อาการ โควิด 19: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
- โรคโควิด-19 เป็นโรคติดเชื้อไวรัสผ่านทางละอองฝอยจากระบบทางเดินหายใจ และจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู่ป่วย เช่น น้ำลาย น้ำมูก เสมหะ
- เชื้อ COVID-19 มีหลากหลายสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variants of Concerns) หรือสายพันธุ์ที่เชื้อไวรัสได้กลายพันธุ์เพื่อให้แพร่กระจายได้มากและง่ายกว่าเดิม และหลีกเลี่ยงภูมิคุ้มกันในร่างกายได้ดีขึ้น มีอยู่ทั้งหมด 4 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์อัลฟ่า (B.1.1.7) สายพันธุ์เดลต้า (B.1.617.2) สายพันธุ์เบต้า (B.1.351) และสายพันธุ์แกมม่า (P.1)
- ในการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ยังไม่มียาสำหรับรักษาโรคโดยเฉพาะ แต่เป็นการรักษาตามอาการ เช่น ใช้ยาพาราเซตามอลในการลดอาการไข้ หรือใช้ยา Favipiravir ในการยับยั้งการจำลองสารพันธุกรรมของไวรัส เป็นต้น
Table of Contents
โรคโควิด-19 คืออะไร?
รู้จักกับไวรัสโคโรนา
ทำไมเชื้อ COVID-19 จึงมีหลายสายพันธุ์?
สาเหตุของโรคโควิด-19
การตรวจหาเชื้อ COVID-19
อาการของโรคโควิด 19
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
การรักษาโรคโควิด-19
ยารักษาโรคโควิด-19
การปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคโควิด 19
การป้องกันโรคโควิด-19
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคโควิด 19
โรคโควิด-19 คืออะไร?
โรคโควิด-19 (COVID-19) หรือ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็นโรคที่เริ่มระบาดในช่วงเดือนธันวาคมปี 2019 โดยเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า SARS-CoV-2 ซึ่งมีต้นตอการพบเชื้อครั้งแรกที่ตลาดอาหารทะเลในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน และแพร่ระบาดสู่ประเทศอื่นๆ อย่างรวดเร็ว จนกระทั่งมีการพบผู้ติดเชื้อในเกือบทุกประเทศทั่วโลก
ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนามากกว่า 199 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 4 ล้านคน จาก 220 ประเทศ นับเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดการระบาดครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของโลก
รู้จักกับไวรัสโคโรนา
ไวรัสโคโรนา (Coronaviruses หรือ CoVs) คือตระกูลหนึ่งของไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร ลักษณะเด่นของไวรัสตระกูลนี้คือ เป็นไวรัสที่มีสารพันธุกรรมชนิด RNA มีเปลือกหุ้มด้านนอกที่ประกอบด้วยโปรตีน และล้อมรอบด้วยปุ่มหนามที่เกิดจากกลุ่มคาร์โบไฮเดรต ดูคล้าย ‘มงกุฎ’ จึงถูกตั้งชื่อว่า Coronavirus
โดยมากแล้วมักพบการติดเชื้อไวรัสโคโรนาในสัตว์ แต่ก็มีไวรัสโคโรนาที่พบการติดเชื้อและก่อโรคในมนุษย์ (Human coronaviruses) อยู่มากกว่า 30 สายพันธุ์ด้วยกัน ซึ่งสามารถแบ่งออกคร่าวๆ ได้ 2 กลุ่ม ดังนี้
1. สายพันธุ์ที่ก่อโรคไม่รุนแรง
เช่น HCoV-229E, HCoV-OC43, HCoV-NL63, และ HCoV-HKU1
เป็น 4 สายพันธุ์หลักที่มักก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจที่ไม่รุนแรง มักเป็นเพียงไข้หวัดทั่วไป (Common Cold) โดยมีการพบว่าไวรัส 4 สายพันธุ์นี้เป็นสาเหตุให้เกิดไข้หวัดราว 30% ของผู้ป่วยทั้งหมด
และถึงแม้จะพบได้น้อย แต่ไวรัส 4 สายพันธุ์ดังกล่าวอาจก่อโรคในระบบทางเดินหายใจส่วนบนที่มีอาการรุนแรงได้เช่นกัน เช่น ปอดอักเสบ (Pneumonia) และโรคหลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis) โดยมักพบการติดเชื้ออื่นๆ ในระบบทางเดินหายใจร่วมด้วย รวมถึงอาจก่อให้เกิดอาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง นอกจากนี้ ไวรัส HCoV-OC43 ยังอาจกลายพันธุ์จนทำให้เกิดการติดเชื้อในสมองได้อีกด้วย
2. สายพันธุ์ที่ก่อโรครุนแรง
ตัวอย่างเชื้อไวรัส เช่น
- SARS-CoV ทำให้เกิดโรคซาร์ส หรือโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง ซึ่งเคยระบาดในประเทศจีนและฮ่องกง ช่วงปี 2002-2003
- MERS-CoV ทำให้เกิดโรคโรคเมอร์ส หรือโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง ซึ่งพบการระบาดมากในช่วงปี 2012-2013
- SARS-CoV-2 เป็นสายพันธุ์ล่าสุดที่เพิ่งค้นพบในปี 2019 และทำให้เกิดโรคโควิด-19
ทำไมเชื้อ COVID-19 จึงมีหลายสายพันธุ์?
