[NEW] รู้จัก! โรค PTSD ภาวะเครียดซึมเศร้า หลังเหตุการณ์รุนแรง!! | โรค ซึม เศร้า คือ อะไร – Sonduongpaper

โรค ซึม เศร้า คือ อะไร: นี่คือโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

ในช่วงที่บ้านเมืองเราเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทบกับจิตใจของผู้คน อย่างที่เราเห็นตามสื่อโซเชียลต่าง ๆ เลยค่ะ บางคนก็มีอาการตกใจ วิตกกังวลง่าย บางคนถึงกับขยาด กลัว ไม่กล้าไปสถานที่ที่เกิดเหตุไปเลย หรือว่าเราจะตกอยู่ในภาวะเครียดซึมเศร้าจากโรค PTSD กันแน่!

โรค PTSD คืออะไร ?

โรคเครียดซึมเศร้า ptsd

จริง ๆ โรค PTSD หรือ Post-Traumatic Stress Disorder ก็คือสภาวะป่วยทางจิตใจเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ตึงเครียด หรือเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างร้ายแรง พบมากในทหารผ่านศึกและผู้ประสบเหตุการณ์เลวร้าย เช่น ถูกทำร้ายร่างกายหรือล่วงละเมิดทางเพศ, เห็นคนอื่นเสียชีวิตต่อหน้าต่อตา ถูกขัง ข่มขืน ปล้นฆ่า, การอยู่ร่วมในเหตุการณ์ หรืออุบัติเหตุรุนแรง เช่น การก่อจลาจล สงคราม ไฟไหม้ แผ่นดินไหว น้ำท่วม เป็นต้น

ความทรงจำเหล่านี้ทำร้ายจิตใจจนทำให้เกิดความเครียด โรคซึมเศร้า ซ้ำร้ายที่สุดก็คือทำให้มีปัญหาในการทำงาน เข้าสังคม และการดำเนินชีวิตประจำวัน

Noted : ในตอนนี้ประเทศสหรัฐอเมริกา มีผู้ป่วยที่มีอาการ PTSD นี้อยู่กว่า 8 ล้านราย และ 11-20 % ของผู้ป่วย ก็คือเหล่าทหารผ่านศึกอิรักและอัฟกานิสถานนั่นเอง!

อาการของภาวะ PTSD

โรคเครียดซึมเศร้า ptsd

สำหรับอาการของโรค PTSD จะแสดงออกมาเป็น 2 ระยะ คือ ระยะ 1 เดือนแรกหลังจากเกิดเหตุ เรียกว่า Acute Stress Disorder (ASD) หรือ โรคเครียดฉับพลัน จากนั้นจะเข้าสู่ระยะที่ 2 คือหลังเกิดเหตุการณ์มาแล้ว 1 เดือนที่เรียกว่า PTSD ที่เรากำลังจะพูดถึงต่อไปนี้เองค่ะ

See also  10 Emotional and Touching Thai Commercials | asia insurance thailand

เมื่อเข้าสู่ระยะที่ 2 หรือ PTSD นั้น ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเห็นภาพหรือฝันร้ายถึงเหตุการณ์นั้น เกิดความตื่นตัว ระแวดระวัง ตื่นตระหนกตกใจว่าอาจจะเกิดเหตุการณ์แบบนั้นขึ้นอีก ในด้านอารมณ์ก็ส่งผลให้เป็นคนโมโหง่าย เกรี้ยวกราด กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ และเครียดง่าย เริ่มหลีกเลี่ยงสถานที่หรือสิ่งที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์นั้น บางคนเบื่ออาหารจนน้ำหนักลง โทรม ซีด ไม่ดูแลตัวเองเหมือนเดิม ร้ายแรงที่สุดคือเริ่มรู้สึกกับตัวเองในทางลบ โทษตัวเอง ไม่มีความสุขไม่ว่าจะทำอะไร และอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้

เช็ก! ใครเสี่ยงเป็น PTSD บ้าง ?

โรคเครียดซึมเศร้า ptsd

คนที่เสี่ยงเป็นโรค PTSD มีดังนี้

  • คนที่เคยถูกทำร้ายร่างกาย จิตใจ หรือถูกล่วงละเมิดทางเพศจากคนอื่นเมื่อยังเด็ก
  • คนที่มีปัญหาในการเข้าสังคม ไม่มีเพื่อนหรือครอบครัวคอยอยู่เคียงข้าง หรือคอยช่วยเหลือ
  • คนที่ผ่านเหตุการณ์ อุบัติเหตุรุนแรง หรือเห็นคนอื่นเสียชีวิตต่อหน้าต่อตา
  • คนที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรคเครียด โรคไบโพลาร์ โรควิตกกังวลอยู่แล้ว
  • คนที่มีปัญหาเรื่องการปรับตัวเข้ากับอะไรใหม่ ๆ
  • ผู้หญิง มีแนวโน้มจะเป็น PTSD ได้มากกว่าผู้ชาย

