การนอนหลับพักผ่อน: คุณกำลังดูกระทู้
การนอนหลับไม่เพียงพอ หรือนอนมากจนเกินไป ไม่มีแบบไหนส่งผลดีต่อสุขภาพ เพราะทั้ง 2 แบบ ล้วนแล้วแต่เป็นสัญญาณร้าย ที่อาจทำให้สุขภาพร่างกายของเราแย่ลง จนถึงขั้นล้มหมอนนอนเสื่อได้เลยทีเดียว
โดยปกติแล้ว การนอนที่ถูกต้องตามหลักสากล คือการนอนให้ครบ 6 – 8 ชม.ต่อวัน แต่ในรายที่ชอบนอนดึก หรือนอนไม่หลับ จนกลายเป็นคนนอนน้อยร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้เสี่ยงต่อโรคลำไส้อักเสบ ที่มาของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้, โรคหัวใจ, โรคเบาหวาน และอีกหลาย ๆ โรคตามมา ส่วนคนที่นอนมากเกินกว่า 8 ชม.ขึ้นไป ก็ไม่ดีต่อสุขภาพเช่นกัน เพราะจะทำให้เสี่ยงต่อสภาวะสมองแก่เกินวัย ทำให้เป็นโรคสมองเสื่อม, โรคซึมเศร้า, หลอดเลือดสมองตีบ และโรคหัวใจเฉียบพลัน เป็นต้น โรคเหล่านี้จะส่งสัญญาณร้ายไม่มากนักในช่วงแรก ๆ แต่จะมีการผิดเพี้ยนไปของระบบการนอน เช่น จากเคยเป็นคนตื่นเช้า ก็อาจจะกลายเป็นตื่นสาย หรือถึงขั้นไม่ได้นอนเลย แต่ไปหลับเอาตอนสายแทนก็ได้ และต่อมาก็คืออาการของร่างกาย ที่ผิดปกติไปเรื่อย ๆ เช่น จากไม่เคยมีอาการปวดหัว ก็อาจจะปวดมาก จนทำให้มีอาการของไมเกรนร่วมด้วยก็ได้เช่นกัน
โดยจะแบ่งกลุ่มของคนเป็นโรคที่มากับการนอนเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มของผู้มีอาการนอนหลับไม่เพียงพอ
นอนไม่เพียงพอ คือการนอนน้อยจากการนอนไม่หลับ, การที่ต้องทำงาน หรืออ่านหนังสือสอบจนดึก และการใช้ชีวิตแบบคนสมัยใหม่ ที่ต้องมีปาร์ตี้ยามค่ำคืนเกือบทุกวัน เมื่อสะสมนานวันเข้าก็จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย ไม่ว่าจะตื่นสาย, กลิ่นตัวแรง, มีอาการเครียด, หงุดหงิดง่าย และสุดท้ายก็คืออาการนอนไม่หลับเรื้อรัง เพราะร่างกายและสมองชินต่อการนอนดึก จนทำให้พ่วงปัญหาสุขภาพด้านอื่นตามมาอีกมากมาย เช่น
1.โรคมะเร็งลำไส้ โรคยอดฮิตของคนที่ใช้ชีวิตแบบสมัยใหม่ ที่นอนดึกแต่ต้องตื่นเช้าไปทำงานหรือไปเรียน ทานอาหารเช้าไม่ทัน และทานแต่อาหารไม่มีประโยชน์ ไม่เคยออกกำลังกาย จนทำให้เกิดความเสื่อมของระบบภายใน โดยเฉพาะลำไส้ จนกลายเป็นลำไส้อักเสบและลุกลามจนกลายเป็นมะเร็งลำไส้ไปในทึ่สุด ซึ่งเห็นได้ชัดว่าจุดเริ่มต้นของโรคนี้คือการนอนดึก ได้มีการศึกษาและวิจัยว่าในคน 1,240 คน มีคนที่นอนน้อยกว่า 6 ชม. ถึง 47% จะมีอาการของมะเร็งลำไส้ มากกว่าคนที่นอนหลับอย่างน้อย 7 ชม.ขึ้นไป
