ลดหย่อน ภาษี คือ: คุณกำลังดูกระทู้
กองทุนรวมลดหย่อนภาษี SSF และ RMF ทางเลือกการลงทุนช่วยประหยัดภาษีและสร้างเงินเก็บออมใว้ใช้ในวัยเกษียณ
“มีอะไรลดหย่อนภาษีได้บ้าง” น่าจะเป็นคำถามประจำปีสำหรับคนที่ทำงานประจำและมีเงินได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีแทบจะทุกคน
รายการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดามีอยู่หลายรายการเหมือนกันครับ ตามข้อกำหนดของสรรพากร ซึ่งแต่ละคนก็สามารถเลือกใช้ได้ตามเงื่อนไขของตัวเอง
หนึ่งในรายการลดหย่อนภาษีที่น่าสนใจมากๆก็คือ “กองทุนที่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี” หรือที่หลายๆคนเรียกสั้นๆว่ากองทุนลดหย่อนภาษีนั่นเอง
บางคนอาจยังไม่รู้ว่านอกจากการลงทุนในกองทุนรวมทั่วๆไปแล้ว ยังมีกองทุนประเภทนี้ที่สามารถลงทุนได้และประหยัดภาษีไปในตัว
ฟังดูน่าสนใจใช่มั้ยครับ มันมีรายละเอียดอะไรที่เราควรรู้บ้าง ในบทความนี้เราจะมาดูกัน
กองทุนลดหย่อนภาษีคืออะไร
กองทุนลดหย่อนภาษีคือกองทุนรวมที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ให้ผู้ที่นำเงินมาซื้อหน่วยลงทุนสามารถนำมูลค่าหน่วยลงทุนที่ซื้อไปหักออกจากเงินได้สุทธิ เพื่อลดหย่อนภาษี ช่วยให้จ่ายภาษีน้อยลงได้
กองทุนลดหย่อนภาษี มีอะไรบ้าง?
กองทุนรวมที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในปัจจุบันมีอยู่ 2 ประเภทหลักๆ คือ กองทุน SSF และ กองทุน RMF
โดยที่กองทุนทั้ง 2 ประเภทนี้จะมีเงื่อนไขการถือครอง,นโยบายการลงทุน และสิทธิประโยชน์ต่างกันอยู่ในบางหัวข้อ เพราะถูกออกแบบมาให้ใช้ในจุดประสงค์ที่ต่างกัน
เงินที่ใช้ซื้อกองทุน ทั้งกองทุน SSF และ RMF สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้เหมือนกัน โดยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ถูกกำหนดไว้เท่านั้นถึงจะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
ส่วนรายละเอียดวิธีการตัดสินใจว่าจะซื้อแบบไหนดี จะต้องพิจารณาด้วยเงื่อนไขการลงทุนของตัวเองครับ
นักลงทุนอย่างเราๆก็ควรจะทำความเข้าใจว่ากองทุนลดหย่อนภาษีแต่ละประเภทว่าแต่ละอย่างเหมาะกับวัตถุประสงค์การลงทุนแบบไหนบ้าง จะได้ตัดสินใจซื้อถูกครับ
คลิกเพื่ออ่าน: Fund Fact Sheet คืออะไร?ใช้ยังไง?
ทำความรู้จักกองทุน SSF และ RMF
กองทุนลดหย่อนภาษี มี อยู่ 2 ประเภท คือ
กองทุนรวม SSF
กองทุน SSF มีชื่อเต็มว่า กองทุน Super Saving Fund หรือชื่อภาษาไทยว่า “กองทุนรวมเพื่อการออม” จัดตั้งขึ้นมาหลังจากที่กองทุน LTF สิ้นสุดอายุลงในปี 2562
วัตถุประสงค์ของกองทุน SSF ก็เพื่อส่งเสริมให้คนในวัยทำงานเริ่มเก็บออมเงินในระยะยาว และเป็นตัวช่วยในการลดหย่อนภาษีเงินได้ในแต่ละปี
กองทุน SSF มีนโยบายการลงทุนที่หลากหลายครับ โดยที่ไม่ได้จำกัดว่าจะนำเงินจากผู้ลงทุนไปลงทุนในสินทรัพย์หรือกองทุนประเภทใดประเภทหนึ่งเป็นการเฉพาะ
กองทุน SSF สามารถลงทุนได้ในสินทรัพย์ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น กองทุนทองคำ,หุ้นไทย,หุ้นต่างประเทศ,กองทุนอสังหาริมทรัพย์,ตราสารหนี้,กองทุนและอื่นๆ ซึ่งบางคนอาจจะยังไม่รู้ว่ากองทุน SSF ก็สามารถถูกจัดประเภทเป็นกองทุนรวมหุ้นประเภทหนึ่งได้
ข้อดีอีกอย่างนึงของกองทุนรวม SSF คือมีกองทุนให้เลือกทั้งแบบปันผล และไม่ปันผล ครับ แล้วแต่ว่าใครจะเลือกแบบไหน
โดยกองทุน SSF ณ ปัจจุบันจะมีอายุตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปี 2567 หลังจากนั้นจะต้องดูการประเมินจากภาครัฐอีกที ว่าจะมีนโยบายเกี่ยวกับกองทุนประเภทนี้อย่างไรต่อไป
สรุปเงื่อนไขของกองทุนรวม SSF
การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากกองทุนรวม SSF มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- สามารถนำมูลค่าซื้อหน่วยลงทุน SSF มาเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมินในปีนั้นๆ และต้องไม่เกิน 200,000 บาท(สองแสนบาท)
- ค่าลดหย่อนทั้งหมด เมื่อรวมกับค่าลดหย่อนจากกองทุนRMF,กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ,ประกันบำนาญ จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท(ห้าแสนบาท)
- ต้องถือหน่วยลงทุน SSF ไม่ต่ำกว่า 10 ปีนับจากวันที่ซื้อ
- ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ/ไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี
- สามารถนำมาใช้ลดหย่อนได้ในปีภาษี 2563-2567(หลังจากนั้นรอประเมินนโยบายจากรัฐอีกที)
กองทุนรวม RMF
กองทุน RMF มีชื่อเต็มว่า Retirement Mutual Fund หรือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นการออมเงินในระยะยาวจนถึงวัยเกษียณ
วัตถุประสงค์ของกองทุน RMF ก็คือการส่งเสริมการออมเงินระยะยาวของคนไทยทุกกลุ่มให้สามารถมีไว้ใช้จ่ายยามเกษียณอายุจากการทำงานได้ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้มีสวัสดิการการเงินหลัจากเกษียณอายุ
นโยบายการลงทุนของกองทุนรวม RMF ก็จะเหมือนกับกอง SSF ครับ คือไม่ได้มีการจำกัดประเภทสินทรัพย์ที่กองทุนจะนำเงินไปลงทุน
แต่กองทุนรวม RMF จะมีข้อจำกัดที่มากกว่า SSF อยู่บางส่วน เพราะว่าถูกออกแบบมาให้เป็นการออมเงินในระยะยาวเพื่อใช้หลังจากเกษียณ และต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี (เว้นได้ไม่เกิน 1 ปี)
สรุปเงื่อนไขกองทุน RMF
การจะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากกองทุน RMF มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- สามารถนำมูลค่าที่ซื้อหน่วยลงทุน
RMF
มาเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมินในปีนั้นๆ(และห้ามเกิน 500,000 บาท) - เมื่อรวมกับค่าลดหย่อนจากกองทุน SSF,กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ,ประกันบำนาญ จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท(ห้าแสนบาท)
- ต้องซื้อหน่วยลงทุน RMF ต่อเนื่องทุกปี ถ้าจะเว้นก็สามารถเว้นได้แค่ 1 ปี (สามารถซื้อปีเว้นปีได้)
- ไม่มีมูลค่าขั้นต่ำในการซื้อ
- ระยะเวลาถือครองต้องไม่ต่ำกว่า 5 ปี
- สามารถขายออกได้ก็ต่อเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
กองทุน SSF และ RMF ต่างกันอย่างไร?
กองทุน SSF และ RMF ต่างกันในเรื่องของสิทธิประโยชน์,เงื่อนไขในการลงทุน และระยะเวลาที่จะต้องถือครองก่อนที่จะขายออกไปเพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้
เปรียบเทียบสิทธิ/เงื่อนไขในการลดหย่อนภาษี SSF กับ RMF
สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีกองทุนรวม SSFกองทุนรวม RMF1.ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด30%ของเงินได้พึงประเมินในปีนั้น
(แต่ต้องไม่เกินข้อ 2)30%ของเงินได้พึงประเมินในปีนั้น2.จำกัดมูลค่าการลดหย่อนมูลค่า SSF ต้องไม่เกิน 200,000 บาทไม่มีกำหนด3.จำกัดมูลค่าลดหย่อนเมื่อรวมกับรายการอื่น
(SSF,
RMF
,สำรองเลี้ยงชีพ,ประกันชีวิตบำนาญ)รวมทุกอย่าง
ต้องไม่เกิน 500,000 บาทรวมทุกอย่าง
ต้องไม่เกิน 500,000 บาท4.ปีที่นำมาลดหย่อนภาษีได้2563-25672563 เป็นต้นไป5.นโยบายจ่ายเงินปันผลมีการจ่ายเงินปันผลไม่มีจ่ายเงินปันผล6.ภาษีจากกำไรกองทุนหากขายคืนแล้วได้กำไร
ไม่ต้องเสียภาษีหากขายคืนแล้วได้กำไร
ไม่ต้องเสียภาษีเปรียบเทียบสิทธิลดหย่อนภาษี SSF และ RMF
กองทุนSSF,RMFต้องถือนานแค่ไหน ขายได้เมื่อไหร่?