การรักษาและการป้องกันโรค PTSD

โรคเครียดซึมเศร้า ptsd

  1. ควรส่งเสริมให้แสดงออกอารมณ์เศร้าให้เหมาะสม ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน เช่น ถ้าอยากร้องไห้ให้ร้องออกมาเลย และพยายามพูดคุยทางด้านบวก สร้างแรงจูงใจที่ดี
  2. มีสติ คอยสังเกตอาการเสี่ยงของตนเองและคนรอบข้าง เช่น มีอาการหูแว่วหรือมีความคิดอยากฆ่าตัวตายไหม ถ้าพบ ต้องรีบมาปรึกษากับจิตแพทย์โดยด่วน
  3. ลดการรับฟังข่าวที่ทำให้เกิดความเครียด
  4. ฝึกทำสมาธิ สวดมนต์ เล่นโยคะ ฟังเพลงเบา ๆ หรือนวดผ่อนคลาย
  5. ใครที่มีโรคประจำตัว หรือคนที่มีปัญหาสุขภาพจิต ต้องดูแลตัวเองตามเดิม รับประทานยาประจำ กินอาหารและพักผ่อนตามเวลา 

หากมีอาการเครียด นอนไม่หลับ วิตกกังวลกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สามารถติดต่อขอคำปรึกษาได้ที่ สายด่วนสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต 1323

เราจะช่วยผู้ป่วย PTSD หลังเหตุการณ์ร้ายแรงได้อย่างไร ?

โรคเครียดซึมเศร้า ptsd

เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนจะต้องช่วยกัน โดยเฉพาะถ้าเรื่องเกิดกับคนใกล้ชิดหรือครอบครัวเราเอง โดยให้

1. คัดกรองดูแลกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยจิตเวช เน้นว่า “ต้องถามว่า ช่วงนี้มีความคิดอยากฆ่าตัวตายไหม” ถึงจะเป็นคำถามที่ดูรุนแรง และคนส่วนใหญ่ไม่กล้าถาม แต่ก็ควรจะต้องถาม เพราะมีงานวิจัยแล้วว่า การถามช่วยลดความเสี่ยงได้มากกว่าการไม่ถาม

2. ไม่ว่าจะเป็นสื่อหรือบุคคลธรรมดา เราต่างก็ต้องช่วยกันไม่เอ่ยชื่อของผู้ก่อการร้าย ไม่สนองให้เขามีชื่อเสียง ไม่ส่งต่อแนวคิด อุดมการณ์ที่ทำให้เกิดการลอกเลียนแบบทำตาม (No Notoriety) 

3. ไม่เปิดเผยชื่อและข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหยื่อข่าวออนไลน์และยังเป็นการแสดงความเคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัว (Right to Privacy) และ สิทธิที่จะถูกลืม (Right to be Forgotten) ของเหยื่ออีกด้วย

See also  เมื่อไรถึงเรียกว่าหายป่วยจากโควิด หายป่วยแล้วต้องทำอะไรบ้าง | GOOD QUESTIONS | คอเคล็ดกี่วันหาย

ถึงแม้ว่าเหตุการณ์ร้ายแรงในบ้านเรายังเป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าระวังและติดตามอย่างใกล้ชิด แต่ก็อยากให้ทุกคนดูแลสุขภาพร่างกาย จิตใจของตัวเองให้ดี ไม่เสพสื่อจนเกิดความเครียด รวมทั้งช่วยกันดูแลคนใกล้ชิดที่มีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้าและโรค PTSD รวมทั้งเคารพในสิทธิความเป็นส่วนตัวของเหยื่อและครอบครัว เราเชื่อว่าเราทุกคนจะผ่านมันไปด้วยกัน

อ่านบทความที่น่าสนใจอื่น ๆ 

[Update] โรคซึมเศร้า – อาการและการรักษา – ศูนย์สุขภาพจิต | โรค ซึม เศร้า คือ อะไร – Sonduongpaper

You’re been inactive for a while. For security reason, we’ll automatically sign you out from our website. Please Click “Login” to extend your session


คุยรอบโรคกับหมอสมิติเวช ตอน โรคซึมเศร้าคืออะไร


โรคซึมเศร้า เป็นความผิดปกติของสมอง ที่มีผลกระทบต่อความนึกคิด อารมณ์ ความรู้สึก คนส่วนใหญ่มักคิดว่าโรคซึมเศร้าเป็นผลมาจากความผิดปกติของจิตใจ สามารถแก้ไขให้หายได้ด้วยตนเอง แต่ในความเป็นจริงแล้ว โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงที
ข้อมูลโดย นพ.โกวิทย์ นพพร
จิตแพทย์ จากโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท

หากต้องการปรึกษาจิตแพทย์ ติดต่อ คลินิกจิตเวช โทร. 020222061
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.samitivejhospitals.com/th/centers/psychiatryclinic/
== สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมของโรงพยาบาล สมิติเวช ได้ที่ ==
Website : http://samitivejhospitals.com/
Facebook : https://www.facebook.com/SamitivejClub/
Twitter : https://twitter.com/SamitivejClub
Instagram : https://www.instagram.com/samitivej/
Line : https://line.me/R/ti/p/@samitivej

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

คุยรอบโรคกับหมอสมิติเวช ตอน โรคซึมเศร้าคืออะไร

รายการสุขภาพดีศิริราช ตอน \”โรคซึมเศร้า เอาให้อยู่\”


โดย อ.พญ.ธิดารัตน์ ปุรณะชัยคีรี
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล

รายการสุขภาพดีศิริราช ตอน \

พบหมอรามาฯ : โรคซึมเศร้า มากกว่าการรักษา คือความเข้าใจ #RamaHealthTalk (ช่วงที่ 1) 4.3.2562


พบหมอรามาฯ ช่วง Rama Health Talk (ช่วงที่ 1)
โรคซึมเศร้า มากกว่าการรักษา คือความเข้าใจ เรียนรู้อยู่กับมันให้ได้
รศ. นพ.ศิริไชย หงส์สงวนศรี
สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ออกอากาศวันที่ 4 มีนาคม 2562
ติดตามชมรายการ \”พบหมอรามาฯ\” พบกับช่วง \”คุยข่าวเม้าท์กับหมอ\” อัพเดทข่าวสารเรื่องสุขภาพโรคภัยไข้เจ็บ และ ช่วง \” Rama Health Talk\” เรื่องราวสุขภาพที่จะทำให้คุณมีสุขภาพที่ดี ทุกวันจันทร์ วันศุกร์ เวลา 17.0018.00 น. ทาง True Visions42 และ YouTube Rama Channel
ติดตาม Rama Channel ได้ทาง
YouTube https://www.youtube.com/user/RamachannelTV
Facebook https://www.facebook.com/ramachannel/
Website https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/home/
True Visions42

See also  📌😍 6 วิธีแก้ตาบวมที่ได้ผลดีเยี่ยม ทำง่ายมาก (แบบเร่งด่วน) | ตื่น มา ตา บวม

พบหมอรามาฯ : โรคซึมเศร้า มากกว่าการรักษา คือความเข้าใจ #RamaHealthTalk (ช่วงที่ 1) 4.3.2562

อาการโรคซึมเศร้า


เว็บไซต์หมอชาวบ้าน www.doctor.or.th\r
เฟชบุ๊ค www.facebook.com/folkdoctorthailand

อาการโรคซึมเศร้า

[PODCAST] Re-Mind | EP.3 – เรียนรู้และเข้าใจโรคซึมเศร้า | Mahidol Channel


โรคซึมเศร้าถูกพูดถึงอย่างมากในสังคมปัจจุบัน และมีการค้นหาเพิ่มมากขึ้นถึง 37% แสดงให้เห็นว่าโรคนี้ไม่ไกลตัวเราอีกต่อไป บ่อยครั้งที่การไม่รู้หรือมองข้ามนำมาซึ่งความสูญเสีย เพราะฉะนั้นถ้าเริ่มรู้สึกว่ามีบางสิ่งบางอย่างในตัวเองหรือคนใกล้ตัวเริ่มเปลี่ยนไปจนเกิดความสงสัยให้รีบเช็กว่าตอนนี้ที่เป็นอยู่คืออารมณ์เศร้า ภาวะซึมเศร้า หรือว่าโรคซึมเศร้า เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาได้ทันท่วงทีเพราะโรคนี้อ่อนไหวเกินกว่าที่จะเผชิญเพียงคนเดียว
วันนี้หมอหลิว อ.นพ.สมบูรณ์ หทัยอยู่สุข อาจารย์ประจำสาขาวิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จะพาไปทำความรู้จักเพื่อเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าและคำพูดแบบไหนที่ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
___________________
ReMind
โรคซึมเศร้า
MahidolChannelPODCAST
MahidolChannel
––––––––––––––––––––
📌ช่องทางการฟัง Mahidol Channel Podcast
Blockdit: https://www.blockdit.com/mahidolchannel
Spotify: https://spoti.fi/31v1Rmx
Anchor: https://anchor.fm/mahidolchannel
Soundcloud: https://soundcloud.com/mahidolchannel
Apple Podcasts: https://apple.co/2Oxp5FN
––––––––––––––––––––
YouTube: http://www.youtube.com/mahidolchannel​​
Facebook: http://www.facebook.com/mahidolchannel​​
Mahidol University มหาวิทยาลัยมหิดล: https://www.mahidol.ac.th/th​​
Website | https://channel.mahidol.ac.th/
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล | https://www.si.mahidol.ac.th/th/

[PODCAST] Re-Mind | EP.3 - เรียนรู้และเข้าใจโรคซึมเศร้า | Mahidol Channel

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆWiki

ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ โรค ซึม เศร้า คือ อะไร

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *