[Update] Antacids (ยาลดกรด ) | ลด อาการ กร น – Sonduongpaper

ลด อาการ กร น: คุณกำลังดูกระทู้

ค้นหายา

อ่าน: 2018

Antacids (ยาลดกรด )

ยาที่สามารถลดกรดในกระเพาะได้ มี 3 กลุ่มใหญ่ แต่ละกลุ่มมีกลไกในการลดกรดแตกต่างกัน ดังนี้

  1. ยาที่มีฤทธิ์เป็นด่างซึ่งไปทำให้กรดที่มีมากในกระเพาะมีความเป็นกลาง ยาลดกรดกลุ่มนี้ใช้กันมานานแล้ว เช่น อะลูมินัมไฮดรอกไซด์ (aluminum hydroxide), แมกนีเซียมไอดรอกไซด์ (magnesium hydroxide), โซเดียมไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate)
  2. ยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งกรดตรงตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการหลังฮีสตามีนชนิดที่ 2 ซึ่งอาจเรียกว่า ยาต้านตัวรับฮิสตามีนชนิดที่ 2 หรือเฮช-2-รีเซพเทอร์-แอนทาโกนีส (H2- receptor antagonists) เช่น ไซเมทิดีน (cimetidine), รานิทิดีน (ranitidine)
  3. ยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งกรดตรงตำแหน่งโพรตอนปั๊ม หรือ โพรตอนปั๊มอินฮิบิเทอร์ (proton pump inhibitors) หรือที่เรียกย่อว่า กลุ่มพีพีไอส์ (PPIs) เช่น โอเมพราโซล (omeprazole)

อย่างไรก็ตาม คำว่า “ยาลดกรด” มักจะหมายถึง ยาลดกรดมีฤทธิ์เป็นด่างซึ่งทำให้กรดที่มีมากในกระเพาะมีความเป็นกลาง ส่วนยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งกรดอีก 2 กลุ่มจะเรียกตามกลไกการออกฤทธิ์คือ กลุ่มยาต้านตัวรับฮิสตามีนชนิดที่ 2 และกลุ่มโพรตอนปั๊มอินฮิบิเทอร์ ในที่นี้จึงกล่าวถึงเฉพาะยาลดกรดที่มีมีฤทธิ์เป็นด่างซึ่งทำให้กรดที่มีมากในกระเพาะมีความเป็นกลาง

ยาลดกรดชนิดรับประทานใช้บรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก (heartburn), มีกรดในกระเพาะมาก, อาหารไม่ย่อยร่วมกับมีกรดในกระเพาะมาก, ภาวะกรดไหลย้อนจากกระเพาะสู่หลอดอาหาร (gastro-esophageal reflux disease หรือเรียกย่อว่า GERD)
ยาลดกรดยังสามารถใช้ร่วมกับยาอื่นในการรักษาอาการแผลในกระเพาะหรือแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น

ยาลดกรดบางชนิดอาจมีตัวยาที่มีฤทธิ์อื่นเพื่อช่วยเสริมฤทธิ์ในการรักษา เช่น ซิเมทิโคน (simethicone) ซึ่งอาจเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นคือ ดิเมทิโคนที่ถูกแอคติเวท (activated dimethicone), ไดเมทิลโพลีไซโลเซน(dimethylpolysiloxane) ซิเมทิโคนมีฤทธิ์สารป้องกันการเกิดฟอง (antifoaming agent) และช่วยบรรเทาอาการที่มีแก๊สในกระเพาะมาก ยาลดกรดบางชนิดอาจมีกรดอัลจินิก (alginic acid) หรืออัลจิเนต (alginate) ซึ่งทำหน้าที่ปกป้องเยื่อบุเมือกในกระเพาะ และเป็นทุ่นลอยอยู่ที่ผิวของสิ่งที่อยู่ในกระเพาะทำให้ลดการไหลย้อนสู่หลอดอาหารและป้องกันเยื่อบุของหลอดอาหาร