2.โรคหลอดเลือดหัวใจ สารโปรตีนในตัวเรา จะสะสมมากขึ้นในหัวใจเมื่อเวลาเราตื่นโดยธรรมชาติ แต่ถ้าเราไม่นอน หรือนอนดึกสารโปรตีนเหล่านี้ ก็จะยิ่งเข้าไปเกาะที่หลอดเลือดหัวใจ จนทำให้เกิดการอุดตัน ได้มีการวิจัยในกลุ่มคนที่ทดลองไม่ได้นอนเป็นเวลา 88 ชม. ผลออกมาว่าพวกเค้า มีความดันเลือดที่สูงมากผิดปกติ และในผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 60 ปี มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจถึง 2 เท่า
3.โรคเบาหวาน เมื่อคนเป็นเบาหวานพักผ่อนไม่เพียงพอ จะทำให้ระดับกลูโคสในเลือด เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 23% รวมทั้งระดับอินซูลินในเลือด ก็สูงขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 48 % ในการวิจัยบางส่วนพบว่า คนที่เป็นเบาหวานอยู่แล้ว จะเกิดภาวะร่างกายดื้ออินซูลินจากการนอนไม่พออีกด้วย
4.ระบบร่างกายรวน ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดอาการท้องอืด, ท้องเฟ้อ, อาหารย่อยไม่ดี และการถ่ายอุจจาระไม่เป็นปกติ บางครั้งท้องเสียแต่บางครั้งก็อาจท้องผูกขึ้นมากระทัน เพราะกระเพาะอาหารเกิดการล้า จึงทำให้ย่อยอาหารได้ไม่ดีเท่าที่ควร
5.โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง ในบางคนอาจต้องใช้เวลาเกินกว่า 30 นาที ถึงจะสามารถหลับได้ หรืออาจจะหลับ ๆ ตื่น ๆ ทั้งคืน จนทำให้ตื่นกลางดึก แล้วก็ไม่สามารถหลับอีกเลย และโรคนอนไม่หลับ ยังส่งผลต่อการเข้าห้องน้ำบ่อยทั้งคืน เพราะร่างกายต้องการดูดซับน้ำมากกว่าคนปกติ ซึ่งจะต้องมีอาการแบบนี้เกิน 1 เดือน ถึงจะเรียกว่าการนอนไม่หลับแบบเรื้อรัง
6.สมรรถภาพทางเพศเสื่อมลง เพราะการนอนไม่หลับจะทำให้ฮอร์โมน “เทสโทสเทอโรน” ต่ำลง ซึ่งทำให้ความต้องการทางเพศลดต่ำลงไปด้วย จากการตรวจของแพทย์ จะเห็นได้ว่าผู้ที่เสื่อมสรรถภาพทางเพศส่วนใหญ่ มักจะมีสาเหตุมาจากการพักผ่อนน้อย หรือนอนไม่หลับเลยทั้งคืน
7.อารมณ์แปรปรวนง่าย เมื่อนอนไม่ค่อยหลับ ตื่นเช้ามาจึงมีอาการอ่อนเพลีย ไม่กระปรี้กระเปร่า จนทำให้รู้สึกหงุดหงิด, อารมณ์เสียง่ายกว่าปกติ และยังทำให้การตัดสินใจผิดพลาดไปด้วย เนื่องจากสมองที่ไม่ค่อยได้พักจึงทำงานได้ไม่เต็มที่ และเมื่อเกิดความเครียด ก็จะตามมาด้วยกลิ่นตัวตามจุดต่าง ๆ ของร่างกายที่จะแรงขึ้นอีกด้วย
วิธีแก้ไขอาการนอนไม่พอ
1.พยายามกำหนดเวลานอนของตัวเองให้เป็นเวลา และปล่อยสมองให้โล่ง หยุดคิดเรื่องราวต่าง ๆ
2.งดดื่มชา, กาแฟ และอาหารต่าง ๆ ที่มีส่วนผสมของสาร ที่สามารถกระตุ้นสมองได้ก่อนนอน ทานอาหารให้ตรงเวลา รับประทานผักและผลไม้ให้มาก ๆ หลีกเลี่ยงการทานอาหารหนัก หรือเนื้อสัตว์หนัก ๆ ก่อนนอน เพราะจะยิ่งทำให้อึดอัดท้องจนทำให้นอนไม่หลับ
3.ออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายได้ขับเหงื่อ ทำให้สมองปลอดโปร่ง