กองทุนลดหย่อนภาษี SSF และ RMF มีเงื่อนไขและข้อกำหนดเกี่ยวกับระยะเวลาที่ต้องถือครองต่างกันบางส่วน
ด้านล่างนี้คือตารางเปรียบเทียบเงื่อนไขระหว่างกองทุน SSF และ กองทุน RMF
กองทุนรวม SSFกองทุนรวม RMFต้องถือครองเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปีต้องถือครองไม่น้อยกว่า 5 ปี*หลังจากครบระยะเวลาแล้วขายเมื่อไหร่ก็ได้*สามารถขายออกได้เมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์เท่านั้นไม่มีกำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำไม่มีกำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำไม่จำเป็นต้องลงทุนติดต่อกันทุกปีต้องลงทุนติดต่อกันทุกปี ยกเว้นปีที่ไม่มีรายได้
เว้นได้ไม่เกิน 1 ปี
(ซื้อปีเว้นปีได้)
นับจำนวณปีเฉพาะปีที่มีการซื้อ RMF เท่านั้นเปรียบเทียบกองทุน SSF,RMF ต้องถือนานแค่ไหน
กองทุนลดหย่อนภาษีเหมาะกับใคร
กองทุน SSF และ RMF ถึงแม้ว่าจะเป็นกองทุนรวมที่ให้ประโยชน์กับเราได้ 2 ต่อ ทั้งทำให้เงินงอกเงยและช่วยประหยัดภาษี แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเหมาะกับทุกคนครับ
หลายๆคนเข้าใจผิดไปว่าควรจะเอาเงินที่ตัวเองหาได้ มาซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีเหล่านี้ให้เยอะที่สุดเพื่อที่จะได้เสียภาษีให้น้อยที่สุด
แต่อาจจะลืมไปว่าจริงๆแล้ว มันมีเงื่อนไขอื่นๆที่ต้องพิจารณาด้วย ไม่ใช่แค่เฉพาะเงื่อนไขการลงทุน แต่เป็นเงื่อนไขทางการเงินของตัวเองด้วย เพราะแต่ละคนมีเงื่อนไขไม่เหมือนกัน
เพราะฉะนั้นก่อนที่จะตัดสินใจซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีก็ควรจะพิจารณาให้ดีว่ามันเหมาะสมกับตัวเองมากน้อยขนาดไหน
เรามาดูกันครับว่า กองทุน SSF และ RMF เหมาะกับใคร ใครควรซื้อบ้าง
กองทุน SSF เหมาะกับใคร?
ผู้มีรายได้ ต้องการออมเงินในระยะยาวอย่างต่ำ 10 ปี
จริงๆแล้วกองทุน SSF นั้นมีความเหมาะสมกับผู้มีรายได้ทุกคนอยู่แล้วครับ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการออมเงินในระยะยาวเป็นเวลา 10 ปีขึ้นไป
เพราะการเอาเงินมาลงทุนกับกองทุนรวม SSF เป็นการใช้เงินทำงานในระยะยาว ซึ่งเป็นการลงทุนในแบบที่ความเสี่ยงไม่ได้สูงมาก และได้ผลตอบแทนดีกว่าการฝากเงินไว้เฉยๆแน่นอน
ข้อดีอีกอย่างนึงก็คือสำหรับคนทำงานประจำ ที่ไม่ได้เชี่ยวชาญการลงทุนมากนัก แต่อยากให้เงินทำงานสร้างผลตอบแทน ก็สามารถนำเงินมาลงทุนในกองทุนรวมแบบนี้ได้
แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงด้วยก็คือเงื่อนไขต่างๆของการลงทุนใน SSF เพราะเมื่อคิดดูดีๆแล้วมันอาจจะยังไม่เหมาะกับเราตอนนี้ก็ได้
ด้วยความที่เป็นกองทุนที่ต้องลงทุนระยะยาวเป็นเวลา 10 ปีขึ้นไปจึงจะขายได้ ผู้ลงทุนจึงควรแน่ใจว่าตัวเองมีเงินเย็นที่พร้อมจะนำมาลงทุนไว้และถอนออกมาไม่ได้เป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี
เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะนำเงินมาลงในกองทุน SSF ก็ควรจะพิจารณาให้ดีครับว่าตัวเราเองมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินก่อนเหล่านี้หรือไม่
ถ้ายังไม่แน่ใจก็ไม่ควรที่จะนำเงินมาลงทุน เพราะถ้าจำเป็นที่จะต้องขายก่อนกำหนดเพื่อนำเงินออกมาใช้ก็จะต้องมีค่าใช้จ่ายสำหรับการผิดเงื่อนไขของ SSF อีก
ต้องการลดหย่อนภาษี เพื่อลดภาระทางการเงิน
ข้อนี้อาจจะเป็นวัตถุประสงค์หลักของใครหลายๆคนที่นำเงินมาซื้อกองทุน SSF ซึ่งก็เป็นอะไรที่เข้าใจได้ครับ โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้สูงๆ เพราะว่าจะต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงมาก
แต่ก่อนที่จะคิดถึงเรื่องของการลดหย่อนภาษีหรือการลงทุน ก็ยังมีอีกปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้อง และควรพิจารณาก็คือ “สภาพคล่องทางการเงิน” ของตัวเราเอง
จริงอยู่ครับ ว่าการที่เราสามารถลดหย่อนภาษีได้เป็นเรื่องดี และสามารถลดภาระทางการเงินได้ส่วนหนึ่ง สามารถนำเงินที่ประหยัดภาษีกลับมาใช้ทำประโยชน์อย่างอื่นได้
แต่ในชีวิตจริงของหลายๆคน มักจะมีรายจ่ายๆอื่นๆที่จำเป็นต้องจ่ายออกไปอยู่เหมือนกัน และแน่นอนว่ามีผลต่อสภาพคล่องทางการเงิน
ซึ่งถ้ายังไม่สามารถรักษาสภาพคล่องทางการเงินได้ และยังไม่ได้มีเงินเก็บสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉิน การนำเงินรายได้ในแต่ละเดือนมาลงทุนเพื่อประหยัดภาษีก็น่าจะไม่ใช่ความคิดที่ดีซักเท่าไหร่
มีเงินเย็นที่สามารถนำมาลงทุนระยะยาวได้
เนื่องจากการลงทุนในกองทุน SSF นั้นเป็นการออมในระยะยาวถึง 10 ปี ถึงจะสามารถขายเอาดอกผลออกมาใช้ประโยชน์ได้ ก่อนจะลงทุนก็ควรจะต้องพิจารณาวางแผนกันให้ดีก่อนครับ
หากใครที่มีเงินเก็บสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉินแล้ว และมีสภาพคล่องทางการเงินที่ดี การนำเงินมาลงทุนในกองทุนรวม SSF ก็อาจจะยังไม่ใช่คำตอบสุดท้ายนะครับ
เนื่องจากว่า แต่ละคนมีเงื่อนไขและการวางแผนการเงินที่แตกต่างกัน บางคนอาจจะมีเรื่องจำเป็นต้องใช้เงินในอนาคตอันไกล้ เช่น 1-2 ปีข้างหน้า หรืออาจจะต้องการเงินต้นและผลตอบแทนคืนเร็วกว่านั้น
ถ้าแบบนั้นก็น่าจะต้องแน่ใจก่อนว่าเราจะสามารถมีเงินไว้ใช้เมื่อถึงเวลาที่ต้องการได้ หรืออาจจะวางแผนนำเงินไปลงทุนในกองทุนรวมประเภทอื่นๆก็ได้ ที่มีเงื่อนไขเรื่องเวลาน้อยกว่า
ซึ่งการนำเงินไปลงทุนในกองทุนรวมประเภทอื่นๆก็สามารถสร้างผลตอบแทนได้เช่นกัน เพียงแต่อาจจะได้ประโยชน์ทางภาษีไม่ชัดเจนเท่ากับ SSF หรือ RMF
สามารถรับความเสี่ยงปานกลาง-สูงได้
การศึกษานโยบายการลงทุนของแต่ละกองทุนก่อนที่เราจะเข้าไปซื้อเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆครับ เพราะกองทุนแต่ละกองทุนก็จะมีนโยบายแตกต่างกันออกไป
หากผู้ลงทุนทำความเข้าใจและศึกษานโยบายการลงทุนของกองทุน SSF แต่ละกองก็จะรู้ว่ากองทุนที่เราสนใจเค้านำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทไหน ความเสี่ยงมากน้อยเท่าไหร่
ซึ่งกองทุน SSF ก็ไม่ได้ถูกจำกัดประเภทของสินทรัพย์ที่จะไปลงทุนไว้ นั่นหมายความว่าการลงทุนใน SSF ก็มีความเสี่ยงหลายระดับให้นักลงทุนเลือกตามที่ตัวเองต้องการ
ซึ่งระดับความเสี่ยงส่วนใหญ่ของกองทุน SSF ก็จะเป็นระดับกลางถึงสูง ผลตอบแทนที่ได้ก็จะเป็นสัดส่วนตามค่าความเสี่ยง แล้วแต่เราเลือกลงทุนครับ
กองทุน RMF เหมาะกับใคร
ผู้ที่มีรายได้ทุกประเภท ทุกคน
กองทุนรวม RMF เป็นกองทุนออมเงินสำหรับเกษียณที่เหมาะกับผู้มีรายได้ทุกคนครับ เพราะเป็นการออมและลงทุนสร้างผลตอบแทนไปด้วยในระยะยาว เพื่อให้มีเงินใช้ยามเกษียณ
และยิ่งหากใครที่เป็นฟรีแลนซ์ หรือเป็นพนักงานลูกจ้างทั่วๆไปที่ไม่ได้มีสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็ยิ่งจะเป็นการดีที่จะค่อยๆเก็บสะสมเงินเกษียณไว้ในกองทุน RMF
นอกจากนี้ หากใครที่เป็นข้าราชการ ที่มีเงินบำเหน็จบำนาญ หรือลูกจ้างบริษัทที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่แล้วและอยากจะเพิ่มการออมสำหรับเกษียณก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าคุณจะมีหรือไม่มีสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเกษียนอายุ การซื้อกองทุน RMF ไว้ก็มีประโยชน์ไม่น้อยเลย
เพราะนอกจาก RMF จะช่วยลดหย่อนภาษีแล้ว ก็ยังจะช่วยเพิ่มความมั่นคงให้ชีวิตในวัยเกษียนของคุณได้อีกด้วย
ผู้ที่ต้องการออมเงินไว้ใช้ยามเกษียณ
จุดประสงค์หลักของกองทุนRMFก็คือ ออมเพื่อเก็บไว้ใช้ในยามเกษียณ ซึ่งการเกษียณอายุและหมดรายได้จากการทำงานเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเจอ
แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือ ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถเก็บเงิน,มีธุรกิจไว้หากินยามเกษียณ หรือ มีสวัสดิการเกี่ยวกับการเกษียณเช่น เงินบำนาญ หรือเงินจาก กบข.