สำหรับยาลดกรดที่ประกอบด้วยแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ (magnesium hydroxide) หรือแมกนีเซีย (magnesia) และแมกนีเซียมออกไซด์ (magnesium oxide) หากใช้ในขนาดยาสูงกว่าฤทธิ์ลดกรดจะทำให้มีฤทธิ์เป็นยาระบายด้วย สำหรับข้อมูลที่จะกล่าวในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะฤทธิ์ลดกรดเท่านั้น

นอกจากนี้อาจมีการใช้ยาลดกรดที่มีอะลูมินัมไฮดรอกไซด์ ( aluminum hydroxide) ในการรักษาภาวะฟอสเฟตในเลือดสูง (hyperphosphatemia) และอาจใช้ร่วมกับการรับประทานอาหารที่มีฟอสเฟตต่ำเพื่อป้องกันการเกิดนิ่วในไตบางรูปแบบ แพทย์อาจสั่งใช้อะลูมินัมไฮดรอกไซด์สำหรับรักษาภาวะอื่นตามความเหมาะสม

ยาเหล่านี้บางเภสัชภัณฑ์เป็นยาสามัญประจำบ้านที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป แต่บางเภสัชภัณฑ์จำหน่ายได้เฉพาะในร้านยา หรืออาจได้รับจากคลินิกหรือโรงพยาบาลตามแพทย์สั่ง

โปรดแจ้งบุคลากรทางการแพทย์หากท่านเคยมีอาการผิดปกติใดๆ หรือมีประวัติการแพ้อะลูมินัม (aluminum), แคลเซียม (calcium), แมกนีเซียม (magnesium) หรือ ซิเมทิโคน (simethicone) ที่เป็นส่วนประกอบในยาเหล่านี้ หรือ ส่วนประกอบใด ๆ ในยาเหล่านี้ รวมทั้งการมีประวัติเคยแพ้สารอื่นๆ เช่น อาหาร สารกันเสียหรือสี เป็นต้น

หากแพทย์แนะนำให้ท่านรับประทานอาหารที่มีโซเดียมต่ำ โปรดแจ้งผู้จ่ายยา เนื่องจากยาลดกรดบางชนิดมีปริมาณโซเดียมจำนวนมาก

ไม่มีข้อมูลการจัดยาลดกรดที่ประกอบด้วยอะลูมินัม (aluminum), แมกนีเซียม (magnesium) และแคลเซียม และโซเดียม ว่าอยู่ในประเภทใดของการจัดกลุ่มยาที่มีผลต่อสตรีมีครรภ์ (pregnancy category) ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ เว้นแต่แพทย์พิจารณาแล้วว่าจำเป็นต้องใช้เพราะยังไม่มีการศึกษาผลของยาเหล่านี้ในคนหรือในสัตว์ที่ตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามมีรายงานว่ายาลดกรดสามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อทารกที่แม่รับประทานยาลดกรดเป็นเวลานานในระหว่างการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะเมื่อใช้ยาในขนาดสูง และหากมีแนวโน้มที่จะบวมเนื่องจากน้ำคั่งในร่างกายควรหลีกเลี่ยงยาลดกรดที่มีส่วนประกอบของโซเดียม

ยาลดกรดที่มีอะลูมินัม, แคลเซียม หรือ แมกนีเซียม อาจผ่านเข้าสู่น้ำนมได้ สตรีที่รับประทานยานี้และต้องการให้นมบุตรควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา

ไม่ควรให้ยาลดกรดในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี เว้นแต่แพทย์สั่ง เนื่องจากเด็กไม่สามารถอธิบายอาการของตนเองได้ชัดเจน และอาจมีภาวะอื่นที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาลดกรด และอาจทำให้อาการของเด็กเลวลง หรือได้รับผลข้างเคียงจากยา จึงต้องให้แพทย์ตรวจอาการก่อนให้ยาลดกรด นอกจากนี้ไม่ควรให้ยาที่มีอะลูมินัม, แคลเซียม หรือ แมกนีเซียมในทารกเกิดก่อนกำหนด หรือเด็กเล็กมาก ๆ เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรง โดยเฉพาะเมื่อให้ในเด็กที่เป็นโรคไต หรืออยู่ในภาวะขาดน้ำ

ไม่ควรใช้ยาลดกรดที่มีส่วนประกอบของอะลูมินัมในผู้สูงอายุที่มีปัญหาของกระดูกหรือเป็นโรคอัลไซเมอร์ (alzheimer’s disease) เพราะอาจทำให้ปัญหาเหล่านี้รุนแรงขึ้น

ถึงแม้ว่ายาบางอย่างไม่ควรใช้ร่วมกัน ในบางกรณีที่จำเป็นอาจใช้ร่วมกันได้ถึงแม้ว่าอันตรกิริยาอาจเกิดขึ้นก็ตาม โดยแพทย์อาจปรับเปลี่ยนขนาดยาหรืออาจมีข้อควรระวังอื่นๆ ที่จำเป็น เมื่อท่านต้องการจะรับประทานยาลดกรดรูปแบบรับประทาน ท่านต้องแจ้งบุคลากรทางการแพทย์ หากท่านกำลังใช้ยาต่อไปนี้

See also  เปลี่ยนหน้าหลุมเป็นน่าหลง จะกี่รอยดำจากสิวก็ไม่เหลือมากวนใจ | KA CREAM | คำคม สิว

ก. ยาที่ยาลดกรดมีผลรบกวนการดูดซึม ทำยาถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดลดลง และลดผลการรักษาได้ เช่น
ยาต้านเชื้อแบคทีเรียกลุ่มฟลูออโรควิโนโลน เช่น อีนอกซาซิน (enoxacin), ซิโพรฟลอกซาซิน (ciprofloxacin), โลมีฟลอกซาซิน (lomefloxacin), ลีโวฟลอกซาซิน (levofloxacin),นอร์ฟลอกซาซิน (norfloxacin), โอฟลอกซาซิน (ofloxacin), สปาร์ฟลอกซาซิน (sparfloxacin)

  • ยาต้านเชื้อแบคทีเรียกลุ่มเททราไซคลีนชนิดรับประทาน
  • ยาต้านเชื้อรากลุ่มอิมิดาโซล (imidazoles) เช่น คีโทโคนาโซล (ketoconazole), ฟลูโคนาโซล (fluconazole), อิทราโคนาโซล (itraconazole)
  • ยาที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็ก เช่น เฟอรัสซัลเฟต (ferrous sulphate), เฟอรัสฟูมาเรต (ferrous fumarate)
  • ดิจอกซิน (digoxin)
  • ไอโซไนอาซิด (Isoniazid)

หากจำเป็นต้องใช้ร่วมกันควรรับประทานยาลดกรดห่างจากการรับประทานยาเหล่านี้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง ยกเว้น ไอโซไนอาซิด (isoniazid) อาจรับประทานห่างจากยาลดกรดอย่างน้อย 1 ชั่วโมง

หากจำเป็นต้องใช้ร่วมกันควรรับประทานยาลดกรดห่างจากการรับประทานยาเหล่านี้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง ยกเว้น ไอโซไนอาซิด (isoniazid) อาจรับประทานห่างจากยาลดกรดอย่างน้อย 1 ชั่วโมง

ข. ยาที่อาจลดผลการรักษาของยาลดกรด เช่น

  • โซเดียมโพลีสไทรีนซัลโฟเนทเรซิน (sodium polystyrene sulfonate resin) เช่น เคย์เอกซาเลท (Kayexalate) ซึ่งเป็นเรซินที่ใช้สำหรับรักษาภาวะโพแตสเซียมในเลือดสูง

ปัญหาความเจ็บป่วยอื่นที่ท่านเป็นอยู่อาจส่งผลต่อการใช้ยาลดกรด ท่านควรแจ้งบุคลากรทางการแพทย์หากท่านมีสภาวะเหล่านี้ร่วมด้วย เช่น

  • โรคอัลไซเมอร์ (เฉพาะการใช้ยาลดกรดที่มีส่วนประกอบของอะลูมินัม) หรือ
  • โรคไส้ติ่งอักเสบ หรือมีอาการแสดงของไส้ติ่งอักเสบ (เช่น ปวดท้อง, ปวดเกร็ง, คลื่นไส้, อาเจียน) หรือ
  • กระดูกหัก หรือ
  • ลำไส้ใหญ่อักเสบ (colitis)
  • ท้องผูกรุนแรงและต่อเนื่องนาน ๆ หรือ
  • ริดสีดวงทวาร (hemorrhoid) หรือ
  • ลำไส้อุดตัน หรือ
  • เลือดออกในลำไส้หรือทวารหนัก หรือ
  • ผู้ที่ได้รับการทำศัลยกรรมทำรูเปิดลำไส้ใหญ่ (colostomy) หรือ
  • ผู้ที่ได้รับการทำศัลยกรรมทำรูเปิดลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileostomy) หรือ
  • ลำไส้อักเสบ (ยาลดกรดที่มีโซเดียมอาจทำให้มีการคั่งของน้ำและโซเดียม) หรือ
  • ท้องร่วงอย่างต่อเนื่อง (ยาลดกรดที่มีแมกนีเซียมอาจทำให้ท้องร่วงรุนแรงขึ้น) หรือ
  • บวมน้ำบริเวณเท้าหรือขาส่วนล่าง หรือ
  • โรคหัวใจ หรือ
  • โรคตับ หรือ
  • ครรภ์เป็นพิษ (ยาลดกรดที่มีโซเดียมอาจทำให้มีการคั่งของน้ำในร่างกายในผู้ป่วยกลุ่มนี้) หรือ
  • โรคไต (ยาลดกรดอาจทำให้ระดับอะลูมินัม, แคลเซียม หรือ แมกนีเซียมในเลือดสูง ซึ่ง อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรงในผู้เป็นโรคไต) หรือ
  • โรคซาร์คอยด์ (sarcoidosis) (การใช้ยาลดกรดที่มีแคลเซียมในผู้ที่เป็นโรคนี้ อาจทำให้ไตผิดปกติหรือมีระดับแคลเซียมในเลือดสูง) หรือ
  • ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ (การใช้ยาลดกรดที่มีแคลเซียมในผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจทำให้มีระดับแคลเซียมในเลือดสูง)

รายการนี้เกี่ยวข้องกับกลุ่มยาต่อไปนี้

ยาต่อไปนี้อยู่ในกลุ่มยานี้

1. British Medical Association and Royal Pharmaceutical Society of Great Britain. British National Formulary. 50th ed. (September, 2005) BMJ Publishing Group Ltd., London, 37-51.
2. CPM medica. MIMS Thailand Online. Available at http://www.mims.com. Access Date: 21 March, 2010.
3. MedlinePlus Trusted Health Information for You. Antacids (oral). Available at http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/drug_Aa.html. Access Date: March 17, 2005.
4. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แสดงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ ประเภททะเบียน ยามนุษย์ผลิตภายในประเทศ … Available at: www2.fda.moph.go.th/…/dgexp111.asp?… Access date: March 19, 2010

ร่วมเขียนและตรวจสอบโดย

วิบุล วงศ์ภูวรักษ์


,

โพยม วงศ์ภูวรักษ์



เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2553
แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17 พฤษภาคม 2553

22 เมษายน 255317 พฤษภาคม 2553

[NEW] รู้มั้ย ลอราทาดีน คือยาอะไร รักษาอาการอะไรได้บ้าง? | ลด อาการ กร น – Sonduongpaper