เช่นเดียวไวรัสชนิดอื่นๆ ไวรัส SARS-CoV-2 นั้นสามารถแพร่พันธุ์ได้ด้วยการถ่ายทอดสารพันธุกรรมของตัวเองจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง โดยขั้นตอนการถ่ายทอดพันธุกรรมนี้ อาจเกิดข้อผิดพลาด (Copying Errors) ขึ้น และทำให้เกิดการกลายพันธุ์ (Genetic Mutation)
การกลายพันธุ์ไม่ได้ทำให้เชื้อไวรัสพัฒนาเป็นเชื้อที่รุนแรงขึ้นเสมอไป บางครั้งไวรัสอาจกลายพันธุ์และหายไปเอง แต่หากไวรัสที่กลายพันธุ์แล้วยังคงอยู่และได้รับการตรวจพบ ก็จะถูกบันทึกเป็นสายพันธุ์ (Variant) ใหม่ๆ ต่อไป
เมื่อไวรัสสะสมการกลายพันธุ์มากขึ้นเรื่อยๆ การทำงานของไวรัสก็จะแตกต่างไปจากเชื้อดั้งเดิม ทำให้วัคซีนที่เคยใช้รับมือกับเชื้อดั้งเดิมได้อาจมีประสิทธิภาพลดลง รวมถึงองค์ประกอบหรือลักษณะบางอย่างของไวรัสอาจเปลี่ยนแปลงไปจนทำให้สามารถแพร่เชื้อได้ง่ายขึ้นหรือเพิ่มจำนวนได้เร็วขึ้น
ปัจจุบัน ไวรัส SARS-CoV-2 มี Variant ใหม่ๆ ที่ตรวจพบจำนวนมาก แต่ Variant ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดอยู่ในกลุ่ม ‘สายพันธุ์ที่น่ากังวล’ (Variants of Concern; VOC) มีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ด้วยกัน ทั้งนี้ เพื่อลดการกล่าวโทษประเทศที่มีการตรวจพบเชื้อสายพันธุ์ใหม่ WHO จึงเปลี่ยนชื่อสายพันธุ์เหล่านี้เป็นอักษรกรีก ได้แก่
- COVID-19 สายพันธุ์ Alpha (สายพันธุ์อังกฤษ)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ B.1.1.7 ชื่อใหม่คือ สายพันธุ์อัลฟ่า มีคุณสมบัติเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด และแพร่กระจายเชื้อง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น 40-70% พบครั้งแรกที่สหราชอาณาจักร ในเดือนธันวาคม ปี 2020
- COVID-19 สายพันธุ์ Delta (สายพันธุ์อินเดีย)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ B.1.617.2 ชื่อใหม่คือ สายพันธุ์เดลต้า มีคุณสมบัติแพร่เชื้อง่าย ระบาดเร็ว และเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดี พบครั้งแรกในประเทศอินเดีย ในเดือนธันวาคม 2020
- COVID-19 สายพันธุ์ Beta (สายพันธุ์แอฟริกาใต้)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ B.1.351 ชื่อใหม่คือ สายพันธุ์เบต้า มีคุณสมบัติลดประสิทธิภาพแอนติบอดี้ ระบาดเร็วและแพร่เชื้อไวขึ้นประมาณ 50% พบครั้งแรกในประเทศแอฟริกาใต้ ในเดือนธันวาคม ปี 2020
- COVID-19 สายพันธุ์ Gamma (สายพันธุ์บราซิล)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ P.1 ชื่อใหม่คือ สายพันธุ์แกมม่า เป็นสายพันธุ์ที่รุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่น มีคุณสมบัติเลี่ยงภูมิคุ้มกันและลดประสิทธิภาพวัคซีน ตรวจพบจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากประเทศบราซิล ระหว่างการตรวจคัดกรองภายในสนามบินที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อต้นเดือนมกราคม ปี 2021
สาเหตุของโรคโควิด-19
จากการศึกษาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 นักวิจัยพบว่ามีนิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) คล้ายกับเชื้อที่พบจากค้างคาวในประเทศจีน จึงทำให้เกิดการสันนิษฐานว่า ต้นกำเนิดของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 มาจากไวรัสที่พบในค้างคาว และเกิดการกลายพันธุ์จนสามารถแพร่จากสัตว์มาสู่คนได้ จนนำไปสู่การติดเชื้อจากคนสู่คนในที่สุด
เชื้อ COVID-19 สามารถติดต่อได้จากการรับละอองฝอยจากระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย เช่น การไอจามรดกัน รวมถึงการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น การสัมผัสน้ำลาย น้ำมูก เสมหะ สัมผัสเชื้อที่อยู่บนพื้นผิวของสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ และเชื้อในอากาศ ผ่านการรับเชื้อทางตา จมูก ปาก
เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ที่ก่อให้เกิดโรค COVID-19 อาจอยู่บนพื้นผิวต่างๆ ได้ยาวนานตั้งแต่ 2 ชั่วโมงไปจนถึง 9 วัน โดยพบว่าเชื้อจะตายอย่างรวดเร็วเมื่ออยู่ใต้รังสี UV จากแสงแดด ในทางตรงกันข้าม เชื้อจะอยู่บนพื้นผิวหรือในอากาศได้อย่างยาวนานที่อุณหภูมิห้องหรือต่ำกว่า โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity) ต่ำ อย่างไรก็ตาม WHO ยืนยันว่าเชื้อโควิด-19 ยังคงสามารถถ่ายทอดจากคนสู่คนได้ในทุกๆ สภาพอากาศและสภาพแวดล้อม
การตรวจหาเชื้อ COVID-19
วิธีการตรวจเชื้อ COVID-19 ที่ใช้ในปัจจุบันมี 2 ประเภท คือ
- RT-PCR (Reverse Transcriptase Polymerase Chain Reaction)
คือวิธีการตรวจหาเชื้อไวรัสที่ใช้เอนไซม์ Reverse Transcriptase เปลี่ยน RNA ของไวรัส SARS-CoV-2 ให้เป็น DNA จากนั้นจึงใช้เครื่องเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมคัดลอกชิ้นส่วน DNA ของไวรัสให้มีปริมาณมากพอที่จะวิเคราะห์ DNA ได้การตรวจด้วยวิธีการ RT-PCR สามารถตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อได้โดยตรง แม้มีปริมาณเชื้อน้อย หรือติดเชื้อจนเริ่มมีอาการดีขึ้นแล้วก็ยังสามารถตรวจพบซากเชื้อได้ วิธีนี้จึงเป็นวิธีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ เนื่องจากมีความจำเพาะและแม่นยำสูง
- Rapid Test
คือ การตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยใช้ชุดทดสอบที่มีความรวดเร็วในการตรวจวัด ราคาถูกกว่าการตรวจแบบ RT-PCR แต่จะมีความจำเพาะและแม่นยำน้อยกว่า โดยชุดตรวจ Rapid test มี 2 ชนิดคือ- Rapid Antigen Test
เป็นชุดทดสอบสำหรับตรวจหาแอนติเจน (Antigen) ของเชื้อไวรัสในสารคัดหลั่งทางโพรงจมูก เป็นวิธีการที่ทราบผลได้เร็ว แต่มีความแม่นยำและจำเพาะน้อยกว่า RT-PCR วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่เริ่มมีอาการป่วยแต่ยังไม่แน่ใจว่าติดเชื้อ COVID-19 หรือไม่ มักใช้ในการคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้น หากใช้ตรวจในตอนที่เพิ่งได้รับเชื้ออาจจะแสดงผลเป็นลบเนื่องจากยังไม่มีปริมาณเชื้อมากพอ หรือหากเคยติดเชื้อจนภูมิคุ้มกันจัดการเชื้อได้หมดแล้วก็อาจให้ผลเป็นลบเช่นกัน - Rapid Antibody Test
เป็นชุดทดสอบที่ใช้ตรวจเลือดเพื่อหาแอนติบอดี (Antibody หรือ ภูมิคุ้มกัน) ชนิด IgG และ IgM ที่ร่างกายสร้างขึ้นเมื่อได้รับเชื้อ การตรวจวิธีนี้เหมาะกับการตรวจหลังจากได้รับเชื้อมาแล้ว 7 วันขึ้นไป เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่ร่างกายสร้างแอนติบอดีแล้ว ถ้าหากตรวจในช่วง 1-5 วันแรกอาจพบว่ามีผลเป็นลบ
- Rapid Antigen Test
อาการของโรคโควิด 19
เมื่อติดเชื้อโรคโควิด 19 ผู้ติดเชื้ออาจแสดงอาการหรือไม่แสดงอาการเลยก็ได้ และความรุนแรงของอาการที่แสดงก็อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ซึ่งเกี่ยวข้องกับสุขภาพผู้ติดเชื้อก่อนได้รับเชื้อด้วย ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้