การวางแผนเกี่ยวกับเงินเพื่อใช้จ่ายในยามเกษียนนั้นสำคัญมากครับ เพราะเมื่อเราพ้นวัยทำงานเราก็จะขาดรายได้ที่เคยมีไป ในขณะที่ชีวิตยังต้องดำเนินต่อไปอีก 20-30 ปีเป็นอย่างน้อย
คำถามก็คือ ทำยังไงถึงจะมีเงินออมเก็บไว้ใช้ยามเกษียน? แน่นอนว่า ก็ต้องเริ่มออมไว้ตั้งแต่เรายังอยู่ในวัยทำงาน เก็บออมไปทีละเดือนอย่างสม่ำเสมอ
แต่การที่เราจะเก็บเงินไว้นิ่งๆเฉยๆเป็นเวลาหลายปี มันก็เสียโอกาสใช่มั้ยครับ
เพราะฉะนั้นถ้าเงินที่เราเก็บออมสามารถทำงานสร้างผลตอบแทนแบบ Passive Income ได้และมีความเสี่ยงต่ำด้วยก็จะเป็นอะไรที่ดีมาก เพราะได้ดอกผลแถมไม่เสี่ยงที่จะสูญเงินต้น
วิธีการก็คือการนำเงินไปออมในกองทุน RMF นี่ล่ะครับ นอกจากจะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนแล้ว ยังได้ลดหย่อนภาษีในแต่ละปีด้วยอีกต่างหาก
มีเงินเย็นที่จะออมในระยะยาวได้
จริงอยู่ที่นิสัยการเก็บออมและนำเงินไปลงทุนเป็นเรื่องที่ดีและจำเป็นต้องทำ แต่อย่างไรก็ตาม ในชีวิตคนเราก็มักจะมีปัจจัย,เงื่อนไขอื่นๆให้พิจารณาด้วยเสมอๆ
เงินที่นำมาลงทุนในกองทุนรวม หรือกองทุน RMF ควรจะเป็นเงินเย็นที่ผ่านการจัดสรรค์มาแล้วว่าสามารถออมในระยะยาวได้ ไม่ทำให้เกิดปัญหากับสภาพคล่อง
เพราะไม่งั้น หากสภาพคล่องยังไม่ดีพอ เงินไม่พอใช้ในชีวิตประจำวัน หรือหากมีเรื่องต้องใช้เงินฉุกเฉิน มันก็จะเป็นปัญหาขึ้ามาได้ครับ
ผู้ที่ไม่มีสวัสดิการเพื่อการเกษียณ
ยิ่งถ้าเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระหรือที่เรียกว่าฟรีแลนซ์ RMF ยิ่งเป็นอะไรที่ตอบโจทย์มากๆ
เพราะฟรีแลนซ์ทุกคนจะไม่ได้มีโอกาสที่จะลงทุนและออมเงินในแบบที่ช่วยประหยัดภาษีไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่มี บำเหน็จบำนาญ
และคนอีกกลุ่มนึงที่เหมาะมากๆที่จะลงทุนใน RMF อย่างจริงจังก็คือกลุ่มพนักงานลูกจ้างที่นายจ้างไม่ได้จัดสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้
ซึ่งถ้าไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะทำให้คนทำงานกลุ่มนี้ขาดโอกาสในการออมเงินเพื่อการเกษียนไปโดยอัตโนมัติ
ผู้ที่สามารถรับความเสี่ยงได้ต่ำ-สูง
กองทุนรวม RMF มีนโยบายการลงทุนที่หลากหลายครับ โดยส่วนใหญ่แล้วก็จะลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำไปจนถึงสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง
เพราะฉะนั้น หากใครต้องการเก็บออมเงินในระยะยาวจนเกษียณและให้เงินทำงานสร้างผลตอบแทนไปด้วย ก็สามารถที่จะเลือกลงทุนในกองทุน RMF ตามความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้
มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะตัดสินใจได้แล้วว่าจะซื้อกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษีแน่ๆ
แต่ก็อาจจะยังสับสนอยู่ว่า แล้วเราจะซื้อ SSF หรือ RMF ดีล่ะ ถึงจะเหมาะและได้ประโยชน์สูงสุด?
ซื้อ SSF หรือ RMF ดี?
วิธีที่จะเลือกว่าควรจะซื้อกองทุน SSF หรือ RMF ดี มีหลักอยู่ง่ายๆครับ
เพียงแค่เราต้องพิจารณาว่าเราอายุเท่าไหร่,ต้องการอะไรจากการลงทุนในแต่ละช่วงเวลา,และอยากจะใช้เวลาลงทุนนานเท่าไหร่
ซึ่งแผนการลงทุนก็สามารถปรับเปลี่ยนได้เรื่อยๆนะครับ เพราะเมื่อเวลาผ่านไป ความคิดและชีวิตคนเราก็จะมีเงื่อนไขต่างๆที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ
ตัวอย่างแผนการลงทุนกองทุนลดหย่อนภาษีของแต่ละคนก็อาจจะมีแตกต่างกันไป แต่เราได้ลองรวบรวมวัตถุประสงค์ในการลงทุนหลักๆมาลองวิเคราะห์กันดู ดังนี้ครับ
1.ต้องการลดหย่อนภาษีเท่านั้น
หากแผนการลงทุนของคุณ มีจุดประสงค์เพื่อการลดหย่อนภาษีอย่างเดียวเท่านั้น คุณสามารถซื้อได้ทั้ง SSF และ RMF โดยที่ไม่ต้องคิดอะไรมากครับ
หากคุณต้องการซื้อกองทุนเหล่านี้เพื่อลดหย่อนภาษีอย่างเดียว การนำเงินมาซื้อกองทุนรวม RMF ก็อาจจะเป็นทางเลือกที่ดี เพราะสามารถลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้พึงประเมิณในปีนั้นๆ
เพราะกองทุน RMF ไม่ได้กำหนดเพดานลดหย่อนไว้แค่ 200,000 บาทเหมือนกองทุนรวม SSF
โดยเฉพาะถ้าคุณทำงานมาซักระยะนึงแล้ว หรือมีรายได้เยอะพอสมควรที่จะซื้อกองทุน RMF เต็มจำนวนได้มากกว่า 200,000 บาท
สิ่งที่ต้องระวังก็เพียงแค่อย่าซื้อเกินจำนวนสูงสุดที่กำหนดไว้เท่านั้น ไม่เช่นนั้นจะต้องมีค่าใช้จ่ายตามมาภายหลัง และจะต้องลงทุนทุกปี(เว้นได้ไม่เกิน 1 ปี)
อีกอย่างที่สำคัญคือ ต้องไม่ลืมว่าถึงแม้คุณจะซื้อ RMF หรือ SSF เพียงอย่างเดียว แต่ก็ต้องนำกองทุนเพื่อการเกษียณอย่างอื่นมาพิจารณาด้วยว่าเราซื้อ SSF หรือ RMF ได้มากสุดเท่าไหร่
เพราะไม่ว่าจะเป็น RMF หรือ SSF เมื่อนำมารวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆ จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท
และถ้าหากคุณตัดสินใจซื้อกองทุน RMF คุณจะขายออกได้ก็ต่อเมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์และถือครองหน่วยลงทุนมาเป็นเวลา 5 ปีขึ้นไปถึงจะได้ประโยชน์ทางภาษีครับ
แต่ถ้าคุณตัดสินใจที่จะซื้อกองทุน SSF คุณจะถูกบังคับให้ถือหน่วยลงทุนแค่ 10 ปี (นับวันชนวัน) เท่านั้นก็ขายออกไปเพื่อรับผลประโยชน์ได้แล้ว
2.ต้องการลดหย่อนภาษี+ผลตอบแทนการลงทุน
ต่อจากข้อที่แล้ว คราวนี้ นอกจากซื้อกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษีในแต่ละปีแล้ว บางคนก็อาจจะคิดเรื่องของผลตอบแทนจากการลงทุนด้วย
ซึ่งผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวม SSF หรือ RMF เป็นผลพลอยได้ที่จะได้มาโดยอัตโนมัตินอกเหนือจากสิทธิประโยชน์ทางภาษีอยู่แล้วครับ
เพราะการลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีทั้ง 2 อย่างนี้เป็นการลงทุนระยะยาว มีความเสี่ยงไม่สูงนัก ทำให้แทบจะแน่ใจได้เลยว่ายังไงก็จะได้กำไรจากการลงทุนแน่ๆหากอยู่ครบตามเงื่อนไข
สำหรับแผนการลงทุนแบบนี้ สิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือเราอายุเท่าไหร่ และ ต้องการจะนำผลตอบแทนเหล่านั้นมาใช้เมื่อไหร่เท่านั้นเองครับ
ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไหร่ ถ้าอยากบังคับตัวเองให้เก็บผลตอบแทนจากการลงทุนไว้ใช้หลังเกษียณเท่านั้น ก็เลือกซื้อ RMF ไปเลย
โดยเฉพาะถ้าคุณประกอบอาชีพอิสระ ที่ไม่ได้มีสวัสดิการการเงินสำหรับเกษียณ RMF ก็เป็นทางเลือกนึงที่น่าสนใจครับ เพราะเป็นการบังคับออมจนไกล้เกษียณเลย