ลอราทาดีน (Loratadine) เป็นยาที่รักษาภูมิแพ้กลุ่มใหม่ หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่ายาต้านอีสทามีน กลุ่มที่ ไม่ทําให้ง่วงนอน (non-sedating antihistamines) ออกฤทธิ์นานถึง 24 ชั่วโมง ใช้ลดอาการที่เกี่ยวข้องกับภูมิแพ้ เช่น คัดจมูก จาม น้ำมูกไหล คันตา บรรเทาอาการน้ำมูกไหล ใช้รักษาลมพิษ และโรคผิวหนังที่เกิดจากภูมิแพ้

See also  รองช้ำ - DTK BOY BAND「Official MV」 | ต่าง คน ต่าง อยู่ ภาษา อังกฤษ

Allernix อัลเลอร์นิค ยาแก้แพ้ ไม่ทำให้ง่วง

ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์เช่นเดียวกับยาต้านฮีสตามีนกลุ่มดั้งเดิม แต่ยาในกลุ่มนี้ผ่านเข้าสมองได้น้อยมาก จึงทําให้อาการข้างเคียง เช่น อาการง่วงนอน พบได้น้อย หรือผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการง่วงนอนเลยหลังจากกินยานี้ ทําให้ไม่ส่งผลเสียในการ ดําเนินชีวิตประจําวัน

ซึ่งจะแตกต่างจากยารักษาภูมิแพ้กลุ่มเก่า ที่ทําให้เกิดอาการง่วงนอนมาก ปากแห้ง คอแห้ง หรือ ปัสสาวะคั่งได้ มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งสารฮีสทามีน ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อต่อต้านสารก่อภูมิแพ้ และก่อให้เกิด อาการแพ้ตามมา เช่น จาม น้ำมูกไหล ผื่นคัน ลมพิษ ยานี้ช่วยลดอาการแพ้ที่เกิดขึ้นได้

ลอราทาดีน

รูปแบบ และ ปริมาณการใช้ยา ลอราทาดีน

– มีจําหน่ายทั้งในรูปแบบยาเม็ด ยาแคปซูล และยาน้ำเชื่อม

– เด็กอายุ 2-5 ปี รับประทานชนิดน้ำ 5 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง โดยยาน้ำส่วนใหญ่จะมีความเข้มข้น 5 มิลลิกรัม ต่อ 5 มิลลิลิตร

– เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป รับประทานยา 10 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง สามารถใช้ได้ทั้งยารูปแบบเม็ด และแคปซูล

– ผู้ใหญ่ รับประทานยา 10 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ดังนั้นยา Loratadine ชนิดเม็ตส่วนใหญ่จึงมีขนาด 10 มิลลิกรัม เพื่อให้สะดวกในการรับประทานเพียงวันละครั้ง

ข้อควรระวัง!

ในการใช้ยาลอราทาดีน

– แพ้ยาลอราทาดีน หรือยาเดสลอราทาดีน (Desloratadine)

– ห้ามใช้ยานี้รักษาตุ่มผื่น หรือลมพิษ ที่มีการฟกช้ำ พุพอง มีสีผิดปกติ หรือ ผื่นลมพิษที่ไม่มีอาการคัน และควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากมีอาการในลักษณะดังกล่าว

– ควรหยุดใช้ยานี้หากอาการผื่นลมพิษไม่ดีขึ้นภายใน 3 วัน หลังจากเริ่มใช้ยา หรือในกรณีที่มีผื่นลมพิษมานานกว่า 6 สัปดาห์ และควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของผื่นที่เกิดขึ้น

ลอราทาดีน

การใช้ยา ลอราทาดีน ในหญิงตั้งครรภ์

ยานี้จัดเป็นยาในกลุ่ม B สําหรับหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งไม่เป็นอันตราย ต่อทารกในครรภ์ และเมื่อมารดารับประทานยานี้ ตัวยาจะผ่านไปยังน้ำนมน้อยมาก จึงสามารถให้นมบุตรในระหว่างที่ใช้ยานี้ได้ แต่ควรเฝ้าระวังอาการที่ไม่พึงประสงค์ของทารก และไม่ควรใช้ยาต่อเนื่องระยะยาวในระหว่างที่ให้นมบุตร

การใช้ยา ลอราทาดีน ร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การใช้ยานี้ร่วมกับแอลกอฮอล์จะทําให้เกิดอาการมึน งง ปากแห้ง ตาแห้ง จึงควรหลีกเลี่ยง ก่อนใช้ยานี้ ควรแจ้งแพทย์ หรือ เภสัชกรเกี่ยวกับยา วิตามิน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และสมุนไพรใด ๆ ที่กําลังใช้อยู่ เนื่องจากอาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาเมื่อรับประทานร่วมกับยาบางชนิด

วิธีเก็บรักษายาให้อยู่ได้นาน

การเก็บรักษายานี้ในภาชนะบรรจุเดิม ปิดภาชนะให้สนิท และเก็บให้พ้นจากเด็ก และสัตว์เลี้ยง ควรเก็บยานี้ที่อุณหภูมิห้องโดยไม่ให้อยู่ในที่ร้อนมากกว่า 30 องศาเซลเซียส เช่น บริเวณที่ถูกแสงแดดโดยตรง และไม่เก็บยาใน บริเวณที่เปียกหรือชื้น ทิ้งยานี้เมื่อยาหมดอายุ

บทความโดย : ดร. ภก. นิติ สันแสนดี อาจารย์พิเศษ ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์สุขภาพ

เอกสารอ้างอิง:

1. Brunton LL, editors. Goodman & Gilman’s the pharmacological basis of therapeutics , 12th ed. New York: McGraw-Hill, 2011.

2. Simons FER. Drug therapy: Advances in H1-antihistamines. N Engl J Med 2004;351:2203-17.

3. Bielory BP, O’Brien TP, Bielory L. Management of seasonal allergic conjunctivitis: guide to therapy. Acta Ophthalmol 2012;90(5):399-407.

4. Jáuregui I, Ferrer M, Montoro J, Dávila I, Bartra J, Cuvillo A, et al. Antihistamines in the treatment of chronic urticarial. J Investig Allergol Clin Immunol 2007; 17(2):41-52.

allernix อัลเลอร์นิค ยาแก้แพ้

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife


วิธีแก้ปัญหา \”นอนกรน\” ง่ายๆ ภายใน 5 นาที !!!


กดติดตาม Naan Lardapha (น้องนี) ได้ที่นี่ \r
YouTube: https://www.youtube.com/channel/UCHLFl3o1iPztxqAlDB0Cieg\r
Facebook: https://www.facebook.com/naanyswd\r
Instagram: https://www.instagram.com/nn.lardapha/?hl=en
วิธีแก้ นอนกรน ภายในห้านาที

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

วิธีแก้ปัญหา \

นอนกรน ถ้าลดความอ้วนจะหายหรือไม่ ต้องลดกี่กิโล


ในคนที่น้ำหนักตัวมาก การลดน้ำหนักจะสามารถช่วยลดอาการกรน หรืออาการหยุดหายใขขณะหลับได้ แต่ส่วนมากมักไม่สามารถทำให้หายขาดได้ จำเป็นต้องใช้วิธีการรักษาอย่างอื่นร่วมไปด้วย
สนับสนุนโดยบริษัท EoLifeMed ผู้ให้บริการด้านสุขภาพการนอนหลับอย่างครบวงจร ตัวแทนนำเข้า CPAP, BiPAP, NIV จากบริษัท Resmed ประเทศออสเตรเลีย และรับตรวจการนอนหลับ (sleep test) ดูแลประสานงานกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ
สามารถติดต่อได้ที่ Line @Eolifemed (มี @ นำหน้า) หรือที่เบอร์โทร 0627579898, 0957255729
หรือที่เฟสบุค https://www.facebook.com/ResMedbyEO