ในผู้ป่วยที่แสดงอาการ มักมีอาการที่สังเกตได้ คือ มีไข้ ไอแห้ง เจ็บคอ น้ำมูกไหล หายใจเหนื่อยหอบ ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นอาการเบื้องต้น
ในผู้ป่วยบางรายอาจพบอาการทางระบบทางเดินหายใจที่รุนแรงได้ ได้แก่ ปวดบวม คออักเสบ ไตวาย ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
อาการที่บ่งบอกว่าควรไปพบแพทย์คือ ไข้สูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียส ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลียอย่างมาก ไอถี่ มีเสมหะ หายใจแรงแล้วรู้สึกเจ็บหน้าอก
ทั้งนี้ หากสงสัยว่าตนเองได้รับเชื้อ หรือมีการใกล้ชิดกับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ ควรแยกตัวจากคนอื่นๆ และเริ่มกักตัวเป็นเวลาอย่างน้อย 14 วันทันที โดยสามารถตรวจยืนยันการติดเชื้อด้วยการเข้ารับการตรวจแบบ RT-PCR ที่โรงพยาบาล หรือแล็บเทคนิคการแพทย์อื่นๆ ที่ได้รับการรับรอง หรือตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจ Rapid Antigen Test ที่ได้รับการรับรองจากอย. หากผลเป็นบวก ควรติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที
การรักษาโรคโควิด-19
กรมการแพทย์ได้แบ่งการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ออกเป็น 3 กรณี ตามระดับความรุนแรงของอาการ ดังนี้
ผู้ป่วยสีเขียว
คือผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อแต่ไม่มีอาการใดๆ หรือมีอาการไม่รุนแรง กล่าวคือ มีไข้ ไอ มีน้ำมูก ตาแดง ผื่นขึ้น และไม่มีโรคประจำตัวอื่นๆ ร่วม และภาพถ่ายรังสีปอดปกติ แนะนำให้กักตัวที่บ้าน (Home Isolation) หรือพักที่โรงพยาบาลสนามหรือ Hospitel เป็นเวลา 14 วัน โดยระหว่างนี้อาจจะได้รับยาตามอาการ หรือยา Favipiravir ตามดุลยพินิจของแพทย์
ผู้ป่วยสีเหลือง
ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจเร็ว มีปัจจัยเสี่ยงอาการรุนแรงหรือโรคร่วม เช่น อายุมากกว่า 60 ปี โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคปอดเรื้อรังอื่นๆ ไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจแต่กำเนิด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่คุมไม่ได้ ภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน 90 กิโลกรัม ตับแข็ง ภูมิคุ้มกันต่ำ และเม็ดเลือดขาวน้อยกว่า 1000
ผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วัน แพทย์อาจมีการให้ยา Favipiravir ร่วมกับยา Corticosteroid ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
ผู้ป่วยสีแดง
คือผู้ป่วยที่มีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก เอกซเรย์พบปอดอักเสบรุนแรง มีภาวะปอดบวม ความอิ่มตัวของเลือดน้อยกว่า 96% หรือการลดลงของออกซิเจนมากกว่า 3% หลังออกแรงของค่าที่วัดได้ในครั้งแรกที่ออกแรง ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเท่านั้น
ในผู้ป่วยสีแดง แพทย์จะให้ Favipiravir เป็นเวลา 5-10 วัน โดยอาจให้ร่วมกับ Lopinavir/Ritonavir เป็นเวลา 5-10 วัน ร่วมกับ Corticosteroid
ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจจะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ (High-Flow Nasal Cannula) รวมถึงเครื่องมือเพื่อประคับประคองการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในผู้ป่วยวิกฤติ
ยารักษาโรคโควิด-19
ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษาโควิด-19 ให้หายขาดได้ ตัวยาที่ใช้ในปัจจุบันเป็นยาที่ทดลองใช้กับผู้ป่วย และมีความสามารถในการลดอาการเจ็บป่วยหรือยับยั้งการแพร่กระจายของไวรัสได้ เช่น
- ยา Favipiravir ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่มีคุณสมบัติยับยั้งการจำลองสารพันธุกรรมของไวรัส
- ยาต้านไวรัสเอชไอวี (Darunavir, Lopinavir, Ritonavir)
- ยาในกลุ่ม Corticosteroid (Dexamethasone, Hydrocortisone,
Prednisolone
, Methylprednisolone) - ยารักษาโรคมาลาเรีย (Hydroxychloroquine, Chloroquine)
- ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Azithromycin)
การปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคโควิด 19
- กักตัวตามมาตรการรัฐเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น
- เตรียมเอกสารสำคัญเช่น บัตรประชาชน เอกสารยืนยันผลตรวจโควิด 19
- โทรแจ้งเรื่องที่เบอร์ 1330, 1668,1669 เพื่อเข้ารับการรักษาและชี้แจงรายละเอียดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- งดออกจากที่พักและเดินทางข้ามจังหวัด
- สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
- หากมีไข้ควรรับประทาน
ยาพาราเซตามอล
เพื่อลดไข้ - ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดควรกักตัวเพื่อสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน
การป้องกันโรคโควิด-19
- หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดและสัมผัสผู้มีติดเชื้อโควิด-19
- หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่ที่มีการรวมกลุ่มกัน โดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็นห้องปิด ไม่มีอากาศถ่ายเท
- สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อเดินทางไปพื้นที่สาธารณะและมีการรวมกลุ่ม
- ล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ทุกครั้งหลังสัมผัสกับวัตถุในพื้นที่สาธารณะ เช่น ประตู ตู้ ATM ก๊อกน้ำ ราวบันได
- หลีกเลี่ยงการเอามือสัมผัสใบหน้า ปาก เพื่อลดการนำเชื้อเข้าร่างกาย
- รับประทานอาหารที่ปรุงสุก
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารร่วมกัน เช่น การใช้ช้อนร่วมกัน ดื่มน้ำจากแก้วเดียวกัน
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคโควิด 19
1. โควิด-19 มีกี่สายพันธุ์?
เชื้อไวรัสโควิด-19 มีมากกว่า 10 สายพันธุ์ สำหรับสายพันธุ์ที่มีการระบาดในประเทศไทย ณ ปัจจุบันและน่ากังวลมี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์อัลฟ่า สายพันธุ์เบต้า สายพันธุ์แกมม่า สายพันธุ์เดลต้า นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์อื่นๆ ที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ สายพันธุ์เอปซิลอน สายพันธุ์เซต้า สายพันธุ์อีต้า สายพันธุ์ทีต้า สายพันธุ์ไอโอต้า สายพันธุ์แคปป้า
2. Covid-19 ย่อมาจากอะไร?
องค์การอนามัยโลกได้กำหนดคำว่า covid-19 ย่อมาจาก CO คือ Corona Vi คือ Virus D คือ Disease และ 19 คือ 2019 ชื่อทางการที่ใช้ในปัจจุบันคือ SARS-CoV-2
3. อาการ covid-19 เบื้องต้นมีอะไรบ้าง?
อาการ covid-19 ที่แสดงออกมาในผู้ป่วย ได้แก่ ไข้สูง ไอ มีเสมหะ หายใจเร็ว หอบ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย ทั้งนี้ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่แสดงอาการ
4. เด็กเล็กสามารถใส่หน้ากากอนามัยได้หรือไม่?