หรือหากคุณยังมีอายุไม่มาก เช่น 30-40 ปี ทำงานประจำ และอยากจะเก็บออมเงินในระยะยาว 10 ปีขึ้นไป และในขณะเดียวกันก็ให้เงินทำงานสร้างดอกผลไปด้วย การนำเงินมาลงในกองทุน SSF ก็น่าจะเป็นความคิดที่ดี
เพราะเงินต้นและกำไรจากกองทุน SSF จะสามารถถอนออกมาได้เมื่อลงทุนเป็นเวลาครบ 10 ปี(วันชนวัน) ไม่ต้องรออายุครบ 55 ปีเหมือน RMF
หากคุณมีวินัยที่จะลงทุนในกองทุน SSF เป็นประจำ นอกจากจะได้ประหยัดภาษีแล้ว ก็ยังจะได้ผลตอบแทนที่ดีอีกด้วยเพราะเป็นการลงทุนระยะยาว
หลังจากลงทุนเป็นเวลาครบ 10 ปีแล้ว คุณจะขายกองทุน SSF ที่ถือไว้เพื่อนำเงินมาลงทุนทำธุรกิจของตัวเองก็ได้
หรือเมื่ออายุครบ 45-50 ปีก็อาจจะย้ายเงินไปลงทุนในกองทุน RMF ต่อเพื่อประหยัดภาษีและรอเก็บผลกำไรใช้ยามเกษียณก็ได้
สาเหตุที่ต้องรอจนอายุไกล้ 50 เพราะกองทุน RMF ต้องรอจนอายุครบ 55 ปีและถือครองหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 5 ปีถึงจะขายออกได้ครับ
3.ต้องการลดหย่อนภาษี+เงินปันผล
ผลตอบแทนอีกรูปแบบนึงของการลงทุนในกองทุนรวมคือ “เงินปันผล” นั่นเองครับ ซึ่งนโยบายการจ่ายเงินปันผลของแต่ละกองทุนก็จะต่างกันออกไป
สำหรับกองทุนรวมลดหย่อนภาษี ถ้าหากคุณต้องการเงินปันผล คุณมีเพียงตัวเลือกเดียวเท่านั้นคือคุณจะต้องลงทุนในกองทุน SSF เท่านั้น เพราะกองทุน RMF ไม่มีนโยบายการจ่ายเงินปันผล
แต่ผลตอบแทนในส่วนที่เป็นเงินผันผลจากกองทุน SSF จะต้องมีการเสียภาษีนะครับ โดยมีเงื่อนไขที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมนิดหน่อย
ภาษีจากเงินปันผลกองทุนรวม SSF
การรับเงินผันผลจากกองทุน SSF มี 2 แบบ แบ่งตามวิธีการเสียภาษี คือ
1.รับเงินปันผล SSF หักภาษี ณ ที่จ่าย 10%
การรับเงินปันผลในรูปแบบนี้ คือ เมื่อกองทุนรวม SSF ที่เราไปลงทุนได้คำนวณเงินปันผลในส่วนของเราที่จะต้องจ่ายในปีนั้นๆแล้ว ก่อนจะจ่ายมาให้เรา เค้าจะหักภาษี ณ ที่จ่ายทันทีเลยเป็นจำนวณ 10%
ตัวอย่างเช่น สมมุติว่าในปีนั้น เราได้เงินปันผลเป็นเงิน 10,000 บาท ทางกองทุนรวมจะหักไป 1,000 บาทเพื่อไปชำระภาษี และส่งเงินให้เราเป็นจำนวณ 9,000 บาท(ไม่ต้องนำเงินที่ได้รับไปคิดภาษีอีก)
วิธีการรับเงินปันผล SSF แบบนี้เหมาะกับผู้ที่มีรายได้ที่อยู่ในอัตราเสียภาษีมากกว่า 10% เนื่องจากจะได้ไม่ต้องนำเงินปันผลไปรวมกับเงินได้เพื่อคิดภาษีอีกทีนึง
เพราะถ้านำเงินปันผลที่ได้จากกองทุน SSF มารวมกับเงินได้พึงประเมิณ อาจจะต้องเสียภาษีเพิ่มโดยที่ไม่จำเป็น
2.รับเงินปันผล SSF หักภาษี ณ ที่จ่าย 10%และนำเงินปันผลรวมกับเงินได้เพื่อเสียภาษี/ขอคืนภาษี
วิธีการรับเงินปันผลจากกองทุน SSF แบบนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี หรือมีรายได้อยู่ในอัตราภาษีไม่ถึง 10%
การรับเงินปันผล SSF แบบนี้ ฟังดูอาจจะเหมือนว่าต้องเสียภาษีเยอะและเสีย 2 ต่อใช่มั้ยครับ แต่จริงๆแล้วมันอาจจะเป็นประโยชน์และเหมาะกับคนบางกลุ่ม
เพราะว่าในบางกรณี ผู้ลงทุนที่มีเงินได้พึงประเมิณไม่เกินัตราภาษี 10% อาจจะสามารถขอคืนภาษีได้จากการเลือกรับเงินปันผลแบบนี้
แต่ท้ายที่สุดแล้วจะเลือกรับเงินปันผลจากกองทุน SSF แบบไหนถึงจะเป็นประโยชน์มากที่สุด ผู้ลงทุนจะต้องนำเงินได้ในแต่ละปีมาคำนวณโดยละเอียดอีกทีนะครับ แล้วค่อยเปรียบเทียบ
4.ต้องการลดหย่อนภาษี+ออมเงิน(ใช้ก่อนเกษียณ)
เหมาะสำหรับใครที่กำลังเริ่มต้นชีวิตการทำงาน หรืออยู่ในวัยทำงานอายุยังไม่เยอะเช่นวัย 20-40 ปี และอยากจะเก็บเงินออม เพื่อใช้ในขณะที่ยังไม่เกษียณอายุ
เมื่อสะสมประสบการณ์ทำงานไปซักระยะนึง บางคนอาจจะอยากจะเริ่มเก็บออมเงินเพื่อใช้เป็นทุนในสำหรับเริ่มทำธุรกิจส่วนตัวในอนาคต และอยากจะถอนเงินออกมาโดยไม่ต้องรอให้ถึงวัยเกษียณ
แน่นอนครับ ตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดในกรณีนี้ก็คือกองทุนรวม SSF เพราะเงื่อนไขของกองทุนประเภทนี้เหมาะที่สุด
หากคุณอายุยังไม่เยอะและนำเงินมาออมในกองทุน SSF จะสามารถถอนออกมาได้โดยใช้เวลาเพียงแค่ 10 ปี ไม่ต้องรอให้ถึงวัยไกล้เกษียณ
และด้วยความที่เป็นการออมเงินในระยะยาว ได้ผลตอบแทนที่ดีพอสมควร เงินต้นที่คุณออมเป็นประจำก็จะงอกเงยขึ้นมาด้วย
หากคุณรักษาวินัยในการออมเงินเป็นประจำทุกเดือน ด้วยเวลายาวนานถึง 10 ปีคุณก็จะได้เงินก้อนมาจำนวณนึง สามารถนำมาใช้เป็นทุนเริ่มกิจการส่วนตัวเล็กๆได้
และแน่นอนครับ ว่ากิจการเล็กๆที่คุณเริ่มต้นทำ มันก็จะกลายเป็นทรัพย์สินทำมาหากินให้คุณต่อไปในอนาคต รวมถึงเป็นเครื่องมือทำเงินหลังจากเกษียณอายุของคุณได้
ถ้าคุณเริ่มเก็บออมเงินในกองทุนรวม SSF ตั้งแต่อายุยังน้อย คุณจะมีข้อได้เปรียบคือ “เวลา” ครับ คุณจะมีเวลาเยอะในการเก็บออม
คุณจะสามารถเลือกจัดสรรค์เงินมาลงในกองทุน SSF อย่างเดียวได้ โดยที่ยังไม่ต้องไปกังวลว่าควรจะต้องแบ่งเงินไปลงกองทุน RMF เพื่อการเกษียณเท่าไหร่ดี
และในเมื่อคุณไม่ต้องแบ่งเงินเป็นก้อนเล็กๆเพื่อลงทุนในกองทุนหลายๆประเภท ผลตอบแทนที่ได้กลับมาก็จะได้เป็นก้อนใหญ่กว่าแน่นอน
หากคุณสามารถเก็บออมเงินในกองทุน SSF ได้ตั้งแต่เริ่มทำงานใหม่ๆ ในวัยยี่สิบต้นๆ คุณแทบจะสามารถลงทุนใน SSF อย่างเดียวได้ถึง 2 รอบ(20ปี)เพื่อออมเงินก้อน แล้วหลังจากนั้นค่อยเริ่มซื้อกองทุน RMF ก็ไม่สาย
5.ต้องการลดหย่อนภาษี+ออมเงินไว้ใช้หลังเกษียณ
แน่นอนครับว่า หากเรามองวัตถุประสงค์การออมเพื่อไว้ใช้ยามเกษียณอย่างเดียว โดยที่แน่ใจว่าจะไม่ถอนออกมาก่อนอายุ 55 ปี ตัวเลือกที่ดีที่สุดก็น่าจะเป็นการลงทุนในกองทุน RMF
เพราะเงื่อนไขการซื้อกองทุน RMF นั้นแทบจะเป็นการบังคับคุณไปในตัวว่า จะต้องลงทุนอย่างสม่ำเสมอไปจนถึงอายุ 55 ปี และต้องถือครองหน่วยลงทุนอย่างต่ำ 5 ปี
หากคุณสามารถทำตามเงื่อนไขได้ และถือครองหน่วยลงทุนครบเวลาที่กำหนด คุณก็จะมีเงินก้อนไว้ใช้ในยามเกษียณแน่นอน
นอกจากจะการันตีเงินก้อนยามเกษียณแล้ว ระหว่างทางคุณก็จะได้ลดหย่อนภาษีไปในตัว
เพราะฉะนั้น ถ้าแผนการใช้เงินของคุณเป็นลักษณะนี้ ก็ควรจะซื้อกองทุน RMF จะตอบโจทย์มากที่สุดครับ
6.ต้องการลดหย่อนภาษี+ผลตอบแทน+เงินปันผล+เงินออมใช้หลังเกษียณ
แผนการลงทุนแบบนี้ น่าจะเหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่มีอายุไม่มากไม่น้อย ทำงานมาซักระยะนึง อยากจะเริ่มลงทุนเพือรับผลตอบแทน กินเงินปันผล เริ่มเก็บเงินเกษียณ และต้องการที่จะลดหย่อนภาษีไปในตัว
ถ้าหากคุณอายุไม่มากไม่น้อย เช่น 35-40 ปี และต้องการจะประหยัดภาษี ออมเงินโดยให้เงินสร้างผลตอบแทน อยากได้เงินปันผล และเก็บออมเผื่อไว้ใช้ในยามเกษียณด้วย ก็อาจจะต้องวางแผนหนักหน่อยครับ
เพราะการทำแบบนี้คุณควรจะต้องมีรายได้เยอะพอสมควร ซึ่งก็มักจะต้องทำงานมาแล้วหลายปี และจะต้องจัดสรรค์เงินให้ดี
ในกรณีนี้คุณอาจจะต้องซื้อทั้งกองทุน SSF และ RMF โดยต้องวางแผนให้ดีว่าควรจะซื้ออย่างละเท่าไหร่ถึงจะได้ประโยชน์สูงสุดและบรรลุเป้าหมายตามที่วางแผนไว้
และด้วยเงื่อนไขของ SSF กับ RMF ที่จะต้องนำเงินจากกองทุนเพื่อการเกษียณอย่างอื่นมาคิดรวมด้วย คุณอาจจะต้องแบ่งเงินจำนวณหนึ่งไปลงทุนในกองทุนรวมประเภทอื่น หรือสินทรัพย์อย่างอื่นด้วยครับ
ขั้นตอนวางแผนซื้อ SSF/RMF
มาถึงขั้นตอนนี้ หลังจากที่เราทำความรู้จักกองทุน SSF และ RMF แล้วก็ถึงเวลาที่จะมาเริ่มวางแผนการซื้อกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษีกันแล้วครับ
สำหรับการวางแผนว่าจะซื้อกองทุน SSF หรือ RMF เท่าไหร่ดี มีขั้นตอนง่ายๆดังนี้ครับ
1.ประมาณเงินได้สุทธิเพื่อนำมาคิดภาษี
ในเมื่อเราจะซื้อกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษี เราจึงจำเป็นต้องรู้ก่อนว่าในปีนั้นๆ เราน่าจะต้องเสียภาษีด้วยอัตราภาษีเท่าไหร่ กี่เปอเซ็นต์ เป็นจำนวณเงินกี่บาท
ขั้นตอนการประมาณมีดังนี้ครับ
1.ประมาณเงินได้พึงประเมินในปีนั้นๆ
การที่เราจะประมาณการจ่ายภาษีคร่าวๆได้ ก็คือ เราต้องรู้ว่า เราน่าจะมีเงินได้พึงประเมินเท่าไหร่ในปีนั้นๆ
ซึ่งส่วนใหญ่ สำหรับคนทำงานทั่วๆไป ที่ไม่ได้มีรายได้เสริมจากทางอื่น หรือมีธุรกิจส่วนตัว ก็น่าจะเป็นเงินเดือนปีนั้นทั้งปีนั่นล่ะครับ
แต่สำหรับหลายๆคนที่ไม่ใช่พนักงานประจำ และมีรายได้หลายทาง รวมถึงมีการลงทุนทำนู่นทำนี่ ก็อาจจะต้องลงลึกไปในรายละเอียดหน่อยว่าเงินได้พึงประเมินคืออะไร มีอะไรที่ต้องนำมาคิดบ้าง
ตัวอย่าง สำหรับพนักงานประจำ มีรายได้จากเงินเดือนอย่างเดียว 60,000 บาท/เดือน
เงินได้พึงประเมินก็จะเท่ากับ 12×60,000 = 720,000 บาท
คิดเงินได้พึงประเมินเพื่อซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี
2.เช็ครายการลดหย่อนภาษีของตัวเอง
เมื่อเราได้ตัวเลขประมาณของเงินได้พึงประเมินมาแล้วก็ให้มาดูว่าเรามีสิทธิหักค่าลดหย่อนอะไรบ้าง
ค่าลดหย่อนภาษี หรือเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นตามที่สรรพากรกำหนดจริงๆมีอยู่หลายรายการครับ
ซึ่งแต่ละคนก็จะมีรายการค่าลดหย่อนแตกต่างกันออกไป แต่ในที่นี้เราจะยกตัวอย่างรายการค่าลดหย่อนง่ายๆ สำหรับคนทั่วๆไปละกันครับ
สำหรับพนักงานประจำหรือคนทั่วไปที่ทำงานมาซักระยะนึง ค่าลดหย่อนที่น่าจะมีกันทุกคนก็คือ
- ค่าใช้จ่าย 100,000 บาท(50%ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 1แสนบาท)
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
- เงินจ่ายสมทบประกันสังคม 9,000 บาท
เพราะฉะนั้น ในกรณีนี้ รวมทั้ง 3 ข้อแล้วเราจะมีค่าลดหย่อนภาษีได้เท่ากับ 169,000 บาท
3.คำนวณเงินได้สุทธิเพื่อคิดภาษี
การคำนวณเงินได้สุทธิเพื่อมาใช้คิดภาษีทำได้ง่ายๆครับ วิธีการก็คือ
นำเงินได้พึงประเมิน มาลบ(-) รายการลดหย่อนภาษี นั่นเอง
ตามตัวอย่างของเรา
- เงินได้พึงประเมิน=720,000 บาท
- รายการลดหย่อนภาษี=169,000 บาท
เงินได้สุทธิสำหรับคำนวณภาษี = 720,000-169,000 =551,000 บาท
4.สรุปภาษีที่เราต้องจ่ายหากไม่ได้ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี
หลังจากที่เราได้ตัวเลขเงินได้สุทธิสำหรับคำนวณภาษีมาแล้ว เราจะสามารถประเมินมูลค่าภาษีที่เราต้องจ่ายในปีนั้นๆได้ครับ
วิธีการประเมินภาษีก็ไม่ได้ยากอะไร เพียงเอาเงินได้สุทธิของเราไปเทียบกับอัตราภาษีในตารางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก็พอที่จะประเมินภาษีได้ครับ
2.ซื้อกองทุน SSF/RMF เท่าไหร่ดี(มีหลักๆ 3 วิธี)
หลังจากที่เราสามารถคำนวณหาเงินได้สุทธิ,เทียบอัตราภาษีและรู้แล้วว่าเราจะต้องเสียภาษีประมาณกี่บาท
คราวนี้เรามาดูกันครับว่าถ้าเราอยากจะประหยัดภาษีโดยการซื้อกองทุน SSF และ/หรือ RMF เราควรจะต้องซื้อเป็นจำนวณเท่าไหร่ดี
วิธีหลักๆที่นิยมใช้กันมีอยู่ 3 วิธีครับสำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มมาลงทุนในกองทุน SSF/RMF และยังไม่รู้ว่าควรจะซื้อยังไง คือ
ซื้อตามมูลค่าฐานภาษีสูงสุด
วิธีนี้ค่อนข้างง่ายและไม่ซับซ้อนครับ เนื่องจากไม่ต้องคิดอะไรมาก แค่ให้ดูว่าเงินได้สุทธิทั้งปีของเราตกอยู่ในอัตราภาษีสูงสุดกี่เปอร์เซ็น
พอได้มูลค่าเงินภาษีในอัตราสูงสุดแล้ว ก็นำเงินจำนวณนั้นล่ะครับ มาซื้อกองทุน SSF หรือ กองทุน RMF ในปีนั้นๆ
ในตัวอย่างของเราที่ยกมา มูลค่าเงินในอัตราภาษีสูงสุดจะตกอยู่ในช่องอัตราภาษี 15% และคิดเป็นจำนวณเงิน 51,000 บาท
ตัวอย่างการซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีด้วยมูลค่าฐานภาษีสูงที่สุด
พอรู้จำนวณเงินที่จะต้องซื้อแล้ว ก็ให้เราไปวางแผนเลือกซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีได้เลยครับ ไม่ว่าจะเป็น กองทุน SSF หรือ RMF ก็แล้วแต่จะเลือกครับ
เราลองมาดูกันครับ ว่าถ้าเราซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีด้วยจำนวณเงินที่เราเลือกมาในตัวอย่าง เราจะสามารถประหยัดภาษีไปได้เท่าไหร่
ลองดูในรูปจะเห็นว่า เราทำการซื้อกองทุน SSF หรือ RMF ไปเป็นจำนวณ 51,000 บาท
เงินได้สุทธิสำหรับคำนวณภาษีของเราจะลดลงเหลือ 500,000 บาทเท่านั้น นั่นทำให้เราเสียภาษีน้อยลงโดยอัตโนมัตินั่นเองครับ
ตัวอย่างภาษีที่ลดลงเมื่อซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี
ดูในตารางด้านบนจะเห็นว่า เราเหลือมูลค่าภาษีที่ต้องจ่ายเพียงแค่ 27,500 บาท (จากเดิม 35,150 บาท) ประหยัดไปได้ถึง 7,650 บาท
และนอกจากจะประหยัดภาษีแล้ว เงิน 51,000 บาทที่เรานำไปลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษี ก็ยังจะสะสมและสร้างผลตอบแทนให้เราไปเรื่อยๆ ได้ประโยชน์ 2 ต่อครับ
ซื้อตามมูลค่าฐานภาษีสูงสุด+ส่วนเพิ่ม
ถ้าหากใครที่เห็นว่าการซื้อ SSF หรือ RMF ด้วยมูลค่าตามฐานภาษีสูงสุดยังลดภาษีได้ไม่พอ ก็สามารถลดฐานภาษีลงได้อีกครับ
วิธีการก็คือ
- ให้เราดูมูลค่าภาษีจากฐานภาษีสูงสุด(เหมือนในวิธีแรก)ยึดเป็นมูลค่าพื้นฐานที่ต้องซื้อ
- เพิ่มเงินซื้อกองทุนเข้าไปอีกตามกำลังที่จ่ายไหว เพื่อประหยัดภาษีเพิ่มขึ้น
ลองมาดูกันครับว่า ถ้าเราเพิ่มเงินเข้าไปในกองทุนลดหย่อนภาษีจากวิธีแรก เราจะประหยัดภาษีได้อีกมากน้อยเท่าไหร่
ในกรณีนี้ เราจะแบ่งเงินมาซื้อกองทุน SSF หรือ RMF เดือนละ 5,000 บาทเป็นประจำทุกเดือน
แบ่งเงินมาซื้อกองทุนรวมเดือนละ 5,000 บาท(ปีละ 60,000)
นั่นแปลว่าในปีนั้นทั้งปีเราจะลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีเป็นมูลค่า 60,000 บาท (จากเดิม 51,000) บาท เพิ่มมาอีก 9,000 บาท
จากในตารางนี้ จะเห็นว่าเมื่อเรานำเงินไปลงทุนในกองทุน SSF หรือ RMF เพิ่มขึ้น เราจะเสียภาษีน้อยลงไปอีก เหลือเพียงแค่ 26,600 บาท/ปี
และก็เหมือนเดิมครับ เงิน 60,000 บาทในปีนั้นทั้งปีที่เราออมเข้าไปในกองทุนรวม ก็จะสร้างผลตอบแทนให้เราไปเรื่อยๆ ไม่เสียเปล่าครับ
ซื้อด้วยมูลค่าสูงสุดตามสิทธิ
สำหรับวิธีสุดท้ายนี้ เป็นการซื้อกองทุน SSF และ RMF ให้ได้มากที่สุดตามสิทธิที่แต่ละคนมี เพื่อการประหยัดภาษีสุงสุด
ซึ่งก็แน่นอนว่าจะช่วยลดเงินภาษีที่จะต้องจ่ายในแต่ละปีลงไปได้ไม่น้อย และช่วยให้เพิ่มเงินออมได้เยอะขึ้นและสร้างผลตอบแทนมากขึ้น
แต่ที่สำคัญคือ หากใครจะเลือกซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีด้วยวิธีนี้ก็จะต้องระวัง อย่าให้ตัวเองเผลอซื้อกองทุนเกินสิทธ์ที่มี
ถ้าไม่งั้น แทนที่จะได้ประหยัดภาษีอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย จะกลายเป็นว่าเราจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นและอาจมีความยุ่งยากในการแสดงภาษีย้อนหลัง
หากใครที่อยากจะซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีแบบนี้แต่ยังไม่มั่นใจในเรื่องเงื่อนไข ลองกลับไปทบทวนเงื่อนไขและสิทธิ์และข้อจำกัดต่างๆด้านบนอีกทีครับ
มาถึงตอนนี้ เราก็น่าจะพอรู้แล้วใช่มั้ยครับว่าปีนี้เราควรจะซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีตัวไหน และเป็นมูลค่าเท่าไหร่ดี
ขั้นตอนต่อไป เราก็จะเริ่มหยิบกองทุนที่เราสนใจมาเลือกซื้อ เลือกพิจารณาก่อนตัดสินใจ มาดูกันครับว่า ก่อนจะตัดสินใจซื้อกองทุน SSF หรือ RMF เราควรต้องรู้อะไรบ้าง
3.กองทุน SSF/RMF ตัวไหนดี จะซื้อต้องรู้อะไรบ้าง?
หลังจากที่รู้แล้วว่าควรจะซื้อ SSF หรือ RMF หรือจะซื้อทั้งคู่ และรู้แล้วว่าซื้อเท่าไหร่ดี ก็เลือกซื้อได้เลยครับ
คำถามต่อไปก็คือ เราจะซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีตัวไหนดีล่ะ? เราจะต้องรู้อะไรบ้างก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อกองทุน SSF หรือ RMF กองไหนซักกอง
นี่คือ 5 สิ่งที่คุณต้องรู้ก่อนตัดสินใจซื้อกองทุนรวมประหยัดภาษีครับ
1.รู้เงื่อนไขการลงทุนใน SSFและRMF
แน่นอนว่า จุดประสงค์หลักของการซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี ก็เพื่อจะประหยัดภาษีให้จ่ายน้อยลงในแต่ละปี หลายๆคนจึงหันมาใช้การซื้อกองทุน SSF หรือ RMF
แต่แน่นอนครับว่ามันก็มีกติกาอยู่เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าจะซื้อเท่าไหร่ก็ได้ ขายเมื่อไหร่ก็ได้ อย่างที่ได้เชียนไปในตอนต้นว่าแต่ละอย่างมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง
เช่น กองทุน SSF ซื้อแล้วต้องถือหน่วยลงทุนไว้เป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี แล้วถึงจะขายออกไปได้ โดยจะนับเป็นวันชนวัน หรือบางคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า First In, First out (FIFO)
ตัวอย่างการนับปีแบบวันชนวัน SSF,RMF
- สมมุติเราซื้อกองทุน SSF ล็อตที่ 1 ในวันที่ 1 ม.ค. 2564 เราจะขายกองทุน SSF ล็อตนี้ออกได้หลังจากวันที่ 1 ม.ค. 2574 ถึงจะไม่ผิดเงื่อนไข SSF
- ต่อมา เราซื้อกองทุน SSF ล็อตที่ 2 ในวันที่ 13 ก.พ. 2564 เราจะขายกองทุน SSF ล็อตนี้ออกได้หลังจากวันที่ 13 ก.พ. 2574 ถึงจะไม่ผิดเงื่อนไข SSF
ส่วนการนับจำนวณปีของกองทุน RMF ก็นับแบบวันชนวันเหมือนกันครับ เพียงแต่จะต้องถือครองหน่วยลงทุนไว้เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี และ RMF จะขายได้ก็ต่อเมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปเท่านั้น
หากเราไม่ศึกษาเงื่อนไขการลงทุนใน SSF หรือ RMF ให้เข้าใจซะก่อน แทนที่จะซื้อแล้วช่วยออมช่วยประหยัดภาษี เราอาจจะต้องเสียภาษีเพิ่มก็ได้นะครับ
หากเราไม่ศึกษาเงื่อนไขการลงทุนใน SSF หรือ RMF ให้เข้าใจซะก่อน แทนที่จะซื้อแล้วช่วยออมช่วยประหยัดภาษี เราอาจจะต้องเสียภาษีเพิ่มก็ได้นะครับ
2.รู้จำนวณเงินที่สามารถซื้อSSFและRMF ได้ไม่เกินสิทธิ์
การซื้อกองทุน SSF และ RMF นั้น มีเงื่อนไขอยู่ ว่าแต่ละคนสามารถซื้อได้ไม่เกินมูลค่าเท่าไหร่
สำหรับกองทุน SSF เราสามารถซื้อได้ไม่เกิน 200,000 บาท และไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิณในปีนั้นๆ และไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี
ส่วนกองทุน RMF เราสามารถซื้อได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิณในแต่ละปี ไม่ได้ระบุมูลค่าสูงสุดไว้ และต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี โดยในปีที่ไม่มีรายได้สามารถงดเว้นได้ไม่เกิน 1 ปี
แต่เช่นเดียวกันกับ SSF คือ มูลค่ากองทุน RMF รวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆแล้ว จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท
3.รู้นโยบายการลงทุนและผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุน
นอกจากสิทธิประโยชน์ในเรื่องของการลดหย่อนภาษีของกองทุน SSF และ RMF แล้ว ประโยชน์อีกอย่างนึงของการลงทุนก็คือ “ผลตอบแทน” นั่นเองครับ
อันนี้ถือเป็นข้อดีมากๆสำหรับการลงทุนระยะยาว เพราะจะทำให้เงินของท่านงอกเงยขึ้นมาในแบบ Passive income โดยที่เราแทบจะไม่ต้องทำอะไร มันคือการให้เงินทำงานนี่เอง
แต่ถ้าเราอยากให้เงินทำงานให้เรา เราจะนำเงินของเราไปวางให้ถูกที่ เพื่อที่จะสามารถใช้ประโยชน์จากการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีการก็คือเราต้องเลือกกองทุนให้ถูกนั่นเอง โดยที่เราควรจะรู้ก่อนว่าแผนการลงทุนของเราเป็นแบบไหน อยากจะได้ผลตอบแทนเท่าไหร่ในช่วงเวลาที่เรานำเงินไปลงทุน
วิธีง่ายๆก็คือเราต้องศึกษานโยบายการลงทุนของกองทุนที่เราสนใจจะซื้อนั่นเองครับ
นโยบายการลงทุนของกองทุนที่เราสนใจ จะบอกเราว่า เค้าลงทุนในสินทรัพย์ประเภทไหน ผลตอบแทนเป็นยังไง แนวโน้มเป็นยังไง และมีความเสี่ยงระดับไหน
คำถามก็คือ แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าเรารู้จักนโยบายการลงทุนของกองทุนนั้นๆดีพอแล้ว?
