น้ํา หนัก ลด เร็ว: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
[PODCAST] Food Choice | EP.7 – \”5 วิธีลดน้ำหนัก\” กินผิดวิธี อันตรายมากกว่าที่คิด
พูดถึงเทรนด์อาหารควบคุมน้ำหนักมีมากมายหลายสูตร แต่ในวันนี้ คุณหมอเอ๋ ผศ.พญ.ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร จากโรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล จะมาสรุป 5 วิธีการลดน้ำหนักที่เป็นที่นิยม ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี กินสูตรอาหารทั้ง 5 วิธี จะส่งผลดี ผลเสียอย่างไร โดย 5 วิธีการลดน้ำหนักที่หมอเอ๋จะมาแนะนำได้แก่ สูตร Intermittent Fasting หรือเป็นที่รู้จักคือการทำ IF, สูตร Ketogenic diet, สูตร Blood type diet การรับประทานอาหารตามหมู่เลือด, สูตร Vegetarian diet หรืออาหารมังสวิรัติ, สูตร Mediterranean diet พร้อมกับแนวทางแก้ไขในการรับประทานอาหารสำหรับลดน้ำหนักที่ถูกต้องปลอดภัย
__________________
ลดน้ำหนัก
FoodChoice
MahidolChannelPODCAST
MahidolChannel
––––––––––––––––––––
📌ช่องทางการฟัง Podcast
Blockdit: https://www.blockdit.com/mahidolchannel
Spotify: https://spoti.fi/31v1Rmx
Anchor: https://anchor.fm/mahidolchannel
Soundcloud: https://soundcloud.com/mahidolchannel
Apple Podcasts: https://apple.co/2Oxp5FN
––––––––––––––––––––
YouTube: http://www.youtube.com/mahidolchannel
Facebook: http://www.facebook.com/mahidolchannel
Mahidol University มหาวิทยาลัยมหิดล: https://www.mahidol.ac.th/th
Website | https://channel.mahidol.ac.th/
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล | https://med.mahidol.ac.th
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม
5 วิธีลดน้ำหนักเร่งด่วน ภายใน7วัน | เม้าท์กับหมอหมี EP.112
5 วิธีลดน้ำหนักเร่งด่วน ภายใน7วัน
📌 สนใจหน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐาน คลิ๊กลิงค์นี้ได้เลยครับ : https://bit.ly/3hEgknU
ในปัจจุบันพบคนเป็นโรคอ้วน หรือน้ำหนักเกินมากขึ้น อาจเกิดจากความเร่งรีบทำให้ไม่ค่อยมีเวลาเลือกรับประทานอาหาร ทำให้คนเป็นโรคอ้วนกันเยอะ ถ้าปล่อยให้อ้วนเป็นเวลานานๆ จะทำให้เกิดโรคต่างๆตามมา เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควร
ดังนั้นการลดน้ำหนัก ลดความอ้วน จึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมากๆ วันนี้หมอหมีจะมาแนะนำ 5 เคล็ดลับลดน้ำหนักเร่งด่วนใน 7 วัน รับรองว่าถ้าทำครบ 5 ข้อ ผอมลงหุ่นดีแน่นอนครับ
1. งดรับประทานของหวานทุกชนิด เช่น คุ้กกี้ เค้ก บราวนี่ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง
2. ลดปริมาณอาหารจำพวกแป้ง เช่น ข้าว ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน
3. งดอาหารไขมันสูง เช่น ของมันของทอด ขาหมู หมูกรอบ หนังไก่
4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
5. เว้นระยะห่างระหว่างมือเย็น และมื้อเช้าวันถัดไป อย่างน้อย 12 ชั่วโมง
ถูกใจคลิปนี้ อย่าลืม กดLike กดแชร์ กดSubscribe กดกระดิ่ง ติดตามช่อง \”หมอหมีเม้าท์มอย\” กันด้วยนะครับ
ติดตามผลงาน \”หมอหมีเม้าท์มอย\” ได้ที่
Youtube : http://www.youtube.com/c/หมอหมีเม้าท์มอย
Facebook : https://www.facebook.com/MhomheeTalks/
IG : MhoMheeTalk
หมอหมีเม้าท์มอย หมอหมีมีคำตอบ ลดน้ำหนัก ลดความอ้วน ออกกำลังกาย ลดน้ำหนักเร่งด่วน อ้วน @หมอหมี เม้าท์มอย
น้ำหนักขึ้น-ลงผิดปกติ อันตรายอย่างไร l Highlight พบหมอรามาฯ
(เทปรายการพบหมอรามาฯ 19/08/63 มีการคัดกรองอาการ นั่งห่างกัน 1 เมตร)
การที่น้ำหนักขึ้นลงเร็วกว่าปกตินั้นอย่าไว้วางใจ เพราะถือเป็นอีกหนึ่งสัญญาณอันตรายที่ร่างกายกำลังบอกอะไรบางอย่างกับเราอยู่
.
สามารถรับชมคลิปเต็มได้ที่ https://youtu.be/3G63hwwtfDk
พบหมอรามาฯ รามาแชนแนล RamaChannel สุขภาพ
EP82 : 7 อาการที่คนส่วนใหญ่มักไม่สนใจและกลายเป็นมะเร็ง
อาการที่คนส่วนใหญ่มองข้ามและท้ายที่สุดก็ได้กลายเป็นมะเร็งน่าเสียดายมากๆครับเพราะถ้าเราสามารถรู้ได้ก่อนตั้งแต่ที่เริ่มเป็นก็จะสามารถรักษาได้ง่ายหรือบางรายอาจรักษาให้หายขาดได้
น้ำหนักขึ้นหรือลงมีผลมากกว่าที่คิด | weight loss | พี่ปลา Healthy Fish
ระวัง อันตราย !! น้ำหนักที่ขึ้นลงเร็วผิดปกติ ส่งผลต่อร่างกายมากกว่าที่คิด
เรื่องของน้ำหนักมักเป็นหัวข้อที่ไม่ว่าจะผู้หญิงผู้ชาย หรืออยู่ในช่วงอายุไหนๆ ก็มักจะแลกเปลี่ยนพูดคุยกันอยู่ตลอด เพราะแต่ละคนก็มีความกังวลแตกต่างกัน บางคนอ้วนเกินไปอยากลดน้ำหนัก แต่ก็มีบางคนที่ผอมเกินไปจนอยากจะเพิ่มน้ำหนักเช่นเดียวกัน แต่ละคนเลยมักจะแบ่งปันสูตรเพิ่ม หรือลดน้ำหนักด้วยกันอยู่เรื่อยๆ แต่หากเราลองทำตามแล้วได้ผลก็จริง แต่น้ำหนักของร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงมากเกินไปในช่วงระยะเวลาสั้นๆ จะส่งผลกระทบอะไรต่อร่างกายบ้างหรือไม่
น้ำหนักเปลี่ยนมากแค่ไหน ถึงเรียกว่าผิดปกติ
หากคุณน้ำหนักลด หรือเพิ่มขึ้นมากกว่า 510% ของน้ำหนักเดิมของเราภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน โดยที่ไม่ได้ตั้งใจจะลด หรือเพิ่มน้ำหนักเลย นั่นหมายถึงอาจมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายของคุณได้ เช่น หากเคยมีน้ำหนัก 60 กิโลกรัม หากคุณน้ำหนักลงไปถึง 5457 กิโลกรัม หรือน้ำหนักเพิ่มถึง 6366 กิโลกรัม ภายใน 6 เดือน ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจเช็กร่างกายโดยละเอียด เพราะอาการน้ำหนักลดหรือเพิ่มอย่างรวดเร็ว อาจมีความเสี่ยงในการเป็นโรคอันตรายต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคที่เกี่ยวกับฮอร์โมน ไทรอยด์ ต่อมน้ำเหลือง ตับ ไต เป็นต้น
ทั้งนี้ หากพูดถึงคนที่กำลังพยายามลด หรือเพิ่มน้ำหนัก ไม่ว่าจะใช้วิธีไหน น้ำหนักก็ไม่ควรเปลี่ยนแปลงเกิน 1 กิโลกรัมต่อ 2 สัปดาห์ (หรือ ½ กิโลกรัม ต่อ 1 สัปดาห์)
สาเหตุที่ทำให้น้ำหนักเพิ่มลด
ไม่ว่าคุณจะตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจจะเพิ่มน้ำหนักก็ตาม สาเหตุที่ทำให้น้ำหนักของคุณเพิ่มขึ้น อาจเป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้
1. อาหารที่ทานไม่เหมือนเดิม
แน่นอนว่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่สาเหตุที่ชัดเจนมาจากอาหารที่ทานเข้าไปในร่างกาย อาจจะทานอาหารในบริมาณที่มากเกินกว่าที่เราเคยทาน จึงทำให้เราได้รับพลังงานเพิ่มมากขึ้นเกินความจำเป็นในแต่ละวัน จนพลังงานที่เหลือไปสะสมเป็นไขมันอยู่ตามชั้นผิวหนังด้านในนั่นเอง นอกจากนี้ยังเกี่ยวกับประเภทของอาหารที่ทาน คุณอาจกำลังทานอาหารที่ให้พลังงานสูงติดต่อกันเป็นเวลานานมากกว่า 1 สัปดาห์ เช่น อาหารทอด ของหวาน ขนมปังขาวที่มีส่วนผสมของน้ำตาล น้ำเชื่อม หรือทานอาหารสำเร็จรูปมากเกินไป เป็นต้น ส่วนใครที่น้ำหนักลด ก็อาจจะเป็นในทางตรงกันข้าม คือ ทานอาหารน้อยลง หรือเลือกทานอาหารที่ให้พลังงานต่ำลง เช่น ลดการทานแป้ง น้ำตาล และไขมันจากสัตว์ลงนั่นเอง (รวมไปถึงคนที่ทานอาหารคนเดียว อาจทานได้น้อยลงกว่าเดิมด้วย)
2. ผลข้างเคียงจากการทานยาบางชนิด
