอย่างThere ison tobacco packages to give people the awareness about the dangers of tobacco use.มีป้ายเตือนข้างซองบุหรี่เพื่อที่จะให้ผู้คนตระหนักถึงอันตรายของการสูบบุหรี่(เนอร์ส ซัมวัน แบค ทู เฮลธ์) ดูแลคนป่วยจนอาการดีขึ้นเป็นปกติSally was glad to helpแซลลี่ดีใจที่ได้ช่วยดูแลแม่ของเธอให้หายป่วยติดตาม เกร็ดความรู้ภาษาอังกฤษ ในตอนต่อไป ในเรื่อง เจ็บ ปวด ภาษาอังกฤษพูดอย่างไร สำหรับ เกร็ดความรู้ภาษาอังกฤษ เรื่องก็ขอจบเพียงเท่านี้ครับ
วินัยในการดูแลตนเอง
รับทำการ์ตูนแอนิเมชัน Animation 2D
การ์ตูนประกอบเพลง มอบเป็นของขวัญในโอกาสพิเศษต่าง ๆ
การ์ตูนงานแต่ง Pre Wedding
CAI คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
สื่อการสอนแอนิเมชัน ประกอบการวิจัย วิทยานิพนธ์
ติดต่อได้ที่เพจ https://www.facebook.com/toon2D/
โทร : 0872342423 line ID : 0872342423
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่
\”กินอาหาร เป็นยา\” รักษา 22 โรค \”รักษาโรคด้วยอาหาร\” สุดยอดมาก สุขภาพดี หายป่วย!! (Food is Medicine)
อาหารเป็นยา รักษา 22 โรค ป่วยรักษาหายได้ ด้วยการกิน ดังต่อไปนี้
(Food is Medicine Treatment 22 Diseases)
ขอให้ .. ทุกท่าน .. สุขภาพดี แข็งแรง อายุยืนยาว .. แจ่มใส เบิกบาน :))
.. สุขกาย สุขใจ .. ทุกวัน .. ตลอดไปค่ะ … _/\\_
อย่าลืม ! กรุณาส่งต่อ แชร์ ให้กับเพื่อนๆ คนที่รักและห่วงใย ด้วยนะคะ … เพราะ ความสุขที่ยิ่งใหญ่ คือ \” การให้ \”
โปรดกรุณา
… เชิญกด Like … เชิญกด Subscribe … ด้วยนะคะ … :)))
_/\\_ 🙏😊❤️😍❤️😋🙏 _/\\_
[Level 1] 9 นาที สร้างซิกแพคง่ายๆ ที่บ้าน (สำหรับผู้เริ่มต้น) 9 Minute Sixpack at Home | FITDESIGN
9 นาที สร้างซิกแพคง่ายๆ ที่บ้าน (สำหรับผู้เริ่มต้น) 9 Min Sixpack at Home | FiITDESIGN
โปรแกรมสร้างกล้ามท้อง (ซิกแพค)
🔥โดนครบทุกมัดกล้ามเนื้อท้อง ท้องบน , ท้องล่าง , ท้องข้าง , แกนกลางลำตัว
✅ วิธีทำ
เราจะทำติดต่อกัน
ท่าละ 20 วินาที , พัก 10 วินาที
ทำครบ 6 ท่า นับเป็น 1 เช็ต
พักต่อเช็ต 20 วินาที
ทำทั้งหมด 3 เชต รวมเป็น 9 นาที
สามารถทำตามคลิปได้เลยนะครับ
💥 Crunch (ท้องบน)
💥 Reverse Crunch (ท้องล่าง)
💥 Plank (แกนกลางลำตัว)
💥 High Crunches (ท้องบน)
💥 Flutter Kicks (ท้องล่าง)
💥 Russian Twist (ท้องข้าง)
ลองนำไปฝึกและปรับใช้กันดูนะครับ
ในช่วงนี้อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองและระมัดระวังกันด้วยนะครับ ขอให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดีครับ
สามารถติดตามฮัททางช่องทางต่างๆตามนี้ได้เลยนะครับ
📱Instragram : Hutchiew หรือ https://instagram.com/hutchiew?igshid=nyganr4b195m
📱Facebook : Fitdesign หรือ https://www.facebook.com/Fitdesignfitness/
📱Youtube : Fitdesign หรือ https://www.youtube.com/channel/UCmZSRWo8Oo34CDQKzruTLig
📌 Fit Design Fitness อารีย์ ให้คุณเป็นคุณตามที่คุณฝันอยากเป็น ด้วยโปรแกรมการออกกำลังกายและความรู้ด้านโภชนาการโดยเทรนเนอร์ส่วนบุคคล
🌐 www.fitdesignfitness.com
💪🏻 ต้องการสมัครเรียนกับทาง Fitdesign Fitness อารีย์ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ตามช่องทางนี้เลยครับ
🆔LINE: @fitdesignfitness
📞Tel : 0955944997
7 เรื่องสุขภาพ ที่คนไม่ค่อยรู้ ? | Nava DIY
ชอบคลิปนี้ก็อย่าลืม ★กด Like ★กด Share ★กด ติดตาม ให้ด้วยนะครับ
✿ลงคลิปใหม่ ให้ชมทุกวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ครับ ✿
……………………………………………………………
กดติดตามช่องเพื่อดูคลิปใหม่ของ NAVA DIY
► ที่นี่ : https://goo.gl/FuxQR4
ติดตามข่าวสารต่างๆ
► ที่นี่ : facebook : https://www.facebook.com/NavaDIYchannel
มะม่วงหาว มะนาวโห่(Karonda Fruit) ผลไม้(Fruit)รักษาโรค ตอบโจทย์ของคนรักสุขภาพ(Health) [lnwHealth]
มะม่วงหาว มะนาวโห่(Karonda Fruit) ผลไม้(Fruit)รักษาโรค ตอบโจทย์ของคนรักสุขภาพ(Health)
เครดิตภาพ : https://pixabay.com/
เครดิต vdo footage : https://pixabay.com/
(ภายใต้ Creative Commons CC0 Public Domain
สำหรับใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ฟรี
___
subscribe (สับตะไคร้) คลิ๊กที่นี่ค่ะ : https://goo.gl/uQjf8G
ความสุขที่ยิ่งใหญ่ คือการเป็นผู้ให้ อย่าลืม! แชร์ออกไป เพื่อให้ข้อมูลดีดีด้านสุขภาพพลานามัย อันเป็นทรัพย์สมบัติอันมีค่าสูงสุดเหนือทรัพย์สินใดๆกันนะคะ
Sharing is Caring
แชร์บน facebook คลิ๊กที่นี่ : https://goo.gl/ocGRpV
แชร์บน twitter คลิ๊กที่นี่ : https://goo.gl/LWpH9p
แชร์บน pinterest คลิ๊กที่นี่ : https://goo.gl/v7ZU7o
แชร์บน tumblr คลิ๊กที่นี่ : https://goo.gl/TYTRPK
แชร์บน reddit คลิ๊กที่นี่ : https://goo.gl/p3DZwX
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆWiki
ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ เรื่อง เกี่ยว กับ สุขภาพ