การใส่หน้ากากอนามัยควรเลือกขนาดที่พอดีกับใบหน้า แต่ไม่ควรใส่ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ชวบ เนื่องจากจะหายใจไม่ออก ทางที่ดีคือไม่ควรพาเด็กเล็กไปยังสถานที่เสี่ยง
5. เชื้อไวรัส Covid-19 อยู่บนพื้นผิวสิ่งของได้นานเท่าใด?
เชื้อไวรัส Covid-19 สามารถเกาะอยู่บนพื้นผิว เช่น โลหะ ไม้ แก้ว อะลูมิเนียม กระดาษ ได้นาน 4-5 วันที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิต่ำลงถึง 4 องศาเซลเซียส เชื้อไวรัสมีชีวิตได้นานถึง 28 วัน และถ้าอุณหภูมิสูงถึง 30 องศาสเซลเซียส จะมีอายุไม่เกิน 24 ชั่วโมงเท่านั้น
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
• วิธีตรวจโควิด-19 มีแบบไหนบ้าง ต่างกันอย่างไรและตรวจแบบไหนแม่นยำกว่า
• วัคซีนโควิด-19 Sinovac (Sinovac COVID-19 Vaccine)
• วัคซีนโควิด-19 AstraZeneca (AstraZeneca COVID-19 Vaccine)
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
นพ. ปองคุณ อารยะทรงศักดิ์ (GP)
คลินิคส่วนตัว
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล
- About Variants of the Virus that Causes COVID-19. (2021). https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/variants/variant.html
- Benedette Cuffari. (2020). What is OC43?. https://www.news-medical.net/health/What-is-OC43.aspx
- Tim Jewell. (2021). Everything You Should Know About the 2019 Coronavirus and COVID-19. https://www.healthline.com/health/coronavirus-covid-19
- Tracking SARS-CoV-2 variants. (n.d.). https://www.who.int/en/activities/tracking-SARS-CoV-2-variants/
- กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq_more.php
- กรมสุขภาพจิต. (2021). แนวทางรักาผู้ป่วยโควิด-19. https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30908
- แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). (2021). https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_health_care/g04_CPG170464.pdf
- พลอยจันทร์ สุขคง. (2021). ทำอย่างไรเมื่อทราบผลว่าติดโควิด-19. https://thestandard.co/what-to-do-when-infect-coronavirus/
- ภท.ภิฏฐา สุรพัฒน์ และ ภญ.นันทพร เล็กพิทยา. (2020). การใช้ยาในโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 COVID-19. https://www.rama.mahidol.ac.th/atrama/issue037/rama-rdu
- โรงพยาบาลศิครินทร์. ทำความรู้จัก “ชื่อใหม่” ไวรัสโควิดกลายพันธุ์. https://www.sikarin.com/health/covid-19-4-สายพันธุ์อันตรายในไท
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี. เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ COVID-19 จากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2. https://tmc.or.th/covid19/download/pdf/tmc-covid19-19.pdf
[NEW] โรคโควิด 19 (COVID-19) – สาเหตุ อาการ และการรักษาโรค | อาการ โควิด 19 – Sonduongpaper
✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
- โรคโควิด-19 เป็นโรคติดเชื้อไวรัสผ่านทางละอองฝอยจากระบบทางเดินหายใจ และจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู่ป่วย เช่น น้ำลาย น้ำมูก เสมหะ
- เชื้อ COVID-19 มีหลากหลายสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variants of Concerns) หรือสายพันธุ์ที่เชื้อไวรัสได้กลายพันธุ์เพื่อให้แพร่กระจายได้มากและง่ายกว่าเดิม และหลีกเลี่ยงภูมิคุ้มกันในร่างกายได้ดีขึ้น มีอยู่ทั้งหมด 4 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์อัลฟ่า (B.1.1.7) สายพันธุ์เดลต้า (B.1.617.2) สายพันธุ์เบต้า (B.1.351) และสายพันธุ์แกมม่า (P.1)
- ในการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ยังไม่มียาสำหรับรักษาโรคโดยเฉพาะ แต่เป็นการรักษาตามอาการ เช่น ใช้ยาพาราเซตามอลในการลดอาการไข้ หรือใช้ยา Favipiravir ในการยับยั้งการจำลองสารพันธุกรรมของไวรัส เป็นต้น
Table of Contents
โรคโควิด-19 คืออะไร?
รู้จักกับไวรัสโคโรนา
ทำไมเชื้อ COVID-19 จึงมีหลายสายพันธุ์?
สาเหตุของโรคโควิด-19
การตรวจหาเชื้อ COVID-19
อาการของโรคโควิด 19
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
การรักษาโรคโควิด-19
ยารักษาโรคโควิด-19
การปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคโควิด 19
การป้องกันโรคโควิด-19
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคโควิด 19
โรคโควิด-19 คืออะไร?
โรคโควิด-19 (COVID-19) หรือ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็นโรคที่เริ่มระบาดในช่วงเดือนธันวาคมปี 2019 โดยเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า SARS-CoV-2 ซึ่งมีต้นตอการพบเชื้อครั้งแรกที่ตลาดอาหารทะเลในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน และแพร่ระบาดสู่ประเทศอื่นๆ อย่างรวดเร็ว จนกระทั่งมีการพบผู้ติดเชื้อในเกือบทุกประเทศทั่วโลก
ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนามากกว่า 199 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 4 ล้านคน จาก 220 ประเทศ นับเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดการระบาดครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของโลก
รู้จักกับไวรัสโคโรนา
ไวรัสโคโรนา (Coronaviruses หรือ CoVs) คือตระกูลหนึ่งของไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร ลักษณะเด่นของไวรัสตระกูลนี้คือ เป็นไวรัสที่มีสารพันธุกรรมชนิด RNA มีเปลือกหุ้มด้านนอกที่ประกอบด้วยโปรตีน และล้อมรอบด้วยปุ่มหนามที่เกิดจากกลุ่มคาร์โบไฮเดรต ดูคล้าย ‘มงกุฎ’ จึงถูกตั้งชื่อว่า Coronavirus
โดยมากแล้วมักพบการติดเชื้อไวรัสโคโรนาในสัตว์ แต่ก็มีไวรัสโคโรนาที่พบการติดเชื้อและก่อโรคในมนุษย์ (Human coronaviruses) อยู่มากกว่า 30 สายพันธุ์ด้วยกัน ซึ่งสามารถแบ่งออกคร่าวๆ ได้ 2 กลุ่ม ดังนี้
1. สายพันธุ์ที่ก่อโรคไม่รุนแรง
เช่น HCoV-229E, HCoV-OC43, HCoV-NL63, และ HCoV-HKU1
เป็น 4 สายพันธุ์หลักที่มักก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจที่ไม่รุนแรง มักเป็นเพียงไข้หวัดทั่วไป (Common Cold) โดยมีการพบว่าไวรัส 4 สายพันธุ์นี้เป็นสาเหตุให้เกิดไข้หวัดราว 30% ของผู้ป่วยทั้งหมด
และถึงแม้จะพบได้น้อย แต่ไวรัส 4 สายพันธุ์ดังกล่าวอาจก่อโรคในระบบทางเดินหายใจส่วนบนที่มีอาการรุนแรงได้เช่นกัน เช่น ปอดอักเสบ (Pneumonia) และโรคหลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis) โดยมักพบการติดเชื้ออื่นๆ ในระบบทางเดินหายใจร่วมด้วย รวมถึงอาจก่อให้เกิดอาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง นอกจากนี้ ไวรัส HCoV-OC43 ยังอาจกลายพันธุ์จนทำให้เกิดการติดเชื้อในสมองได้อีกด้วย
2. สายพันธุ์ที่ก่อโรครุนแรง
ตัวอย่างเชื้อไวรัส เช่น
- SARS-CoV ทำให้เกิดโรคซาร์ส หรือโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง ซึ่งเคยระบาดในประเทศจีนและฮ่องกง ช่วงปี 2002-2003
- MERS-CoV ทำให้เกิดโรคโรคเมอร์ส หรือโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง ซึ่งพบการระบาดมากในช่วงปี 2012-2013
- SARS-CoV-2 เป็นสายพันธุ์ล่าสุดที่เพิ่งค้นพบในปี 2019 และทำให้เกิดโรคโควิด-19
ทำไมเชื้อ COVID-19 จึงมีหลายสายพันธุ์?
เช่นเดียวไวรัสชนิดอื่นๆ ไวรัส SARS-CoV-2 นั้นสามารถแพร่พันธุ์ได้ด้วยการถ่ายทอดสารพันธุกรรมของตัวเองจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง โดยขั้นตอนการถ่ายทอดพันธุกรรมนี้ อาจเกิดข้อผิดพลาด (Copying Errors) ขึ้น และทำให้เกิดการกลายพันธุ์ (Genetic Mutation)
การกลายพันธุ์ไม่ได้ทำให้เชื้อไวรัสพัฒนาเป็นเชื้อที่รุนแรงขึ้นเสมอไป บางครั้งไวรัสอาจกลายพันธุ์และหายไปเอง แต่หากไวรัสที่กลายพันธุ์แล้วยังคงอยู่และได้รับการตรวจพบ ก็จะถูกบันทึกเป็นสายพันธุ์ (Variant) ใหม่ๆ ต่อไป
เมื่อไวรัสสะสมการกลายพันธุ์มากขึ้นเรื่อยๆ การทำงานของไวรัสก็จะแตกต่างไปจากเชื้อดั้งเดิม ทำให้วัคซีนที่เคยใช้รับมือกับเชื้อดั้งเดิมได้อาจมีประสิทธิภาพลดลง รวมถึงองค์ประกอบหรือลักษณะบางอย่างของไวรัสอาจเปลี่ยนแปลงไปจนทำให้สามารถแพร่เชื้อได้ง่ายขึ้นหรือเพิ่มจำนวนได้เร็วขึ้น
ปัจจุบัน ไวรัส SARS-CoV-2 มี Variant ใหม่ๆ ที่ตรวจพบจำนวนมาก แต่ Variant ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดอยู่ในกลุ่ม ‘สายพันธุ์ที่น่ากังวล’ (Variants of Concern; VOC) มีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ด้วยกัน ทั้งนี้ เพื่อลดการกล่าวโทษประเทศที่มีการตรวจพบเชื้อสายพันธุ์ใหม่ WHO จึงเปลี่ยนชื่อสายพันธุ์เหล่านี้เป็นอักษรกรีก ได้แก่
- COVID-19 สายพันธุ์ Alpha (สายพันธุ์อังกฤษ)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ B.1.1.7 ชื่อใหม่คือ สายพันธุ์อัลฟ่า มีคุณสมบัติเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด และแพร่กระจายเชื้อง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น 40-70% พบครั้งแรกที่สหราชอาณาจักร ในเดือนธันวาคม ปี 2020
- COVID-19 สายพันธุ์ Delta (สายพันธุ์อินเดีย)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ B.1.617.2 ชื่อใหม่คือ สายพันธุ์เดลต้า มีคุณสมบัติแพร่เชื้อง่าย ระบาดเร็ว และเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดี พบครั้งแรกในประเทศอินเดีย ในเดือนธันวาคม 2020
- COVID-19 สายพันธุ์ Beta (สายพันธุ์แอฟริกาใต้)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ B.1.351 ชื่อใหม่คือ สายพันธุ์เบต้า มีคุณสมบัติลดประสิทธิภาพแอนติบอดี้ ระบาดเร็วและแพร่เชื้อไวขึ้นประมาณ 50% พบครั้งแรกในประเทศแอฟริกาใต้ ในเดือนธันวาคม ปี 2020
- COVID-19 สายพันธุ์ Gamma (สายพันธุ์บราซิล)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ P.1 ชื่อใหม่คือ สายพันธุ์แกมม่า เป็นสายพันธุ์ที่รุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่น มีคุณสมบัติเลี่ยงภูมิคุ้มกันและลดประสิทธิภาพวัคซีน ตรวจพบจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากประเทศบราซิล ระหว่างการตรวจคัดกรองภายในสนามบินที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อต้นเดือนมกราคม ปี 2021
สาเหตุของโรคโควิด-19
จากการศึกษาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 นักวิจัยพบว่ามีนิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) คล้ายกับเชื้อที่พบจากค้างคาวในประเทศจีน จึงทำให้เกิดการสันนิษฐานว่า ต้นกำเนิดของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 มาจากไวรัสที่พบในค้างคาว และเกิดการกลายพันธุ์จนสามารถแพร่จากสัตว์มาสู่คนได้ จนนำไปสู่การติดเชื้อจากคนสู่คนในที่สุด
เชื้อ COVID-19 สามารถติดต่อได้จากการรับละอองฝอยจากระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย เช่น การไอจามรดกัน รวมถึงการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น การสัมผัสน้ำลาย น้ำมูก เสมหะ สัมผัสเชื้อที่อยู่บนพื้นผิวของสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ และเชื้อในอากาศ ผ่านการรับเชื้อทางตา จมูก ปาก
เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ที่ก่อให้เกิดโรค COVID-19 อาจอยู่บนพื้นผิวต่างๆ ได้ยาวนานตั้งแต่ 2 ชั่วโมงไปจนถึง 9 วัน โดยพบว่าเชื้อจะตายอย่างรวดเร็วเมื่ออยู่ใต้รังสี UV จากแสงแดด ในทางตรงกันข้าม เชื้อจะอยู่บนพื้นผิวหรือในอากาศได้อย่างยาวนานที่อุณหภูมิห้องหรือต่ำกว่า โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity) ต่ำ อย่างไรก็ตาม WHO ยืนยันว่าเชื้อโควิด-19 ยังคงสามารถถ่ายทอดจากคนสู่คนได้ในทุกๆ สภาพอากาศและสภาพแวดล้อม
การตรวจหาเชื้อ COVID-19
วิธีการตรวจเชื้อ COVID-19 ที่ใช้ในปัจจุบันมี 2 ประเภท คือ
- RT-PCR (Reverse Transcriptase Polymerase Chain Reaction)
คือวิธีการตรวจหาเชื้อไวรัสที่ใช้เอนไซม์ Reverse Transcriptase เปลี่ยน RNA ของไวรัส SARS-CoV-2 ให้เป็น DNA จากนั้นจึงใช้เครื่องเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมคัดลอกชิ้นส่วน DNA ของไวรัสให้มีปริมาณมากพอที่จะวิเคราะห์ DNA ได้การตรวจด้วยวิธีการ RT-PCR สามารถตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อได้โดยตรง แม้มีปริมาณเชื้อน้อย หรือติดเชื้อจนเริ่มมีอาการดีขึ้นแล้วก็ยังสามารถตรวจพบซากเชื้อได้ วิธีนี้จึงเป็นวิธีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ เนื่องจากมีความจำเพาะและแม่นยำสูง
- Rapid Test
คือ การตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยใช้ชุดทดสอบที่มีความรวดเร็วในการตรวจวัด ราคาถูกกว่าการตรวจแบบ RT-PCR แต่จะมีความจำเพาะและแม่นยำน้อยกว่า โดยชุดตรวจ Rapid test มี 2 ชนิดคือ- Rapid Antigen Test
เป็นชุดทดสอบสำหรับตรวจหาแอนติเจน (Antigen) ของเชื้อไวรัสในสารคัดหลั่งทางโพรงจมูก เป็นวิธีการที่ทราบผลได้เร็ว แต่มีความแม่นยำและจำเพาะน้อยกว่า RT-PCR วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่เริ่มมีอาการป่วยแต่ยังไม่แน่ใจว่าติดเชื้อ COVID-19 หรือไม่ มักใช้ในการคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้น หากใช้ตรวจในตอนที่เพิ่งได้รับเชื้ออาจจะแสดงผลเป็นลบเนื่องจากยังไม่มีปริมาณเชื้อมากพอ หรือหากเคยติดเชื้อจนภูมิคุ้มกันจัดการเชื้อได้หมดแล้วก็อาจให้ผลเป็นลบเช่นกัน - Rapid Antibody Test
เป็นชุดทดสอบที่ใช้ตรวจเลือดเพื่อหาแอนติบอดี (Antibody หรือ ภูมิคุ้มกัน) ชนิด IgG และ IgM ที่ร่างกายสร้างขึ้นเมื่อได้รับเชื้อ การตรวจวิธีนี้เหมาะกับการตรวจหลังจากได้รับเชื้อมาแล้ว 7 วันขึ้นไป เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่ร่างกายสร้างแอนติบอดีแล้ว ถ้าหากตรวจในช่วง 1-5 วันแรกอาจพบว่ามีผลเป็นลบ
- Rapid Antigen Test
อาการของโรคโควิด 19
เมื่อติดเชื้อโรคโควิด 19 ผู้ติดเชื้ออาจแสดงอาการหรือไม่แสดงอาการเลยก็ได้ และความรุนแรงของอาการที่แสดงก็อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ซึ่งเกี่ยวข้องกับสุขภาพผู้ติดเชื้อก่อนได้รับเชื้อด้วย ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้
ในผู้ป่วยที่แสดงอาการ มักมีอาการที่สังเกตได้ คือ มีไข้ ไอแห้ง เจ็บคอ น้ำมูกไหล หายใจเหนื่อยหอบ ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นอาการเบื้องต้น
ในผู้ป่วยบางรายอาจพบอาการทางระบบทางเดินหายใจที่รุนแรงได้ ได้แก่ ปวดบวม คออักเสบ ไตวาย ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
อาการที่บ่งบอกว่าควรไปพบแพทย์คือ ไข้สูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียส ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลียอย่างมาก ไอถี่ มีเสมหะ หายใจแรงแล้วรู้สึกเจ็บหน้าอก
ทั้งนี้ หากสงสัยว่าตนเองได้รับเชื้อ หรือมีการใกล้ชิดกับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ ควรแยกตัวจากคนอื่นๆ และเริ่มกักตัวเป็นเวลาอย่างน้อย 14 วันทันที โดยสามารถตรวจยืนยันการติดเชื้อด้วยการเข้ารับการตรวจแบบ RT-PCR ที่โรงพยาบาล หรือแล็บเทคนิคการแพทย์อื่นๆ ที่ได้รับการรับรอง หรือตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจ Rapid Antigen Test ที่ได้รับการรับรองจากอย. หากผลเป็นบวก ควรติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที
การรักษาโรคโควิด-19
กรมการแพทย์ได้แบ่งการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ออกเป็น 3 กรณี ตามระดับความรุนแรงของอาการ ดังนี้
ผู้ป่วยสีเขียว
คือผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อแต่ไม่มีอาการใดๆ หรือมีอาการไม่รุนแรง กล่าวคือ มีไข้ ไอ มีน้ำมูก ตาแดง ผื่นขึ้น และไม่มีโรคประจำตัวอื่นๆ ร่วม และภาพถ่ายรังสีปอดปกติ แนะนำให้กักตัวที่บ้าน (Home Isolation) หรือพักที่โรงพยาบาลสนามหรือ Hospitel เป็นเวลา 14 วัน โดยระหว่างนี้อาจจะได้รับยาตามอาการ หรือยา Favipiravir ตามดุลยพินิจของแพทย์
ผู้ป่วยสีเหลือง
ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจเร็ว มีปัจจัยเสี่ยงอาการรุนแรงหรือโรคร่วม เช่น อายุมากกว่า 60 ปี โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคปอดเรื้อรังอื่นๆ ไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจแต่กำเนิด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่คุมไม่ได้ ภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน 90 กิโลกรัม ตับแข็ง ภูมิคุ้มกันต่ำ และเม็ดเลือดขาวน้อยกว่า 1000
ผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วัน แพทย์อาจมีการให้ยา Favipiravir ร่วมกับยา Corticosteroid ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
ผู้ป่วยสีแดง
คือผู้ป่วยที่มีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก เอกซเรย์พบปอดอักเสบรุนแรง มีภาวะปอดบวม ความอิ่มตัวของเลือดน้อยกว่า 96% หรือการลดลงของออกซิเจนมากกว่า 3% หลังออกแรงของค่าที่วัดได้ในครั้งแรกที่ออกแรง ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเท่านั้น
ในผู้ป่วยสีแดง แพทย์จะให้ Favipiravir เป็นเวลา 5-10 วัน โดยอาจให้ร่วมกับ Lopinavir/Ritonavir เป็นเวลา 5-10 วัน ร่วมกับ Corticosteroid
ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจจะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ (High-Flow Nasal Cannula) รวมถึงเครื่องมือเพื่อประคับประคองการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในผู้ป่วยวิกฤติ
ยารักษาโรคโควิด-19
ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษาโควิด-19 ให้หายขาดได้ ตัวยาที่ใช้ในปัจจุบันเป็นยาที่ทดลองใช้กับผู้ป่วย และมีความสามารถในการลดอาการเจ็บป่วยหรือยับยั้งการแพร่กระจายของไวรัสได้ เช่น
- ยา Favipiravir ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่มีคุณสมบัติยับยั้งการจำลองสารพันธุกรรมของไวรัส
- ยาต้านไวรัสเอชไอวี (Darunavir, Lopinavir, Ritonavir)
- ยาในกลุ่ม Corticosteroid (Dexamethasone, Hydrocortisone,
Prednisolone
, Methylprednisolone) - ยารักษาโรคมาลาเรีย (Hydroxychloroquine, Chloroquine)
- ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Azithromycin)
การปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคโควิด 19
- กักตัวตามมาตรการรัฐเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น
- เตรียมเอกสารสำคัญเช่น บัตรประชาชน เอกสารยืนยันผลตรวจโควิด 19
- โทรแจ้งเรื่องที่เบอร์ 1330, 1668,1669 เพื่อเข้ารับการรักษาและชี้แจงรายละเอียดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- งดออกจากที่พักและเดินทางข้ามจังหวัด
- สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
- หากมีไข้ควรรับประทาน
ยาพาราเซตามอล
เพื่อลดไข้ - ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดควรกักตัวเพื่อสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน
การป้องกันโรคโควิด-19
- หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดและสัมผัสผู้มีติดเชื้อโควิด-19
- หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่ที่มีการรวมกลุ่มกัน โดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็นห้องปิด ไม่มีอากาศถ่ายเท
- สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อเดินทางไปพื้นที่สาธารณะและมีการรวมกลุ่ม
- ล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ทุกครั้งหลังสัมผัสกับวัตถุในพื้นที่สาธารณะ เช่น ประตู ตู้ ATM ก๊อกน้ำ ราวบันได
- หลีกเลี่ยงการเอามือสัมผัสใบหน้า ปาก เพื่อลดการนำเชื้อเข้าร่างกาย
- รับประทานอาหารที่ปรุงสุก
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารร่วมกัน เช่น การใช้ช้อนร่วมกัน ดื่มน้ำจากแก้วเดียวกัน
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคโควิด 19
1. โควิด-19 มีกี่สายพันธุ์?