4.งดเล่นคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารทุกชนิดก่อนนอน และปิดไฟทำห้องนอนให้เงียบ เพื่อทำบรรยากาศในการนอนดูน่านอนยิ่งขึ้น
5.ควรเลือกเตียงที่มาตรฐาน นอนสบายไม่แข็งและนุ่มจนเกินไป พร้อมทั้งหาหมอนที่รองรับศีรษะได้พอดี
พวกนอนมาก เสี่ยงสมองเสื่อม ~ ความรู้ทั่วไป ความรู้รอบตัว รวมเรื่อง …
2. กลุ่มของผู้มีอาการนอนมากจนเกินไป
โรคนอนเกิน ( Hypersomnia ) เป็นโรคที่หลับเกินพอดี หรือโรคขี้เซา ที่ยิ่งนอนมากเท่าไหร่ก็รู้สึกว่ายังไม่พอ และจะนอนหลับยาวนานเกิน 8 ชม.ขึ้นไป จะมีอาการดูเฉื่อยชา, ไร้ชีวิตชีวา, ทานน้อยแต่กลับอ้วนง่าย เพราะการนอนทำให้กระเพาะอาหารไม่ย่อย จึงเกิดเป็นตัวอาหารและไขมันสะสม นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดอาการโรคซึมเศร้าได้ง่ายถึง 49% ซึ่งถือว่ามากกว่าคนปกติ เป็นผลเสียระยะยาว ที่อาจทำให้เราคิดสั้นฆ่าตัวตายได้ และมีอาการของโรคอื่น ๆ ตามมา ดังนี้
1.ทำร้ายสมอง เพราะจะทำให้สมองเฉื่อยชา ส่งผลให้ทำอะไร และคิดอะไรเชื่องช้า กลายเป็นคนไร้ชีวิตชีวา ขยับตัวน้อยลง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้
2.อ้วนง่าย น้ำหนักเกินที่จะส่งผลให้เป็นโรคอื่น ๆ ตามมาอีกมากมายทั้ง โรคหัวใจ, ความดัน, เบาหวาน เป็นต้น และต่อให้ทานน้อยก็สามารถอ้วนได้ เพราะกระเพาะอาหารไม่ค่อยได้ทำงานนั่นเอง
3.กลายเป็นคนซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวนง่าย ชีวิตไม่ค่อยมีความสุข ซึ่งในปี 2012 ได้มีการศึกษากับกลุ่มผู้หญิงสูงวัย โดยในคนที่นอนมากกว่าวันละ 9 ชม. และน้อยกว่าวันละ 5 ชม. สมองจะทำงานแย่ลงในระยะเวลา 2 ปี เพราะฮอร์โมนในร่างกาย และสารเคมี “ซีโรโทนิน” และ “เอนดอร์ฟิน” ที่เป็นสารแห่งความสุขลดต่ำลง
4.ภาวะมีบุตรยาก ได้มีการศึกษาจากผู้หญิงในเกาหลีใต้ เมื่อปี 2013 พบว่าผู้ที่นอนในระยะเวลา 7 – 8 ชม. ต่อวัน จะมีโอกาสติดลูกได้มากกว่า ผู้ที่นอนนานเกินวันละ 9 ชม. เป็นจำนวนถึง 650 คน เพราะฮอร์โมน และรอบเดือนของผู้หญิง จะเป็นปกติก็ต่อเมื่อต้องได้รับการพักผ่อนที่พอดีอีกด้วย
5.เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตเร็ว เมื่อปี 2010 ได้มีผลวิจัย 16 เรื่อง ที่ตรงกันว่าผู้ที่นอนนานเกินกว่า 9 ชม.ต่อวัน จะเสียชีวิตเร็วกว่าคนที่นอน 7 – 8 ชม. ถึง 1.3 % เพราะผู้ที่นอนมากเกินไปจะหลับง่าย และใช้เวลานาน ทำให้ร่างกายไม่ค่อยได้ขยับ หรือออกกำลังกายใด ๆ จึงไม่สามารถเพิ่มออกซิเจนแก่อวัยวะภายใน เป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตได้ง่าย
6.เสี่ยงต่อสภาวะ การหยุดหายใจแบบเฉียบพลัน ( ไหลตาย ) เพราะเนื้อสมองตายเนื่องจากการดับไปของสัญญาณสมอง ที่นานเกินเวลานอนของคนปกติ