มีตัวชี้วัดเบื้องต้นง่ายๆครับ ให้ดูว่าเราสามารถตอบคำถามต่อไปนี้กับตัวเองได้มั้ย
หัวข้อเหล่านี้เป็นแค่หลักเบื้องต้นที่เราควรรู้เกี่ยวกับกองทุนที่เราสนใจนะครับ หากอยากจะลงทุนให้ประสบความสำเร็จ
แน่นอนว่าการหาข้อมูลที่ควรรู้เพิ่มเติมเป็นสิ่งที่จำเป็น เช่น ค่า NAV กองทุน,วิธีการเลือกกองทุนรวม และอื่นๆ
4.รู้ผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุนรวม
อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยก็คือผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุน SSF และ RMF ที่เราสนใจครับ
เราควรจะดูผลตอบแทนย้อนหลังไปในระยะเวลา 3-5 ปี แล้วนำมาเปรียบเทียบกับดัชนีต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่นการเติบโตขอตลาดหลักทรัพย์ หรือการเติบโตในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
และเปรียบเทียบเพิ่มเติมกับกองทุน SSF หรือ RMF อื่นๆที่มีนโยบายการลงทุนแบบเดียวกัน หรือคล้ายกัน
เมื่อเปรียบเทีบแล้วก็จะพอบอกได้ว่า กองทุนรวม SSF หรือ RMF ตัวนั้นน่าสนใจหรือไม่
ตัวเลขย้อนหลังเหล่านี้ แม้จะไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลตอบแทนในอนาคต แต่ก็เป็นการสะท้อนผลงานที่ผ่านมาของกองทุนกองนั้นๆ พอที่จะใช้ประกอบการตัดสินใจได้
และแน่นอนว่า ถ้าเป็นไปได้ เราก็ควรจะต้องเลือกลงทุนในกองทุนที่มีผลตอบแทนย้อนหลังที่ดี และควรจะเป็นกองทุนที่มีผลตอบแทนดีอย่างสม่ำเสมอ
ยกเว้นแต่ว่าคุณจะมีความรู้ความชำนาญในเรื่องเศรษฐกิจและการลงทุนมากพอที่จะมองและคาดการณ์สถานการณ์และแนวโน้มได้ และเลือกหยิบกองทุนที่ยังมีผลงานไม่ดีและมีราคาถูกมาเพื่อทำกำไรในอนาคต
5.รู้จักค่าธรรมเนียมกองทุน
ขึ้นชื่อว่าการลงทุน มีผลตอบแทน ก็ย่อมจะต้องมีต้นทุนอะไรบางอย่างถูกมั้ยครับ
ซึ่งต้นทุนอย่างหนึ่งของการลงทุนในกองทุนรวมก็คือ ค่าธรรมเนียมกองทุน นั่นเอง มันดูเหมือนจะเป็นค่าใช้จ่ายเล็กน้อย แต่ก็เป็นต้นทุนอย่างหนึ่งของการลงทุนรูปแบบนี้
ตัวเลขค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมที่จะมีการเรียกเก็บ เราสามารถหาดูได้จาก Fund Fact Sheet ซึ่งเป็นเอกสารที่ทุกกองทุนจะต้องมีให้นักลงทุนศึกษาทำความเข้าใจอยู่แล้วครับ
ตัวอย่างค่าธรรมเนียมกองทุนรวม SSF และ RMF ที่เราควรจะรู้เพื่อเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจซื้อกองทุนก็คือ
- ค่าธรรมเนียมการขาย
- ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน
- ค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยน
- ค่าธรรมเนียมการจัดการ
เมื่อเราหาข้อมูลค่าธรรมเนียมกองทุนเหล่านี้ได้แล้วก็ให้นำมาเปรียบเทียบกันครับ
การเลือกค่าธรรมเนียมกองทุนในเบื้องต้นก็คือเราควรจะเลือกเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนคล้ายกัน
เมื่อเปรียบเทียบและเห็นความต่างแล้วก็ควรเลือกกองทุนที่มีค่าธรรมเนียมเหมาะสมและไม่มากเกินไปเมื่อเทียบกับกองอื่นๆ
แน่นอนว่าค่าธรรมเนียมกองทุนรวมมีผลต่อตัวเลขกำไร/ขาดทุน ของเราแน่นอน ยิ่งเป็นการลงทุนแบบระยะยาวด้วยแล้ว ในระหว่างทางเราอาจจะต้องมีการใช้บริการ ซื้อขาย,สับเปลี่ยน และเสียค่าบริการต่างๆแน่นอน
6.ศึกษานโยบายจ่ายเงินปันผล
สำหรับใครที่มีเป้าหมายว่าระหว่างลงทุนในกองทุนรวมก็ต้องการรายได้ที่เป็นกระแสเงินสดไปด้วย ก็คงต้องศึกษานโยบายปันผลของกองทุน SSF นั้นๆให้ดีครับ (RMF ไม่มีปันผล)
อย่างที่ได้เขียนไปในหัวข้อก่อนหน้านี้ว่าการรับเงินปันผลจากกองทุน SSF นั้นจะต้องมีการเสียภาษีด้วย และมีให้เลือก 2 แบบ ผู้ลงทุนก็ควรจะศึกษาและเลือกแบบที่เหมาะกับตัวเอง
และการที่กองทุน SSF บางกองทุนมีนโยบายจ่ายเงินปันผล ก็ไม่ได้เป็นเครื่องการันตีว่านักลงทุนจะได้รับเงินปันผลเป็นประจำทุกปีครับ หากปีไหนกองทุนขาดทุนก็อาจจะไม่มีการปันผล
4.เปิดบัญชีและเริ่มลงทุน
หลังจากที่เรารู้จักกองทุนลดหย่อนภาษีกันมาเป็นอย่างดีแล้ว และรู้ว่าจะซื้อตัวไหนแล้วด้วย ถึงเวลาที่จะต้องลองของจริงกันแล้วครับ
ทุกๆคนสามารถเปิดบัญชีกองทุนรวมได้อย่างสะดวกสบายหลายข่องทาง ทั้งที่สาขาธนาคาร,บลจ.,หรือทำออนไลน์ก็ยังได้
คำถามต่อไปก็คือ จะซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีเหล่านี้ ทั้ง SSF และ RMF ตอนไหนของปีดี?
จริงๆแล้วเราสามารถซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีเหล่านี้ได้ตลอดเวลาทั้งปีอยู่แล้วครับ ขึ้นอยู่กับว่าใครจะสะดวกตอนไหน และใครจะซื้อด้วยวิธีอะไรมากกว่า
แต่แน่นอนว่าหากใครสามารถมีโอกาสซื้อหน่วยลงทุนในช่วงที่ตลาดเป็นขาลง และมีราคาถูกได้ก็จะเป็นการดีครับ
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถมานั่งเฝ้าตลาดหรือวิเคราะห์จุดต่ำสุดแล้วค่อยเข้าซื้อได้ และมันก็ไม่ได้จำเป็นว่าเราจะต้องรอซื้อเมื่อราคาต่ำที่สุดเท่านั้นถึงจะประสบความสำเร็จในการลงทุน
ซึ่งโดยทั่วไปแล้วก็มีวิธีการลงทุนแบบที่อาศัยความรู้,วินัย และความสม่ำเสมอ ที่ทำให้ผู้ลงทุนไม่ต้องมาคอยนั่งเฝ้าตลาดก็สามารถประสบความสำเร็จในการลงทุนระยะยาวได้
วิธีหลักๆที่นักลงทุนใช้กันอยู่ก็จะมี 2 วิธีครับ คือ
ซึ่งทั้ง 2 วิธีนี้ก็มีความเหมาะสม มีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไปแล้วแต่นักลงทุนจะเลือกว่าวิธีไหนเหมาะกับตัวเอง
1.ซื้อกองทุนด้วยวิธีแบบ DCA
การซื้อกองทุนด้วยวิธี DCA (หรือ Dollar Cost Average) เป็นการลงทุนด้วยการซื้อหน่วยลงทุนด้วยจำนวนเงินเท่าๆกันในช่วงเวลาที่กำหนด (เช่นลงทุนทุกเดือน) เป็นประจำ
สำหรับคนทำงานทั่วๆไป เมื่อได้รับเงินเดือนทุกๆสิ้นเดือนแล้วก็อาจจะแบ่งเงินส่วนหนึ่งไปลงทุนในกองทุนรวม หรือกองทุนลดหย่อนภาษี
แต่อย่างไรก็ตาม นอกจากวินัยการลงทุนที่ดีแล้ว ก็ต้องระวังเรื่องเงื่อนไขและข้อจำกัดต่างๆด้วยครับ ถ้าซื้อเกินกว่าสิทธิ์อาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม
ข้อดีของการลงทุนแบบ DCA นี้นอกจากจะไม่ต้องใช้เงินก้อนใหญ่ๆลงทุนทีเดียวแล้ว ยังช่วยเปิดโอกาสให้นักลงทุนมีโอกาสซื้อหน่วยลงทุนด้วยต้นทุนเฉลี่ย
และด้วยความที่เป็นต้นทุนเฉลี่ยก็จะทำให้ผลขาดทุนกำไรไม่แกว่งตามสภาวะตลาดมากนัก และสามารถทำกำไรในระยะยาวได้ค่อนข้างแน่นอน
การลงทุนด้วยวิธี DCA เป็นวิธีที่ง่าย เหมาะกับมือใหม่ที่ไม่ได้มีเงินก้อนพร้อมที่จะนำไปลงทุนทีเดียวเป็นมูลค่าเยอะๆ ไม่มีเวลามานั่งเฝ้าตลาดเพราะต้องทำงานประจำไป และยังสามารถทำกำไรในระยะยาวพร้อมทั้งช่วยป้องกันความเสี่ยงได้ระดับนึงอีกด้วยครับ
2.ซื้อกองทุนด้วยเงินก้อน(Lump sum/Market Timing)
วิธีนี้ค่อนข้างจะเหมาะกับนักลงทุนที่มีประสบการณ์การลงทุน มีความเชี่ยวชาญระดับหนึ่ง เพราะจะต้องเป็นคนที่กะจังหวะตลาดได้
ซึ่งการจะกะจังหวะว่าเราทุ่มเงินจะเข้าซื้อหน่วยลงทุนเมื่อไหร่ ก็จะต้องอาศัยความรู้ความสามารถทางด้านเทคนิคการลงทุน
นอกจากความสามารถทางเทคนิคแล้ว คนที่จะลงทุนด้วยวิธีแบบนี้ก็ยังจะต้องติดตามสภาวะเศรษฐกิจและ ข่าวสารต่างๆที่มีผลต่อตลาดอีกด้วย
แน่นอนว่าการลงทุนแบบนี้ ผู้ลงทุนจะต้องมีเงินก้อน และสามารถรอเวลาเหมาะสมที่จะเข้าซื้อได้
เพราะฉะนั้นวิธีการลงทุนแบบ Market Timing ก็คงจะไม่เหมาะกับนักลงทุนมือใหม่และไม่ได้มีเงินก้อนซักเท่าไหร่ครับ
การซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี ไม่ว่าจะเป็นกองทุน SSF หรือกองทุน RMF เป็นทางเลือกนึงของการลงทุนที่น่าสนใจพอสมควรครับ เนื่องจากเป็นการลงทุนที่มีความเสียงไม่สูงนัก
การลงทุนในรูปแบบนี้อาจจะไม่ได้หวือหวาเหมือนหุ้น หรือ Cryptocurrency แต่ก็สามารถสร้างผลตอบแทนให้นักลงทุนได้ดีทีเดียวในระยะยาว
แต่อย่างไรก็ตามนักลงทุนควรจะเข้าใจความเสี่ยงและมีความรู้ความเข้าใจในทรัพย์สินที่จะลงทุน ก็จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายการลงทุนและอิสรภาพทางการเงินได้ไม่ยากครับ
[Update] ลดหย่อนภาษี 2563 เพื่อยื่นภาษี 2564 มีอะไรลดหย่อนได้บ้าง | ลดหย่อน ภาษี คือ – Sonduongpaper
What is your feedback about?