เชื้อไวรัสโควิด-19 มีมากกว่า 10 สายพันธุ์ สำหรับสายพันธุ์ที่มีการระบาดในประเทศไทย ณ ปัจจุบันและน่ากังวลมี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์อัลฟ่า สายพันธุ์เบต้า สายพันธุ์แกมม่า สายพันธุ์เดลต้า นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์อื่นๆ ที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ สายพันธุ์เอปซิลอน สายพันธุ์เซต้า สายพันธุ์อีต้า สายพันธุ์ทีต้า สายพันธุ์ไอโอต้า สายพันธุ์แคปป้า
2. Covid-19 ย่อมาจากอะไร?
องค์การอนามัยโลกได้กำหนดคำว่า covid-19 ย่อมาจาก CO คือ Corona Vi คือ Virus D คือ Disease และ 19 คือ 2019 ชื่อทางการที่ใช้ในปัจจุบันคือ SARS-CoV-2
3. อาการ covid-19 เบื้องต้นมีอะไรบ้าง?
อาการ covid-19 ที่แสดงออกมาในผู้ป่วย ได้แก่ ไข้สูง ไอ มีเสมหะ หายใจเร็ว หอบ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย ทั้งนี้ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่แสดงอาการ
4. เด็กเล็กสามารถใส่หน้ากากอนามัยได้หรือไม่?
การใส่หน้ากากอนามัยควรเลือกขนาดที่พอดีกับใบหน้า แต่ไม่ควรใส่ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ชวบ เนื่องจากจะหายใจไม่ออก ทางที่ดีคือไม่ควรพาเด็กเล็กไปยังสถานที่เสี่ยง
5. เชื้อไวรัส Covid-19 อยู่บนพื้นผิวสิ่งของได้นานเท่าใด?
เชื้อไวรัส Covid-19 สามารถเกาะอยู่บนพื้นผิว เช่น โลหะ ไม้ แก้ว อะลูมิเนียม กระดาษ ได้นาน 4-5 วันที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิต่ำลงถึง 4 องศาเซลเซียส เชื้อไวรัสมีชีวิตได้นานถึง 28 วัน และถ้าอุณหภูมิสูงถึง 30 องศาสเซลเซียส จะมีอายุไม่เกิน 24 ชั่วโมงเท่านั้น
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
• วิธีตรวจโควิด-19 มีแบบไหนบ้าง ต่างกันอย่างไรและตรวจแบบไหนแม่นยำกว่า
• วัคซีนโควิด-19 Sinovac (Sinovac COVID-19 Vaccine)
• วัคซีนโควิด-19 AstraZeneca (AstraZeneca COVID-19 Vaccine)
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
นพ. ปองคุณ อารยะทรงศักดิ์ (GP)
คลินิคส่วนตัว
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล
- About Variants of the Virus that Causes COVID-19. (2021). https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/variants/variant.html
- Benedette Cuffari. (2020). What is OC43?. https://www.news-medical.net/health/What-is-OC43.aspx
- Tim Jewell. (2021). Everything You Should Know About the 2019 Coronavirus and COVID-19. https://www.healthline.com/health/coronavirus-covid-19
- Tracking SARS-CoV-2 variants. (n.d.). https://www.who.int/en/activities/tracking-SARS-CoV-2-variants/
- กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq_more.php
- กรมสุขภาพจิต. (2021). แนวทางรักาผู้ป่วยโควิด-19. https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30908
- แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). (2021). https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_health_care/g04_CPG170464.pdf
- พลอยจันทร์ สุขคง. (2021). ทำอย่างไรเมื่อทราบผลว่าติดโควิด-19. https://thestandard.co/what-to-do-when-infect-coronavirus/
- ภท.ภิฏฐา สุรพัฒน์ และ ภญ.นันทพร เล็กพิทยา. (2020). การใช้ยาในโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 COVID-19. https://www.rama.mahidol.ac.th/atrama/issue037/rama-rdu
- โรงพยาบาลศิครินทร์. ทำความรู้จัก “ชื่อใหม่” ไวรัสโควิดกลายพันธุ์. https://www.sikarin.com/health/covid-19-4-สายพันธุ์อันตรายในไท
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี. เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ COVID-19 จากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2. https://tmc.or.th/covid19/download/pdf/tmc-covid19-19.pdf
TNNข่าวค่ำ l ข้อสังเกตอาการ โควิด-19 vs ไข้หวัด
ผู้กลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยงกักตัวเอง14วัน สามารถสังเกต อาการว่าเป็นหวัดทั่วไป หรือ ติดเชื้อโควิด19 ดังนี้
อาการ ไวรัสโควิด19
มีไข้สูง 37.5 องศา
ไอ มีเสมหะ เจ็บคอ นานเกิน4 วัน
คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หายใจลำบาก
มีอาการปอดอักเสบ
ปวดเมื่อยตัว ทานข้าวไม่ค่อยได้
อาการ ไข้หวัดทั่วไป
มีไข้สูง 34วัน แต่อาการจะค่อยๆดีขึ้น
ไอ จาม เล็กน้อย 34วัน อาการจะค่อยๆดีขึ้น
ไม่มีอาการท้องเสีย
คัดจมูก น้ำมูกไหล
อ่อนเพลียปวดตามตัว
ช่องทางติดตามสถานีข่าว TNN ช่อง16
https://www.tnnthailand.com
https://www.facebook.com/TNNthailand/
https://twitter.com/tnnthailand
https://www.instagram.com/tnnthailand/
Line @TNNThailand
http://nav.cx/9CGdrZK
ทันโลก ทันเศรษฐกิจ ทันทุกความจริง กับ TNNช่อง16 สถานีข่าวที่ถือหลักการของการนำเสนอข่าวตรงประเด็น รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และเป็นกลาง โดยทีมข่าวมืออาชีพ