วิธีแก้ไขอาการนอนมากเกินไป
1.เข้านอนตรงเวลาทุกวัน และเมื่อตื่นนอนแล้วให้ลุกเลย อย่าต่อเวลาการนอนออกไปอีก
2.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม ที่มีสารคาเฟอีนทุกชนิด
3.หากิจกรรมก่อนนอนง่าย ๆ ที่สามารถทำให้คุณทำได้ทุกคืน เช่น หาหนังสือดี ๆ สักเล่มอ่าน, หวีผม เพื่อให้คุณได้ปรับตัว และพัฒนาการนอนหลับที่ดี
4.อย่ากลัวจนกลายเป็นไม่กล้านอน หรือบังคับตัวเองไม่ให้นอน เพราะกลัวว่าตัวเองจะนอนนานเกินไป ถ้าทำแบบนั้นจะยิ่งทำให้พฤติกรรมการนอนผิดรูปแบบ จนอาจกลายเป็นนอนไม่หลับ หรือหลับยาวกว่าเดิม ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งคู่
การนอนที่ดี และถูกต้องควรนอนอย่างไร
1.นอนให้อยู่ในช่วง 6 – 8 ชม. ต่อวันเท่านั้น ห้ามน้อยหรือมากกว่านี้ และควรนอนให้ตรงเวลา ตื่นก็ให้ตรงเวลา โดยควรจะนอนก่อน 4 ทุ่ม แล้วตื่นประมาณ ตี 5 ถึง 6 โมงเช้า แค่นี้ก็กระปรี้กระเปร่าเตรียมรับเช้าวันใหม่ อย่างสดชื่นได้แล้ว
2.อาบน้ำก่อนนอนทุกครั้ง ไม่ว่าจะทำงานหรือเรียนหนักแค่ไหน ก็ควรที่จะอาบน้ำก่อนนอน เพราะถ้าเราไม่อาบจะทำให้รู้สึกไม่สบายตัว เหนียวตัวจากคลาบเหงื่อไคลที่เราต้องเจอมาตลอดทั้งวัน จนทำให้รู้สึกนอนไม่หลับไปในที่สุด
3.นอนเวลากลางคืนเท่านั้น ไม่ควรนอนเวลากลางวัน หรือถ้านอนกลางวันก็ไม่ควรนอนนานเกิน 1 ชั่วโมง เพราะอาจจะทำให้กลางคืนนอนไม่หลับ หรือในคนที่นอนกลางวันนานเกิน 2 ชม.ขึ้นไป ก็จะเริ่มเสี่ยงที่จะนอนกลางคืนเร็วขึ้น และยาวนานขึ้นอีกด้วย
4.ทำกิจวัตรทุกอย่างในชีวิต ให้เป็นระเบียบ ตรงเวลา และสม่ำเสมอ หรือในบางคนอาจเรียกเวลาเหล่านี้ว่า “นาฬิกาชีวิต” เมื่อทุกอย่างเป็นไปอย่างมีระเบียบ สุขภาพกายและใจก็จะดีขึ้นทันตาเห็น
5.ไม่ควรใช้ยานอนหลับ ในรายที่มีอาการนอนไม่หลับเรื้อรังเด็ดขาด ควรที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนด้วยตัวเอง จะได้ไม่เกิดอันตรายจากการดื้อยา จนต้องเพิ่มปริมาณยาขึ้นเรื่อย ๆ และในรายที่นอนจนเกินไป ก็ไม่ควรใช้ยากระตุ้นประสาทเพื่อให้ไม่นอน และปลุกให้ตัวเองตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา เพราะอาจทำให้คุณเกิดอาการหลอน และกลายเป็นอาการทางจิต,ประสาทไปในที่สุด
ทางสายกลางในการแก้ปัญหา คือการนอนแต่พอดีไม่มากไป, ไม่น้อยไป และเราต้องปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตให้เข้ากับสุขภาพของเรา มากกว่าการทำตามยุคสมัย เพราะเรื่องการนอนไม่ใช่แค่เรื่องเล็ก ๆ ที่เราจะมองข้าม ไม่ใช่แค่เพียงล้มตัวลงนอนแล้วก็หลับไป แต่เป็นเรื่องของการพักสมอง และซ่อมแซม, ปรับปรุงทุกส่วนของร่างกายในขณะที่เราหลับ เราจึงต้องให้ความสนใจกับวิถีในการนอนให้มาก เพื่อที่จะได้ตื่นเช้ามาอย่างสดชื่น และพร้อมที่จะออกไปลุยได้ตลอดทั้งวัน โดยไม่มีเรื่องของอาการไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ มารบกวนระหว่างวันได้