Required
Please tell us how we can improve
Required
E-mail address – optional
Optional, only if you want us to follow up with you.
5 เทคนิคการลดหย่อนภาษีอย่างชาญฉลาด | EP.6 | เงินทองต้องจัดการ
ถึงเวลาต้องยื่นแบบแสดงภาษีเงินได้ประจำปีแล้ว ปีนี้สามารถยื่นได้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 รายการเงินทองต้องจัดการ มีเทคนิคการลดหย่อนภาษีมาฝาก ซึ่งไม่ได้มีแค่การหักค่าลดหย่อนเท่านั้น แต่ยังมีเทคนิคอื่น ๆ เคล็ดลับต่าง ๆ ที่จะทำให้สามารถประหยัดภาษีได้มากกว่าเดิม โดยที่คุณอาจจะยังไม่รู้มาก่อน
เงินทองต้องจัดการ วางแผนการเงิน MahidolChannel
ติดตามชม \”เงินทองต้องจัดการ\”
รายการที่จะช่วยบริหารการเงินส่วนบุคคลให้อยู่หมัด
ในฉบับ \”มนุษย์เงินเดือน\” ทาง Mahidol Channel
––––––––––––––––––––
ช่อง YouTube | Mahidol Channel : http://www.youtube.com/mahidolchannel
Facebook | http://www.facebook.com/mahidolchannel
Mahidol University มหาวิทยาลัยมหิดล | https://www.mahidol.ac.th/th
Website | https://channel.mahidol.ac.th/
วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล | https://www.cm.mahidol.ac.th/cmmu/
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่
รายได้เท่าไหร่ถึงเริ่มเสียภาษี | KTAM TV ONLINE
ติดต่อได้ที่
○ ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา
○ ผู้สนับสนุนการขายทั่วประเทศ
○ บลจ.กรุงไทย(cellphone)026866100 กด 9
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า
เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน
กองทุน SSF พิเศษคืออะไร? ลดหย่อนภาษีได้เท่าไร? #beartai มีคำตอบ!
วันนี้ beartai จะแนะนำให้รู้จักกับ “กองทุน SSF พิเศษ” ที่ให้คุณนำเงินลงทุนไปลดหย่อนภาษี แถมซื้อกองทุนได้ง่าย ๆ ผ่านสมาร์ตโฟน อยู่บ้านก็ทำได้ แต่ทำยังไงดูคลิปนี้ให้จบครับ!
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SCB EASY ได้แล้ววันนี้
iOS : https://apps.apple.com/th/app/scbeasy/id568388474
Android : https://play.google.com/store/apps/details?id=com.scb.phone\u0026hl=th
ศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/37wZguz
โทร. 02 777 7777
================\r
ติดต่องานโฆษณา หรือ Production ได้ที่ \r
🔔[email protected] \r
📱 To. 0858482253\r
\r
ติดตามข่าวสารด้านไอที และไลฟ์สไตล์โดน ๆ ได้ที่\r
Facebook: https://facebook.com/beartai\r
Twitter: https://twitter.com/@beartai\r
Instagram: https://www.instagram.com/beartaihitech\r
Website: https://www.beartai.com\r
YouTube: https://www.youtube.com/beartaihitech
วิธีการขอลดหย่อนภาษี 2564 | NewbTalk EP.51
การลดหย่อนภาษี ลดหย่อนภาษี ขอลดหย่อนภาษี วิธีลดหย่อนภาษี ลดหย่อนภาษี2564
ยื่นภาษีออนไลน์ ขยายเวลาถึง 30 มิ.ย.
การลดหย่อนภาษีเนี่ยคืออะไร?
มันคือสิทธิประโยชน์อย่างหนึ่งที่ทำให้เราเสียภาษีน้อยลง และได้เงินภาษีคืน แต่ถ้าใครมีรายได้ไม่ถึง 310,000 ต่อปี ก็ไม่ต้องเสียภาษี
วิธีลดหย่อนภาษีสำหรับส่วนตัวและครอบครัว นาทีที่ 01:20
• ลดหย่อนภาษีส่วนบุคคลหรือส่วนตัว โดยการยื่นแบบ ภ.ง.ด 94 (60,000 บาท)
• ลดหย่อนภาษีคู่สมรส แต่จะต้องมีทะเบียนสมรส (30,000 บาท)
• ลดหย่อนบุตร (30,000 บาท/คน โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร)
• ลดหย่อนค่าคลอดบุตร (ท้องละ 60,000 บาท)
• ลดหย่อนค่าบิดาและมารดา (คนละ 30,000 บาท)
• ลดหย่อนค่าผู้ที่อุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพพลภาพ (คนละ 60,000 บาท)
วิธีลดหย่อนภาษีสำหรับการเกษียณอายุ นาทีที่ 01:43
• กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กบข. / กองทุนสงเคราะห์สำหรับครูโรงเรียนเอกชน (15% ของรายได้ทั้งหมด และรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท)
• กองทุนการออมแห่งชาติ กอช. (ไม่เกิน 13,200 บาท/ปี)
• กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF (30% ของรายได้ทั้งหมด)
• กองทุนรวมเพื่อการออม SSF (30% ของรายได้ทั้งหมด)
• กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ SSSF (ซื้อได้สูงสุด 200,000 บาท โดยไม่รวมกับกลุ่มการออมที่เกษียณ)
• เงินประกันสังคม (5,850 บาท)
วิธีลดหย่อนภาษีสำหรับเงินค่าประกัน นาทีที่ 02:18
• ประกันชีวิตทั่วไปและประกันสะสมทรัพย์ (สูงสุด 100,000 บาท)
• ประกันสุขภาพตัวเอง (สูงสุด 25,000 บาท แต่จะต้องรวมกับประกันชีวิตทั่วไปไม่เกิน 100,000 บาท)
• ประกันสุขภาพบิดาและมารดา (สูงสุด 15,000 บาท)
• ประกันชีวิตแบบบำนาญ (สูงสุด 200,000 บาท และจะต้องไม่เกิน 15% ของรายได้)
วิธีลดหย่อนภาษีสำหรับอสังหาริมทรัพย์ นาทีที่ 02:40
• ดอกเบี้ยจากเงินกู้ เพื่อสำหรับการผ่อนหรือการเช่าที่พักอาศัย ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือคอนโดต่าง ๆ โดยที่ธนาคารจะมีใบสรุปดอกเบี้ยนี้และส่งมาให้ผู้กู้ยืมทุกปี (สูงสุด 100,000 บาท)
วิธีลดหย่อนภาษีสำหรับเงินบริจาค นาทีที่ 02:54
• เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม หรือโรงพยาบาลรัฐ (10% ของรายได้หลังหักค่าลดหย่อนแล้ว)
• เงินบริจาคทั่วไป (10% ของรายได้หลังหักค่าลดหย่อนแล้ว)
• เงินบริจาคพรรคการเมือง (สูงสุด 10,000 บาท)
ลดหย่อนภาษีสำหรับมาตรการรัฐ นาทีที่ 03:10
อย่างเช่นมาตรการ “ช้อปดีมีคืน” เป็นนโยบายของภาครัฐเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศและเป็นหนึ่งในวิธีลดหย่อนภาษี
ขั้นตอนการขอลดหย่อนภาษี 03:36
การลดหย่อนภาษี ลดหย่อนภาษี ขอลดหย่อนภาษี วิธีลดหย่อนภาษี ลดหย่อนภาษี2564
ติดตาม CondoNewb ได้ที่นี่ 👇
Website : https://www.condonewb.com/
Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCj0d…
Instagram : https://www.instagram.com/condonewb/
Twitter : https://twitter.com/condonewb
FB Group : https://www.facebook.com/groups/955096571505572/
สิ่งที่คุณควรรู้ในการ #วางแผนภาษี ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ #SSFX #SSF และ #RMF
ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ SSFX หรือ SSF หรือ RMF สิ่งที่เราควรเข้าใจ คือ หลักการวางแผนและจัดการ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ถูกต้อง เพื่อให้เราสามารถ วางแผนภาษี และ ลดหย่อนภาษี ได้อย่างคุ้มค่าที่สุด
พรี่หนอม @TAXBugnoms ทำคลิปพร้อมตัวอย่างในการคำนวณภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา เพื่อให้เข้าใจหลักการคำนวณภาษีที่ถูกต้อง รวมถึงหลักการบริการจัดการเงินสดของบุคคลธรรมดา รวมถึงการจัดการเป้าหมายการเงินของตัวเองด้วยครับผม
บทความแนะนำให้อ่านเพิ่มเติม
https://taxbugnoms.co/ssforssfx/
https://taxbugnoms.co/taxallowance2563/
กด Subscribed เป็นกำลังใจให้กันด้วยนะจ๊ะ
ติดตามช่องทางอืนๆของพรี่หนอมได้ที่
FB : http://www.FB.com/TAXBugnoms
Twitter : https://twitter.com/TAXBugnoms
Podcast : http://taxbugnoms.podbean.com/
Website : https://taxbugnoms.co/
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่Wiki
ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ ลดหย่อน ภาษี คือ