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่
อาการใหม่ “โควิดเดลตา” คล้ายไข้หวัด ทำแพร่เชื้อรวดเร็ว | TNN ข่าวค่ำ | 20 มิ.ย. 64
นักวิจัยจากอังกฤษ เผยผลวิจัย พบอาการป่วยของโควิดสายพันธุ์เดลตาแบบใหม่ และระบาดเพิ่มขึ้นในกลุ่มคนที่อายุน้อยลง อาการเบื้องต้น คล้ายไข้หวัดธรรมดา ส่วนอาการเดิม คือ ไอ ไข้สูง สูญเสียการรับรู้กลิ่นและรับรู้รส ทำให้ติดแล้วไม่ได้ไปตรวจเพราะคิดว่าเป็นแค่ไข้หวัด ทำให้แพร่เชื้ออย่างรวดเร็ว
ช่องทางติดตามสถานีข่าว TNN ช่อง16
https://www.tnnthailand.com
https://tv.trueid.net/live/tnn16
https://www.youtube.com/c/tnn16
https://www.facebook.com/TNNthailand/
https://www.facebook.com/TNN16LIVE/
https://twitter.com/tnnthailand
https://www.instagram.com/tnn_online/
https://www.tiktok.com/@tnnonline
Line @TNNONLINE หรือคลิก https://lin.ee/4fP2tltIo
ทันโลก ทันเศรษฐกิจ ทันทุกความจริง กับ TNNช่อง16 สถานีข่าวที่ถือหลักการของการนำเสนอข่าวตรงประเด็น รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และเป็นกลาง โดยทีมข่าวมืออาชีพ
“วิธีสังเกตอาการโควิด-19”
กลุ่ม ปตท.เสนอแนะวิธีสังเกตุอาการผู้ป่วยโควิด19 “เขียว, เหลือง, แดง” เมื่อสังเกตอาการตนเองแล้ว จะได้เข้ารับการตรวจดูแลรักษาที่เหมาะสม
Website : http://news1live.com/\r
YOUTUBE : https://www.youtube.com/NEWS1VDO\r
Facebook : https://www.facebook.com/MGRNEWS1\r
TWITTER : https://twitter.com/newsonechannel\r
instragram : https://www.instagram.com/news1channel
สธ.แถลงสถานการณ์โควิด-19 (17 พ.ย. 64)
… อัปเดต กระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวความคืบหน้าสถานการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID19) ในประเทศไทย
• ประเด็น : เปิดเมืองปลอดภัย คุมเข้ม กินดื่ม ในร้านอาหาร ด้วยมาตรการ COVID Free Setting และ 10 มาตรการเข้ม ลอยกระทงปลอดภัย
โดย…
• นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย
• และ นายแพทย์เกษม เวชสุทธานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย
📌 ติดตามข้อมูลข่าวสาร รู้สู้ภัย ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่2019 กับ ThaiPBS COVID19 ได้ทาง https://covid19.thaipbs.or.th
กด Subscribe ติดตามรายการดี ๆ ของช่อง ได้ที่ : http://thaip.bs/YSBht5j
และ ติดตามไทยพีบีเอสออนไลน์ ได้ที่
Website : http://www.thaipbs.or.th
Facebook : http://www.fb.com/ThaiPBS
Twitter : http://www.twitter.com/ThaiPBS
Instagram : http://www.instagram.com/ThaiPBS
LINE : http://www.thaipbs.or.th/AddLINE
YouTube : http://www.youtube.com/ThaiPBS
4 อาการโควิดลงปอด ปอดอักเสบจากโควิด | เม้าท์กับหมอหมี EP.115
4 อาการโควิดลงปอด ปอดอักเสบจากโควิด
📌 สนใจหน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐาน คลิ๊กลิงค์นี้ได้เลยครับ : https://bit.ly/3hEgknU
ในปัจจุบันประเทศไทยมีการระบาดของเชื้อโควิดหนักมากๆ พบผู้ติดเชื้อ 20,000 คนต่อวัน และมีอาการรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เวลาติดเชื้อแล้ว เชื้อโรคจะไปทำลายระบบทางเดินหายใจ ซึ่งบางคนอาการไม่รุนแรง อาจมีแค่ไข้ ร่วมกับไอ แต่ถ้าเชื้อลงไปในปอด จะทำให้ปอดอักเสบ และจะทำให้เกิดอาการต่างๆ การสังเกตอาการและสัญญาณจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งจะมีสัญญาณดังนี้
1. ไข้สูง เนื่องจากปอดมีการอักเสบ จึงส่งผลทำให้ร่างกายมีไข้สูง ถ้าวัดอุณหภูมิได้มากกว่า 37.5 แสดงว่ามีไข้
2. ไอ เมื่อปอดอักเสบจะทำให้มีอาการไอ อาจมีเสมหะหรือไม่มีก็ได้
3. หอบเหนื่อย เมื่อปอดมีการอักเสบมากๆ ทำให้ปอดมีน้ำ และมีหนอง การแลกเปลี่ยนออกซิเจนในปอดจึงลดลง ทำให้เกิดอาการเหนื่อย ถ้ามีอาการร่วมกัน ไข้ ไอ หอบ ให้ระวังปอดอักเสบจากปอดอักเสบจากติดโควิด
3. ออกซิเจนในเลือดลดลง ปกติเมื่อเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายแล้ว จะกลับมาฟอกที่ปอด เพื่อเติมออกซิเจน แต่ปอดเติมออกซิเจนได้ลดลง จึงส่งผลทำให้เลือดขาดออกซิเจน
วิธีการวัดออกซิเจนในเลือด คือ ใช้เครื่องวัดออกซิเจน ค่าปกติคือ 96100% ถ้ามีค่าน้อยกว่า 95% ให้รีบไปโรงพยาบาลครับ
ถูกใจคลิปนี้ อย่าลืม กดLike กดแชร์ กดSubscribe กดกระดิ่ง ติดตามช่อง \”หมอหมีเม้าท์มอย\” กันด้วยนะครับ
ติดตามผลงาน \”หมอหมีเม้าท์มอย\” ได้ที่
Youtube : http://www.youtube.com/c/หมอหมีเม้าท์มอย
Facebook : https://www.facebook.com/MhomheeTalks/
IG : MhoMheeTalk
หมอหมีเม้าท์มอย หมอหมีมีคำตอบ โควิด อาการโควิด โควิดลงปอด ปอดอักเสบจากโควิด ติดเชื้อโควิด @หมอหมี เม้าท์มอย
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่Wiki
ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ อาการ โควิด 19