ที่มา: เว็บไซต์ honestdocs
Please follow and like us:
[NEW] | การนอนหลับพักผ่อน – Sonduongpaper
รู้จัก “กฎการนอน 90 นาที” แล้วการตื่นนอนจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
เราเชื่อว่าทุกกคนน่าจะเคยเกิดเหตุการณ์ที่ตื่นมาแล้วไม่สดชื่น มีอาการเพลียอยู่ แม้จะพักผ่อนมาเป็นเวลา 8-10 ชั่วโมงแล้วก็ตามวันนี้ทางเรามีคำตอบมาให้กับคุณค่ะ ว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร
โดยปกติเมื่อเรานอนหลับ จากผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชี้ว่า สมองของเราจะทำงานต่อไป โดยขณะหลับสมองจะทำงานเป็นรอบ ๆ ซึ่งในแต่ละรอบการทำงานนั้นจะกินเวลาประมาณ 90 นาที ทำให้เกิดช่วงเวลาที่เรียกว่าช่วง “หลับลึก” และ “หลับตื้น” หากเราตื่นขึ้นมาในช่วงที่เรากำลังหลับลึก เรามักจะเกิดอาการเพลียและงัวเงียเป็นอย่างมาก เราจึงควรตื่นในช่วงเวลาหลับตื้นของสมอง นี่จึงเป็นที่มาว่า ทำไมเราควรเรียนรู้ กฎการนอน 90 นาที เพื่อที่จะได้นำไปปรับใช้ในการตั้งนาฬิกาปลุกของเรา และขจัดอาการเพลียหลังตื่นนอนไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไป
การทำงานของสมองขณะหลับ จะแบ่งเป็น 2 ช่วงใหญ่ๆ คือ
NON REM (NON Rapid Eye Monement) เป็นการนอนในช่วงเริ่มต้น แบ่งได้อีก 3 ระยะย่อย คือ ระยะที่ 1 เป็นช่วงเริ่มหลับ มีอาการงัวเงีย ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที ระยะที่ 2 หัวใจเริ่มเต้นช้าลง ยังรับรู้ความเคลื่อนไหวจากข้างนอกได้อยู่ ช่วงนี้จะใช้เวลาอีก 20 นาที ระยะที่ 3 หลับลึก ร่างกายจะพักผ่อนมากที่สุดในช่วงนี้ และตอบสนองกับสิ่งรอบข้างได้น้อยมาก ถ้าถูกปลุกช่วงนี้ ร่างกายจะอ่อนเพลีย ง่วงเหงาหาวนอน รวมระยะเวลาในช่วงการหลับแบบ NON REM จะอยู่ที่ประมาณ 80 นาที
REM (Rapid Eye Monement) ช่วงของการ “หลับตื้น”
การนอนชนิดนี้ จะใช้เวลาประมาณ1 ใน 4 ของระยะเวลาการนอนทั้งหมด ความพิเศษคือ สมองเราจะทำงานใกล้เคียงกับตอนที่ตื่น ทำให้เกิดความฝันขึ้นได้ และส่วนมากคนก็จะฝันกันในช่วงนี้
ระยะเวลาในช่วงการหลับ REM จะอยู่ที่ประมาณ 10 นาที
ฉะนั้นเมื่อรวมแล้วใน 1 รอบ หรือ 1 cycle ของการทำงานของสมองขณะหลับจะ กินเวลาประมาณ 90 นาที และวนไปเช่นนี้ตลอดทั้งคืน หากเราสามารถคำนวณให้ตัวเองตื่นขึ้นมาในช่วงเวลาของการนอนชนิด REM หรือช่วงหลับตื้นได้ ก็จะทำให้เรารู้สึก สดชื่น และตื่นตัวนั่นเอง
ควรเข้านอนเวลาใดให้ตื่นในช่วงหลับตื้น?
เมื่อเรารู้แล้วว่ารอบการนอนของเราคือ 90 นาที ให้เรานำเวลาที่เราต้องการตื่นเป็นตัวตั้ง และนับย้อนกลับไปทีละ 90 นาที ก็จะทำให้เรารู้ว่าเราควรเข้านอนในช่วงเวลากี่โมง โดยที่เวลาตื่นนอนของเรานั่นจะตรงกับช่วงเวลาหลับตื้นพอดี
เช่น เราต้องการตื่น เวลา 05.30 น.
ให้เวลาที่เราควรเข้านอน ได้แก่ 20.30 น. / 22.00 น. / 23.30 น. / 01.00 น.
ซึ่งคนที่ไม่เก่งคณิตศาสตร์อ่านมาถึงตรงนี้แล้วอาจเกิดอาการท้อใจ ไม่ต้องกังวลไป เพราะในปัจจุบันมีวิธีที่ง่ายกว่านั้น คือ การเข้าเว็บหรือแอพพลิเคชั่นเพื่อคำนวณเวลาที่เราควรตื่นเมื่อเรากำลังจะเข้านอน ให้เราไม่ต้องตื่นขึ้นมากลางรอบของการหลับอีกต่อไป เช่น https://sleepcalculator.co ที่สามารถบอกเวลาที่เราควรตื่นหากเราเข้านอนตอนนี้ รวมถึงสามารถบอกเวลาที่เราควรนอนหากเรามีกำหนดการเวลาตื่นแล้ว เพียงเท่านี้ การคำนวณการนอนหลับก็จะเป็นเรื่องง่ายดายที่ทุกคนสามารถทำได้แน่นอน
ส่วนถ้าเราตื่นขึ้นมาตอนกำลังหลับตื้นอยู่ สมองของเราก็จะตื่นง่าน ทำให้ไม่มีอาการ งัวเงีย นั่นก็เพราะว่ามันครบรอบ cycle ของการนอนหลับ สำหรับใครที่อยากได้ตัวช่วยในการตื่นนอนง่ายๆ โดยไม่ต้องตั้งนาฬิกาปลุกเป็น 10 รอบก่อนลุกไปอาบน้ำ ลองใช้ โปรแกรมคำนวนเวลานอน ด้านล่างดู อาจจะช่วยให้ตื่นนอนง่ายขึ้น
MUSIC นอนหลับนะหรือคือการพักผ่อน Midnight Crisis
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม
เคล็ดลับการนอนให้สดชื่น เพิ่มภูมิต้านทาน และอ่อนวัยอยู่เสมอ by หมอแอมป์ (Sub Eng, Chinese, Arabic)
นอนวันละ 8 ชั่วโมงแต่ทำไมตื่นมาแล้วยังรู้สึกง่วง อ่อนเพลีย ไม่มีแรง? มาฟังเคล็ดลับที่จะช่วยให้คุณนอนอย่างเต็มอิ่มแล้วตื่นขึ้นมาอย่างสดชื่น ในรายการ สุขใจใกล้หมอ ช่วง\”ใกล้หมอชะลอวัยกับหมอแอมป์ \”
โดย นพ.ตนุพล วิรุฬหการุญ ผู้อำนวยการ RoyalLife โรงพยาบาลกรุงเทพ
และ นายกสมาคมแพทย์ฟื้นฟูสุขภาพและส่งเสริมการศึกษาโรคอ้วน กรุงเทพ (BARSO)
การนอนหลับอย่างเพียงพอถือเป็นสิ่งสำคัญของชีวิต เพราะมีประโยชน์หลายประการ เช่นช่วยให้มีสุขภาพที่ดี ไม่เป็นโรคร้ายแรงต่างๆเช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง ช่วยให้ความจำดีขึ้น พร้อมกับทำให้รูปร่างดูดีขึ้นได้เพราะการนอนจะช่วยกระตุ้นให้ระบบเผาผลาญทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เราจะทำอย่างไรให้การนอนหลับมีคุณภาพมากที่สุด เรามาคำแนะนำจากคุณหมอแอมป์กันค่ะ
ออกอากาศทางช่อง PPTV HD เมื่อ สิงหาคม พ.ศ. 2558
http://www.barso.or.th
drampCopyright 2015
เทปนี้มีลิขสิทธิ์ ห้ามนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต มีผลในทางกฏหมาย
References:
1. Alvarez GG, Ayas NT. The impact of daily sleep duration on health: a review of the literature. Prog Cardiovasc Nurs. 2004, 19(2):569
2. Colten HR, Altevogt BM, eds. Sleep disorders and sleep deprivation: an unmet public health problem. Board on Health Sciences Policy; National Academies Press, 2006.
3. Sarah James, MA, Sara McLanahan, Phd, Jeanne BrooksGunn, PhD, Colter Mitchell, PhD, Lisa Schneper, PhD, Brandon Wagner, PhD, and Daniel Notterman, MD, FAAP, Sleep duration and telomere length in children, J Pediatr, 2017; 187:247252
4. Lee KA; Gay C; Humphreys J; Portillo CJ; Pullinger CR; Aouizerat BE. Telomere length is associated with sleep duration but not sleep quality in adults with human immunodeficiency virus, SLEEP 2014;37(1):157166
5. Jackowska M, Hamer M, Carvalho LA, Erusalimsky JD, Butcher L, et al. Short sleep duration is associated with shorter telomere length in healthy men; Findings from the Whitehall II Cohort Study. PLoS ONE 7(10), 2012: e47292
6. Helen Benveniste, Xiaodan Liu, Sunil Koundal, Simon Sanggaard, Hedok Lee, Joanna Wardlaw, The glymphatic system and waste clearance with brain aging: A review. Gerontology 2019;65:106119
7. Payne J. Learning, Memory, and Sleep in Humans2011. 1530 p.
8. Williams, Caroline. How Much Sleep Do You Really Need? New Scientist Magazine. 28 May 2016. Vol. 230. No. 3075. United Kingdom
9. Takahashi Y, Kipnis D, Daughaday W. Growth hormone secretion during sleep. The Journal of clinical investigation. 1968;47(9):207990.
10. Healthy Sleep In Adults. American Journal of Respiratory and Critical Care Medicine. 2016;193(5):P7P8.
11. ตนุพล วิรุฬหการุญ. (2561). นอนถูกวิธี สุขภาพดีตลอดชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ. บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.
12. European Society of Cardiology. Sleeping five hours or less a night associated with doubled risk of cardiovascular disease. ScienceDaily. ScienceDaily; 2018. [cited 2002 Jan 22]13. Cedernaes J, Schönke M, Westholm JO, Mi J, Chibalin A, Voisin S, et al. Acute sleep loss results in tissuespecific alterations in genomewide DNA methylation state and metabolic fuel utilization in humans. Science Advances. 2018;4(8):eaar8590.
14. Schernhammer ES, Laden F, Speizer FE, Willett WC, Hunter DJ, Kawachi I, et al. Nightshift work and risk of colorectal cancer in the nurses’ health study. Journal of the National Cancer Institute. 2003;95(11):8258.
ศิลปะแห่งการนอนหลับ by หมอแอมป์ (Sub Thai, English, Chinese, Arabic)
รายการสุขใจใกล้หมอ \”ใกล้หมอชะลอวัย\”
\”ศิลปะแห่งการนอนหลับ” EP.29 โดย นพ. ตนุพล วิรุฬหการุญ
ออกอากาศทางช่อง PPTV เมื่อ กุมภาพันธ์ พศ.2558
แก้ไขเพิ่มเติม โกรทฮอร์โมนนั้นหลั่งตลอดทั้งวัน หลั่งออกมาในปริมาณที่น้อย แต่จะหลั่งมากที่สุดคือช่วง 23.00 01.30 น.
คุณรู้ไหมว่า เราใช้เวลามากกว่าครึ่งหนึ่งของเวลาทั้งหมดในช่วงชีวิตไปกับการนอนหลับ นอกจากจะเป็นเวลาแห่งการผักผ่อนแล้ว การนอนยังเป็นช่วงเวลาสำคัญในการซ่อมแซมส่วนสึกหรอต่างๆ เพราะฉะนั้น การนอนไม่พอ จะส่งผลให้ร่างกายซ่อมแซมได้ช้า ร่างกายก็จะเสื่อมเร็ว วันนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีชะลอวัยง่ายๆ ด้วยการนอนอย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุ้มกับเวลาที่เราลงทุนไปกันค่ะ
http://www.barso.or.th
drampCopyright 2015
เทปนี้มีลิขสิทธิ์ ห้ามนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต มีผลในทางกฏหมาย
ปล.เป็นคลิปให้คำแนะนำแก่ผู้รักสุขภาพที่ยังไม่ป่วยและต้องการป้องกันโรคให้ตัวเอง สำหรับผู้ที่มีโรคแล้วยังไม่ควรทำตามและควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนนะครับ ด้วยความปรารถนาดีจาก หมอแอมป์
3 Hours Relaxing Sleep Music🎵 Deep Sleeping Music, Rain Sound, Meditation Music \”Warm\”
Hi. I am a composer who lives in Korea. Tido Kang
Subscriptions and likes help composers.
I write music that is good for you and upload it on a regular basis.
Don’t use my music without permission.
🎵Music Track
Warm Tido Kang
3 Hours Loop
☞ Subcribe Tido Kang : https://bit.ly/2C0r4d7
☞ Another Channel : https://bit.ly/2PKVGEB
♪Channel | https://www.youtube.com/c/tidokang
♪Instagram | https://www.instagram.com/tido_kang
♪Facebook | https://www.facebook.com/TidoKang/
♪ 악보 (Score) ♪ : https://bit.ly/2RsuOJE
♪ Spotify ♪ : https://spoti.fi/37oolWO
♪ Apple Music ♪ : https://apple.co/38n6wcb
♪ 멜론 (Melon) ♪ : https://bit.ly/2y4QNOC
♪ 벅스 (Bugs) ♪ : https://bit.ly/2y4GZ7z
♪ 지니 (Genie) ♪ : https://bit.ly/2Pm1GCF
♪ Sound Cloud ♪ : https://soundcloud.com/tidokang[Credit]Music Composition : Tido Kang
Sound : Tido Kang
Art : Tido Kang,Dotol
Music Video : Tido Kang
Copyright ⓒ 2020 Tido Kang All Rights Reserved.
RelaxingMusicSleepingMusicStressReliefMusic힐링음악빗소리RainSoundASMR
ประโยชน์ของการนอนหลับอย่างเพียงพอ – Shai Marcu
รับชมบทเรียนเต็มๆ: http://ed.ted.com/lessons/thebenefitsofagoodnightssleepshaimarcu
ตอนนี้ตี 4 แล้ว และการสอบใหญ่จะเริ่มในอีก 8 ชั่วโมงข้างหน้า คุณได้อ่านตำรามาทั้งวันแต่คุณก็ยังไม่รู้สึกว่าพร้อมเลย คุณควรจะไปดื่มกาแฟสักแก้วดีไหม? แล้วมาคร่ำเคร่งกับตำราต่ออีกสัก 23 ชั่วโมง หรือว่า คุณควรจะไปนอนดี? ไช มากู สนับสนุนตัวเลือกหลังโดยได้แสดงเหตุผลให้เห็นว่าการนอนหลับมีส่วนสำคัญที่ช่วยสมองของคุณในเรื่องความจำอย่างไรบ้าง
สอนโดย Shai Marcu, แอนนิเมชั่นโดย Javier Saldeña
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆWiki
ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ การนอนหลับพักผ่อน