คุณอาจเป็นคนที่ต้องทานยาบางชนิดอยู่เป็นประจำ โดยอาจมีการเปลี่ยนเป็นยาตัวใหม่ในช่วงนี้ ผลของยาบางตัวอาจทำให้น้ำหนักขึ้นได้ เช่น ยาต้านซึมเศร้า หรือการใช้ฮอร์โมนเพิ่มเติมอย่าง ฮอร์โมนเอสโทรเจน โพรเจสเทอโรน และคอร์ติโซน เป็นต้น ยาที่ทานแล้วน้ำหนักลดก็อาจมีอยู่บ้างเช่นกัน เช่น ยาต้านซึมเศร้าบางชนิด ยากระตุ้นบางชนิด ยาสมุนไพรที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน หรือยาตามแพทย์สั่งบางตัว
3. กิจกรรมในชีวิตเพิ่มน้อยลง
จากที่เคยออกกำลังกายอยู่เป็นประจำ ช่วงนี้อาจไม่ได้ออกกำลังกายเหมือนเดิม หรือแต่ก่อนอาจจะเดินมากขึ้น แต่ช่วงนี้ไม่ค่อยได้เดินไปไหน การใช้ชีวิตเปลี่ยนจากงานที่ต้องเดินต้องยืน ก็เปลี่ยนมาเป็นการนั่งทำงานตลอดทั้งวัน รวมไปถึงการไม่สบาย หรือร่างกายมีอาการบาดเจ็บ จนทำให้ร่างกายไม่ได้ขยับเขยื้อนมากนัก การเผาผลาญพลังงานจากอาหารที่เราทานเข้าไปเท่าเดิมจึงน้อยลง จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำหนักขึ้นได้ (แต่จากสาเหตุนี้ มักจะน้ำนหักขึ้นอย่างช้าๆ มากกว่า) คนที่น้ำหนักลด อาจอยู่ในช่วงทำงานที่ใช้พละกำลังมากขึ้น เดินมากขึ้น ขยับร่างกายมากขึ้น รวมไปถึงออกกำลังกายมากขึ้นด้วย
4. ภาวะบวมน้ำ
ภาวะบวมน้ำ อาจเกิดขึ้นกับคนที่มีการทำงานของหัวใจ ไต หรือต่อมไทรอยด์ผิดปกติ จะรู้สึกว่าตัวบวม แขน ขา นิ้วบวม แหวน หรือรองเท้าเดิมๆ ที่ใส่อยู่รู้สึกคับ ตกบ่ายๆ เย็นๆ อาจมีอาการเหนื่อยหอบ และอาจเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้นในช่วงเวลากลางคืน และอาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้
5. มีอาการของโรคบางอย่าง
ใครที่อาการผิดปกติที่ฟัน เหงือก โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ ปัสสาวะบ่อย ระบบย่อยอาหารผิดปกติ เป็นแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ ถ่ายเหลวบ่อย เป็นโรคติดเชื้อ เช่น เอดส์ วัณโรค รวมไปถึงโรคมะเร็งชนิดต่าง อาจมีส่งสัญญาณอันตรายมาพร้อมกับอาการน้ำหนักลดลงได้
6. ความเครียด
บางคนอาจเครียดแล้วไม่ทานอาหาร แต่กับบางคนอาจเครียดแล้วยิ่งทานอาหารมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นความเครียดส่งผลกระทบต่อการทำงานในส่วนต่างๆ ของร่างกายให้แปรปรวนตามไปด้วย ระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบไหลเวียนโลหิตอาจทำงานได้ไม่ดีเท่าเดิม จึงทำให้เกิดเป็นไขมันสะสมตามชั้นผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณพุงส่วนล่าง ตามต้นแขนต้นขา และสะโพกได้ หรืออาจทำให้เราเบื่ออาหาร ทานอะไรไม่ลงจนน้ำหนักลดได้เช่นกัน นอกจากนี้ความเครียดยังส่งผลให้เราทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันน้อยลง เราอาจขาดการเดิน การวิ่ง การออกกำลังกาย นั่นจึงเป็นการทำให้ลดการใช้พลังงานในแต่ละวันลงไปอีกด้วย
เคล็ดลับในการลดน้ำหนักอย่างปลอดภัย
หลักการง่ายๆ มีเพียงแค่ลดอาหารที่ให้พลังงานเกินลง เช่น แป้งขาว น้ำตาล ไขมันจากสัตว์ เครื่องดื่ม และอาหารหวานๆ อาหารสำเร็ตรูป อาหารแปรรูปต่างๆ เป็นต้น จากนั้นเริ่มออกกำลังกายทั้งเล่นเวท และคาร์ดิโอครั้งละอย่างน้อย 30 นาที 35 วันต่อสัปดาห์ และพักผ่อนให้เพียงพอ นอน 68 ชั่วโมงต่อวัน หากรักษาระดับน้ำหนักให้ค่อยๆ ลง 1 เดือนไม่เกิน 2 กิโลกรัมได้ ก็สามารถลดน้ำหนักช้าๆ แต่ปลอดภัยได้เรื่อยๆ
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆWiki
ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ น้ํา หนัก ลด เร็ว