นอนกรน ถ้าลดความอ้วนจะหายหรือไม่ ต้องลดกี่กิโล

นอนกรนดังมาก ทำไงดี ? วิธีแก้นอนกรนด้วยตัวเอง (ฟรีและง่ายมากๆ) | เภสัชเกรียน


หากว่าท่านเป็นคนนอนกรนดังมาก ทำไงดี ? นอนกรนรักษายังไง ? ที่ทำด้วยตัวเองและไม่เสียเงิน ผมมีวิธีแก้นอนกรน วิธีทำให้นอนไม่กรน รักษาอาการนอนกรน ด้วยตัวเอง มาให้ทุกท่านทำนะครับ ทุกท่านจะได้นอนไม่กรน หรือนอนกรนน้อยลงนะครับผม
ขอบคุณทุกท่านที่มารับชม ชอบก็กด like กด subscribe share เพื่อเป็นความรู้ให้กับคนอื่นๆ หากสงสัยเรื่องอะไร หรือ อยากให้ทำ content อะไรก็ comment บอกกันไว้ใต้คลิปได้เลยครับ
นอนกรน เภสัชเกรียน วิธีแก้นอนกรน
FB fanpage : https://www.facebook.com/%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99youtubechannel116503013061026/?modal=admin_todo_tour

นอนกรนดังมาก ทำไงดี ? วิธีแก้นอนกรนด้วยตัวเอง (ฟรีและง่ายมากๆ) | เภสัชเกรียน

สูตรแก้นอนกรน ได้ผลดีเกินคาด‼️


สูตรแก้นอนกรน นอนกรน

สูตรแก้นอนกรน ได้ผลดีเกินคาด‼️

ชัวร์ก่อนแชร์ : อุปกรณ์จิ๋วใส่จมูกแก้นอนกรนได้ จริงหรือ?


กทม. 21 มี.ค.บนสังคมออนไลน์แชร์อุปกรณ์ขนาดจิ๋วสำหรับใส่จมูกขณะนอนหลับ สามารถช่วยลดหรือแก้อาการนอนกรนได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์.สำนักข่าวไทย

✮สมัครรับข้อมูลฟรี! Subscribe ► https://www.youtube.com/tnamcot
✮ชมทุกตอน \”ชัวร์ก่อนแชร์\” ►https://goo.gl/zmgfeG
✮ข่าวดังข้ามเวลา ► https://goo.gl/rKcCQq
✮สกู๊ปพิเศษ ► https://goo.gl/Yw0ZIw
✮เห็นแล้วอึ้ง ► https://goo.gl/zFvXUA
✮เกษตรทำเงิน ► https://goo.gl/zF5aWu
✮เกษตรสร้างชาติ ► https://goo.gl/iSr814
✮ภาพมุมมองใหม่ | ท่องเที่ยววิถีไทยเก๋ไก๋สไตล์ลึกซึ้ง ► https://goo.gl/Z9DVHZ

ติดตาม สำนักข่าวไทย อสมท (ช่อง 9MCOT HD หมายเลข 30 | Thai News Agency MCOT
► เว็บ http://www.tnamcot.com
► เฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/tnamcot
► แอดไลน์ (LINE) @TNAMCOT หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40tnamcot
► ทวิตเตอร์ https://www.twitter.com/tnamcot
► อินสตาแกรม https://instagram.com/tnamcot
► ยูทูบ https://www.youtube.com/tnamcot
► ชมข่าวย้อนหลัง https://www.youtube.com/tnamcot

ชัวร์ก่อนแชร์ : อุปกรณ์จิ๋วใส่จมูกแก้นอนกรนได้ จริงหรือ?

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่Wiki

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ ลด อาการ กร น

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *