แขนช้ำ: คุณกำลังดูกระทู้
ยาฝังคุมกำเนิด
ยาฝังคุมกำเนิด หรือ ยาคุมกำเนิดแบบฝัง (Contraceptive implant หรือ Implantable contraception) คือ วิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวชนิดหนึ่ง โดยเป็นการใช้ฮอร์โมนชนิดเดียว คือ โปรเจสติน (Progestin) ที่บรรจุเอาไว้ในหลอดหรือแท่งพลาสติกเล็ก ๆ ขนาดเท่าไม้จิ้มฟันชนิดกลม นำมาฝังเข้าไปที่ใต้ผิวหนังบริเวณใต้ท้องแขนด้านที่ไม่ถนัด ซึ่งฮอร์โมนจะค่อย ๆ ซึมผ่านออกมาจากแท่งยาเข้าสู่ร่างกายและไปยับยั้งการเจริญเติบโตของฟองไข่ ส่งผลทำให้ไม่มีการตกไข่ตามมา จึงช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้
ในอดีตยาฝังคุมกำเนิดจะเป็นฮอร์โมนที่บรรจุอยู่ในแท่งพลาสติกขนาดเล็กจำนวน 6 แท่ง (แต่ละแท่งมีขนาด 3.4 x 0.24 เซนติเมตร) ใช้สำหรับฝังเข้าไปที่ใต้ผิวหนังใต้ท้องแขนทั้ง 6 แท่ง (ฝังเป็นรูปพัด) สามารถช่วยคุมกำเนิดได้นาน 5 ปี เช่น ยา Norplant® (นอร์แพลนท์) ก่อนฝังจะต้องฉีดยาชาก่อน แล้วหมอจะใช้เข็มขนาดใหญ่เป็นตัวนำ ขั้นตอนการทำนั้นไม่ยุ่งยากครับ แต่จะมีปัญหาในเรื่องการถอดออก เพราะจะใช้เวลาในการถอดนานพอสมควร จึงไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนักในอดีต
แต่ในปัจจุบันยาฝังคุมกำเนิดแบบใหม่ได้มีการพัฒนาให้ใช้งานได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยจะใช้เพียงแค่ 1 แท่ง ฝังเข้าที่ใต้ผิวหนังใต้ท้องแขน เช่น Implanon® (อิมพลานอน) ตัวแท่งมีขนาด 4.0 x 0.20 เซนติเมตร มีชุดฝังบรรจุเสร็จพร้อมใช้งาน ทำให้ฝังได้สะดวกขึ้นมาก แต่จะคุมกำเนิดได้น้อย เพียง 3 ปี เนื่องจากมีแค่หลอดเดียว เมื่อครบกำหนดก็สามารถถอดออกได้โดยง่าย ถ้าต้องการจะคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้ต่อก็สามารถฝังแท่งใหม่เข้าไปได้เลย นอกจากชนิด 1 แท่ง คุมกำเนิดได้ 3 ปี แล้ว ยังมีอีกชนิดหนึ่งที่สามารถใช้คุมกำเนิดได้นานถึง 5 ปี คือ Jadelle® (จาเดลล์) ตัวแท่งมีขนาด 4.3 x 0.25 เซนติเมตร มีอยู่ด้วยกัน 2 แท่ง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้วิธีการคุมกำเนิดแบบฝังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนอาการข้างเคียงก็จะคล้าย ๆ กับการฉีดยาคุมกำเนิดครับ แต่จะดีกว่าตรงที่ไม่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงของประจำเดือนน้อยกว่า
การออกฤทธิ์ของยาฝังคุมกำเนิด
ยาฝังคุมกําเนิด ประกอบไปด้วยฮอร์โมนโปรเจสติน (Progestin) เพียงชนิดเดียว จึงทำให้ไม่มีผลข้างเคียงจากฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เหมือนกับการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด (ฮอร์โมนรวม) โดยฮอร์โมนที่ปล่อยออกมาจากแท่งยาฝังคุมกำเนิดจะมีผลทำให้ฟองไข่ไม่พัฒนา จึงไม่สามารถโตต่อไปจนตกไข่ได้ เมื่อไม่มีไข่ที่จะรอผสมกับเชื้ออสุจิ จึงไม่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ นอกจากนี้ ฮอร์โมนโปรเจสตินที่ปล่อยออกมายังทำให้มูกที่ปากมดลูกเหนียวข้น ส่งผลให้เชื้ออสุจิว่ายผ่านเข้าไปยาก จึงช่วยลดโอกาสเกิดการผสมกับไข่ได้อีกทางหนึ่ง โดยยาฝังคุมกำเนิดที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ดังนี้
-
Implanon®
(ฝัง 1 แท่ง คุมกำเนิด 3 ปี) จะเป็นฮอร์โมน Etonogestrel 68 มิลลิกรัม แท่งยาฝังจะค่อย ๆ ปล่อยฮอร์โมนออกมาวันละ 70-60 ไมโครกรัม
-
Jadelle®
(ฝัง 2 แท่ง คุมกำเนิด 5 ปี) จะเป็นฮอร์โมน Levonorgestrel 75 มิลลิกรัม ที่ปล่อยฮอร์โมนออกมาวันละ 100-40 ไมโครกรัม ซึ่งระดับฮอร์โมนที่ปล่อยออกมาจะสูงในช่วงแรก ๆ แล้วจะค่อย ๆ ลดลงจนคงที่ระยะเวลาต่อมา
ประสิทธิภาพของยาฝังคุมกำเนิด
ถ้าจะบอกว่า “ยาฝังคุมกำเนิดเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์สูงสุด” ก็คงจะไม่ผิด เพราะมีโอกาสล้มเหลวทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้น้อยมากรองจาก “การไม่มีเพศสัมพันธ์” เท่านั้น !! โดยจะมีโอกาสล้มเหลวทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้เพียง 0.05% (1 ใน 2,000 คน) ถึงตรงนี้หลายคนคงสงสัยว่า แล้วการทำหมัน การฉีดยาคุมกำเนิด รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด การใส่ห่วงอนามัย รวมถึงการสวมถุงยางอนามัยล่ะ ไม่ใช่วิธีการคุมกำเนิดที่มีอัตราการล้มเหลวต่ำที่สุดหรือ ? ขอตอบเลยว่า “ยังไม่ใช่” ครับ
เนื่องจากการทำหมันชายยังมีโอกาสล้มเหลวทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้อยู่ คือ 0.1% (1 ใน 666 คน), ยาฉีดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (Cyclofem®) และการใส่ห่วงอนามัยชนิดโปรเจสโตเจนจะมีโอกาสล้มเหลวได้เท่ากัน คือ 0.2% (1 ใน 500 คน), ยาฉีดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว (Depo-Provera®) เท่ากับ 0.2% (อัตราทั่วไป 6%), ยาเม็ดคุมกำเนิด เท่ากับ 0.3% (อัตราทั่วไป 9% หรือ 1 ใน 11 คน), การทำหมันหญิงแบบผูกท่อนำไข่ (Tubal ligation) เท่ากับ 0.5% (1 ใน 384 คน), การใส่ห่วงอนามัยหุ้มทองแดง เท่ากับ 0.6% (อัตราทั่วไป 0.8% หรือ 1 ใน 125 คน) และการสวมถุงยางอนามัย เท่ากับ 2% (อัตราทั่วไป 18% ที่จะล้มเหลวทำให้เกิดการตั้งครรภ์) ฯลฯ จากข้อมูลเหล่านี้จึงอาจระบุได้ว่า “ยาฝังคุมกำเนิดเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่มีอัตราการล้มเหลวน้อยที่สุดในโลก” เลยก็ว่าได้ !!
ส่วนด้านล่างนี้เป็นตารางเปรียบเทียบระหว่างการคุมกำเนิดด้วยการใช้ยาฝังคุมกำเนิดกับวิธีการคุมกำเนิดแบบอื่น ๆ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจครับ
วิธีคุมกำเนิด
การใช้แบบทั่วไป
การใช้อย่างถูกต้อง
ระดับความเสี่ยง
ยาฝังคุมกำเนิด
0.05
(1 ใน 2,000 คน)
0.05
ต่ำมาก
ทำหมันชาย
0.15
(1 ใน 666 คน)
0.1
ต่ำมาก
ห่วงอนามัยเคลือบฮอร์โมน
0.2
(1 ใน 500 คน)
0.2
ต่ำมาก
ยาฉีดคุมกำเนิด (ฮอร์โมนรวม)
0.2
(1 ใน 500 คน)
0.2
ต่ำมาก
ทำหมันหญิงแบบทั่วไป
0.5
(1 ใน 200 คน)
0.5
ต่ำมาก
ห่วงอนามัยหุ้มทองแดง
0.8
(1 ใน 125 คน)
0.6
ต่ำมาก
ยาฉีดคุมกำเนิด (ฮอร์โมนเดี่ยว)
6
(1 ใน 17 คน)
0.2
ปานกลาง
แผ่นแปะคุมกำเนิด
9
(1 ใน 11 คน)
0.3
ปานกลาง
วงแหวนคุมกำเนิด (NuvaRing)
9
(1 ใน 11 คน)
0.3
ปานกลาง
ยาเม็ดคุมกำเนิด
9
(1 ใน 11 คน)
0.3
ปานกลาง
ถุงยางอนามัยชาย
18
(1 ใน 5 คน)
2
สูง
การหลั่งนอก
22
(1 ใน 4 คน)
4
สูงมาก
การหลั่งใน (ไม่มีการป้องกัน)
85
(6 ใน 7 คน)
85
สูงมาก
หมายเหตุ
: ตัวเลขที่แสดงเป็นจำนวนการตั้งครรภ์ต่อปี (first year of use) ของสตรีที่คุมกำเนิดด้วยวิธีดังกล่าวจำนวน 100 คน โดยกำหนดให้
สีฟ้า
= ความเสี่ยงต่ำมาก /
สีเขียว
= ความเสี่ยงต่ำ /
สีเหลือง
= ความเสี่ยงปานกลาง /
สีส้ม
= ความเสี่ยงสูง /
สีแดง
= ความเสี่ยงสูงมาก (ข้อมูลจาก : www.contraceptivetechnology.org, Comparison of birth control methods – Wikipedia)
ผู้ที่เหมาะจะใช้ยาฝังคุมกำเนิด
- ผู้ที่ลืมรับประทานยาคุมกำเนิดบ่อย ๆ หรือเป็นคนขี้ลืม
- ต้องการวิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและคุมกำเนิดได้ในระยะยาว (ต้องการคุมกำเนิดในระยะเวลา 3-5 ปีขึ้นไป)
- ผู้ที่มีข้อห้ามในการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนจากการคุมกำเนิดรูปแบบอื่น เช่น สตรีที่อยู่ในช่วงกำลังให้นมบุตร (สามารถใช้ได้ถ้าทารกอายุมากกว่า 6 สัปดาห์)
ผู้ที่ไม่ควรใช้ยาฝังคุมกำเนิด
- สงสัยว่าตั้งครรภ์หรือยังไม่แน่ใจว่าตั้งครรภ์หรือไม่
- ไม่ชอบการฉีดยาหรือไม่ต้องการให้สิ่งใดมาฝังอยู่ใต้ผิวหนัง หรือกังวลเรื่องการมีประจำเดือนผิดปกติ
- มีปฏิกิริยาไวต่อส่วนประกอบของแท่งบรรจุฮอร์โมน
- ผู้ที่มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดหรือตามอวัยวะเพศต่าง ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ เนื่องจากยาฝังคุมกำเนิดอาจกระตุ้นให้เลือดออกได้มากขึ้น
- มีภาวะเลือดออกง่ายและหยุดยาก เนื่องจากยาฝังคุมกำเนิดอาจไปรบกวนการทำงานของเกล็ดเลือดที่มีหน้าที่ช่วยทำให้เลือดแข็งตัวในภาวะเลือดออกได้
- ผู้ที่สงสัยหรือเป็นมะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น มะเร็งเต้านม หรือมีประวัติเคยเป็นมะเร็งเต้านม เนื่องจากยาฝังคุมกำเนิดอาจไปกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งลุกลามแพร่กระจายได้
- ผู้ที่เป็นโรคตับ เนื่องจากผลข้างเคียงของยาฝังอาจส่งผลทำให้เกิดตับอักเสบเพิ่มขึ้นได้
- มีข้อห้ามในการใช้ฮอร์โมนโปรเจสโตเจน หรือมีเนื้องอกที่สัมพันธ์กับการใช้โปรเจสโตเจน
- ส่วนข้อมูลจาก siamhealth.net ระบุว่า ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคลมชัก โรคถุงน้ำดี ไม่ควรใช้ยาฝังคุมกำเนิด
: ตัวเลขที่แสดงเป็นจำนวนการตั้งครรภ์ต่อปี (first year of use) ของสตรีที่คุมกำเนิดด้วยวิธีดังกล่าวจำนวน 100 คน โดยกำหนดให้= ความเสี่ยงต่ำมาก /= ความเสี่ยงต่ำ /= ความเสี่ยงปานกลาง /= ความเสี่ยงสูง /= ความเสี่ยงสูงมาก (ข้อมูลจาก : www.contraceptivetechnology.org, Comparison of birth control methods – Wikipedia)
หมายเหตุ : ควรขอคำแนะนำจากแพทย์จะดีที่สุด
วิธีการฝังยาคุมกำเนิด
เมื่อตัดสินใจได้แล้วว่า จะคุมกำเนิดโดยใช้ยาฝังคุมกำเนิด คุณสามารถไปขอรับบริการได้ที่โรงพยาบาลประจำอำเภอขนาดใหญ่หรือโรงพยาบาลประจำจังหวัด หรือสอบถามตามคลินิกสูตินรีเวชต่าง ๆ โดยการฝังยาสามารถทำได้ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกได้เลย และไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลแต่อย่างใด ซึ่งจะใช้เวลาไม่นาน แค่ประมาณ 10-20 นาทีก็เสร็จแล้วครับ (จริงแล้ว ๆ ใช้เวลาฝังเฉลี่ยเพียง 1-2 นาที เท่านั้นแหละครับ ไม่ทันรู้ตัวก็เสร็จแล้ว)
เวลาที่เหมาะสมในการฝังยาคุมกำเนิด : ควรรับการฝังยาคุมกำเนิดภายใน 5 วันแรกหลังมีประจำเดือน หรือภายหลังการแท้งบุตรไม่เกิน 1 สัปดาห์ หรือหลังการคลอดบุตรไม่เกิน 4-6 สัปดาห์
ค่าใช้จ่ายในการฝังยาคุมกำเนิด : ถ้าฝังยาคุมกำเนิดในโรงพยาบาลของรัฐจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 2,500-4,000 บาท แต่ถ้าเป็นโรงพยาบาลเอกชนหรือตามคลินิกค่าบริการจะเพิ่มขึ้นมาพอสมควรครับ อยู่ที่ประมาณ 5,000-7,000 บาท ซึ่งก็แล้วแต่สถานที่ครับ ส่วนในเด็กอายุน้อยกว่า 20 ปี ตอนนี้มีสวัสดิการฝังให้ฟรีนะครับ ถ้าใครสนใจก็ไปติดต่อขอรับบริการที่โรงพยาบาลใกล้บ้านได้เลย
ขั้นตอนการฝังยาคุมกำเนิด : เริ่มแรกแพทย์จะทำรอยขนาดเล็กไว้บนท้องแขนด้านในข้างที่ต้องการจะฝังยา ทำความสะอาดผิวหนังด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ แล้วทำการฉีดยาชาเฉพาะที่เข้าที่ใต้ท้องแขน ซึ่งอาจทำให้เจ็บบ้างเล็กน้อย แต่จะช่วยทำให้การฝังยาไม่รู้สึกเจ็บ (ขั้นตอนการทำไม่ต้องดมยาสลบแต่อย่างใด) จากนั้นแพทย์จะใช้เข็มนำเปิดแผลที่ท้องแขนขนาด 0.3 เซนติเมตร และทำการสอดใส่แท่งตัวนำหลอดยาที่มียาบรรจุอยู่เข้าไปในเข็มนำนี้ หลังจากหลอดยาเข้าไปเรียบร้อยแล้วก็จะถอนแท่งนำยาและเข็มนำออก แล้วทำการปิดแผล (โดยไม่ต้องเย็บแผล) ด้วยปลาสเตอร์เล็ก ๆ แล้วพันแผลด้วยผ้าพันแผลพันทับอีกชั้นหนึ่งก็เป็นอันเสร็จ และแพทย์จะให้ยาแก้ปวดกลับไปรับประทานหากมีอาการปวดแผล โดยผ้าพันแผลจะต้องพันทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันเลือดออกหรือหยุดจุดเลือดต่าง ๆ ในวันรุ่งขึ้นอาจพบว่า มีรอยฟกช้ำและเจ็บแขนเล็กน้อยบริเวณรอบ ๆ แท่งฮอร์โมนอยู่ประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วรอยฟกช้ำจะค่อย ๆ หายไปเอง โดยรอยแผลจะเริ่มหายเป็นปกติภายใน 3-5 วัน หลังจากทำไปแล้วห้ามให้ถูกน้ำ 7 วัน เมื่อครบ 7 วัน แพทย์จะนัดมาดูแผลอีกครั้ง
ข้อปฏิบัติภายหลังการฝังยาคุมกำเนิด : หลังฝังยาคุมกำเนิด ควรปิดแผลไว้ประมาณ 3-5 วัน โดยไม่ให้แผลถูกน้ำ และควรมาตรวจหลังจากการฝังยา 7 วัน เพื่อดูความผิดปกติ ในระหว่างนี้ควรหลีกเลี่ยงการถูกกระทบกระแทกบริเวณที่ฝังยาคุมกำเนิด และต้องมาเปลี่ยนยาฝังคุมกำเนิดตามที่แพทย์นัด (ห้ามลืม) ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น มีอาการของการตั้งครรภ์ แผลมีเลือด มีน้ำเหลือง มีหนอง บวมแดง คุณควรรีบไปพบแพทย์ทันที
ภาพ 1 : ภาพด้านล่างคือก่อนและหลังทำเสร็จครับ ภาพแรกคือยาฝังคุมกำเนิด
ชนิด Implanon® (ภาพ : pantip.com by -jj-)
ภาพ 2 : หลังทำเสร็จ พันด้วยผ้าอีลาสติก
ภาพ 3 : เมื่อครบ 24 ชั่วโมง ก็ถอดผ้าอีลาสติกออก จะเห็นปลาสเตอร์กันน้ำเหมือนตอนผ่าคลอด (กันน้ำได้ 100%)
ภาพ 4 : เป็นภาพหลังจากฝังยาคุมกำเนิดไปแล้ว 1 สัปดาห์ โดยแกะปลาสเตอร์กันน้ำและผ้าปิดแผลออก จากภาพจะเห็นว่าแผลมีขนาดเล็กมาก จขกท. (-jj-) บอกว่าเมื่อลองคลำดูก็ไม่เจอแท่งยานะครับ
ขั้นตอนการถอดยาฝังคุมกำเนิด : หากต้องการมีลูกหรือเปลี่ยนยาฝังคุมกำเนิดเมื่อครบตามกำหนด (3 หรือ 5 ปี) คุณสามารถไปถอดยาฝังคุมกำเนิดออกได้ตามโรงพยาบาลทั่วไป ซึ่งการถอดยาฝังคุมกำเนิดก็ใช้เวลาไม่นานครับ พอ ๆ กับตอนใส่ คือ ประมาณ 10-20 นาที (จริง ๆ แล้วแค่ตอนถอด 3-4 นาทีก็เสร็จแล้ว) สามารถทำได้เลยที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก โดยไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล แต่แผลจากการถอดยาฝังนี้จะใหญ่กว่าตอนใส่เล็กน้อยครับ และอาจต้องเย็บแผลด้วยไหม 1 เข็ม ซึ่งแพทย์จะมีการฉีดยาชาเฉพาะที่เล็กน้อยข้างใต้ส่วนปลายของแท่งฮอร์โมน และกรีดแผลขนาดเล็กที่ผิวหนัง แล้วจึงดันหรือใช้อุปกรณ์ดึงแท่งฮอร์โมนออกมาตามรอยแผลที่กรีดไว้ เสร็จแล้วรัดแผลด้วยผ้าพันแผล ซึ่งต้องพันทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง ถ้าต้องการมีลูก หลังจากถอดยาฝังคุมกำเนิดออกแล้ว ผลการคุมกำเนิดจะลดลงอย่างรวดเร็วและภาวะเจริญพันธุ์จะสามารถกลับมาเป็นปกติ ผู้หญิงส่วนใหญ่จะเริ่มมีประจำเดือนได้ตามปกติภายใน 1-12 เดือน (โดยทั่วไปประมาณ 1-3 เดือน ผู้หญิงส่วนใหญ่ก็มีไข่ตกแล้วครับ) ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงและอายุของสตรี รวมทั้งระยะเวลาในการคุมกำเนิดก่อนหน้านี้ด้วย ส่วนในกรณีที่ต้องการคุมกำเนิดต่อไปโดยใช้วิธีเดิม ก็สามารถเปลี่ยนและฝังแท่งฮอร์โมนอันใหม่ได้ทันทีที่เอาแท่งฮอร์โมนอันเดิมออก ส่วนภาพด้านล่างนี้คือขั้นตอนการถอดยาฝังคุมกำเนิดครับ
เมื่อไหร่ที่ต้องไปพบแพทย์ก่อนกำหนดนัด ? : เมื่อมีอาการปวดแขนข้างที่ฝังยาคุมกำเนิดแบบผิดปกติ หรือมีอาการอักเสบ เป็นแผลบวม แดงร้อน หรือเป็นหนอง, มีอาการปวดศีรษะมากผิดปกติ, หายใจลำบาก แน่นหน้าอก (อาการของการแพ้ยา), แขน ขา อ่อนแรง (อาจเป็นอาการของภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำหรือโรคทางสมอง)
ประโยชน์ของยาฝังคุมกำเนิด
- ช่วยลดอาการปวดประจำเดือน
- ช่วยลดโอกาสการเกิดอาการซีดจากการมีประจำเดือนมามากผิดปกติ ซึ่งเกิดจากการหนาตัวของเยื่อบุโพรงมดลูก
- ช่วยป้องกันการหนาตัวของเยื่อบุโพรงมดลูก จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้
ผลข้างเคียงของการฝังยาคุมกำเนิด
- ในระยะเวลา 2-3 เดือนแรก ประจำเดือนอาจมาไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมาแบบกะปริดกะปรอย หรือตกขาวมาก ซึ่งเป็นอาการพบได้มากที่สุด แต่ก็พบได้ไม่มากครับ หรือในบางรายประจำเดือนมามากติดต่อกันหลายวัน ไม่มีประจำเดือน หรือประจำเดือนขาดไปเลยก็มีครับ บางครั้งก็อาจจำเป็นต้องใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน 0.05 มิลลิกรัม วันละ 1 เม็ด ประมาณ 7-10 วัน เพื่อช่วยลดอาการเลือดออกกะปริดกะปรอย
- บางรายอาจมีอาการปวดท้องน้อยและปวดประจำเดือนบ้างในระยะ 2-3 เดือนแรก
- ในระยะแรกอาจมีอาการปวดแขนบริเวณที่ฝังแท่งยาคุมกำเนิด
- แผลที่ฝังยาคุมกำเนิดอาจเกิดการอักเสบหรือมีรอยแผลเป็นได้
- มีอารมณ์แปรปรวน
- มีอาการปวดหรือเจ็บเต้านม
- บางรายอาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น (แต่ปัจจัยหลักคืออาหารครับ ถ้าควบคุมอาหารได้ก็ไม่มีปัญหาอะไร)
- อาจทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ
- หากเกิดการตั้งครรภ์ขึ้น จะมีโอกาสการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้มากกว่าปกติ
- ส่วนข้อมูลจาก siamhealth.net ระบุว่า มีผลข้างเคียงทำให้เป็นสิว ขนดก และมีความต้องการทางเพศลดลง (ข้อมูลอื่นไม่ได้ระบุไว้)
ข้อดีของยาฝังคุมกำเนิด
- ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูงมาก (สูงที่สุดในโลก) รองจากการไม่มีเพศสัมพันธ์ ชนิดที่ว่ายาเม็ดคุมกำเนิดก็เทียบไม่ติด !!
- เป็นวิธีที่มีความสะดวก ฝังครั้งเดียวสามารถคุมกำเนิดได้นาน 3-5 ปี (แล้วแต่ชนิดของยา)
- ไม่ต้องรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดทุกวัน จึงช่วยลดโอกาสการลืมกินยา หรือลดโอกาสฉีดยาคุมคลาดเคลื่อนไม่ตรงกำหนด ที่ต้องไปฉีดยาทุก ๆ 1-3 เดือน
- เนื่องจากยาฉีดคุมกำเนิดมีฮอร์โมนโปรเจสตินเพียงอย่างเดียว จึงทำให้ไม่ได้รับผลข้างเคียงจากฮอร์โมนเอสโตรเจนเหมือนการคุมกำเนิดรูปแบบอื่น เช่น คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ เป็นฝ้า ฯลฯ
- สามารถเลิกใช้เมื่อใดก็ได้ เมื่อต้องการจะมีบุตรหรือเปลี่ยนเป็นใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบอื่น
- ใช้ได้ดีในผู้ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะไม่มีผลต่อการหลั่งของน้ำนม
- ไม่ทำให้การทำงานของตับเปลี่ยนแปลง
- หลังจากถอดออกจะสามารถมีลูกได้เร็วกว่าการฉีดยาคุมกำเนิด เนื่องจากฮอร์โมนกระจายออกในปริมาณน้อยและไม่มีการสะสมในร่างกาย
- มีผลพลอยได้จากการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น ทำให้อาการปวดประจำเดือนมีน้อยลง, ลดโอกาสการตั้งครรภ์นอกมดลูก, ป้องกันการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก, ลดอุบัติการณ์ของภาวะโลหิตจาง ฯลฯ
ข้อเสียของยาฝังคุมกำเนิด
- การฝังและการถอดจะต้องทำโดยแพทย์ที่ได้รับการอบรมแล้ว (ไม่สามารถถอดหรือฝังโดยแพทย์ทั่วไปได้) จึงไม่สามารถใช้หรือถอดได้เอง
- ในบางรายสามารถคลำแท่งยาในบริเวณท้องแขนได้
- ประจำเดือนอาจมาแบบกะปริดกะปรอย จึงทำให้ต้องใส่ผ้าอนามัยอยู่เสมอ จะไม่ใส่ก็ไม่ได้ เพราะบางครั้งก็มาแบบไม่ทันตั้งตัว ซึ่งหลาย ๆ คน กังวลกับปัญหาเหล่านี้ (แต่เมื่อผ่านระยะหนึ่งปีขึ้นไปแล้ว ปัญหาเหล่านี้จะน้อยลง)
- อาจพบภาวะแทรกซ้อนหลังการฝังยาคุมกำเนิดได้ เช่น มีก้อนเลือดคั่งบริเวณที่กรีดผิวหนัง
- อาจพบว่าตำแหน่งของแท่งยาเคลื่อนไปจากตำแหน่งเดิม (พบได้น้อย)
เอกสารอ้างอิง
- สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. “ยาฝัง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : hp.anamai.moph.go.th. [08 ต.ค. 2015].
- FAMILY PLANNING NSW. “ยาคุมกำเนิดชนิดฝัง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.fpnsw.org.au. [09 ต.ค. 2015].
- หาหมอดอทคอม. “ยาฝังคุมกำเนิด”. (รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ประนอม บุพศิริ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : haamor.com. [09 ต.ค. 2015].
- หน่วยงานวางแผนครอบครัว โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์. “ยาฝังคุมกำเนิด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : health.spr.go.th. [09 ต.ค. 2015].
- Siamhealth. “การคุมกำเนิดโดยการฝังฮอร์โมน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.siamhealth.net. [09 ต.ค. 2015].
เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)
เรื่องที่น่าสนใจ
[NEW] แผลฟกช้ำ ภาพถ่ายสต็อก แผลฟกช้ำ รูปภาพปลอดค่าลิขสิทธิ์ | แขนช้ำ – Sonduongpaper
แหล่งกำเนิดและตำแหน่งที่ตั้ง
ในร่ม
ข้างนอก
ผิวช้ำ ไม่ทราบสาเหตุ!! สัญญาณเตือนจากร่างกาย ที่ไม่ควรมองข้าม
ผิวช้ำ ไม่ทราบสาเหตุ!! สัญญาณเตือนจากร่างกาย ที่ไม่ควรมองข้าม
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่
รอยช้ำกี่วันหาย – ลองถ่ายพิสูจน์ทุกวันด้วยตัวเอง
พอดี เกิดอุบัติเหตุ เป็นรอยฟกช้ำครับ ไหนๆ ก็อยากรู้ว่า กี่วันรอยช้ำถึงจะหายไป ผมเลยลอง ถ่ายวีดีโอ ติดตามทุกวัน ว่ากี่วัน รอยช้ำ ถึงจะหายไปครับ
รอยช้ำ
รอยหกช้ำ
รักษา
เวลาคือ(คำตอบ) – Sea Two【OFFICIAL MV】
ติดต่องานแสดง ได้ที่ 0892902833 คุณพีท
สามารถติดตามศิลปินได้่ที่
แฟนเพจ Color room https://www.facebook.com/Amarit.Studio/?ref=aymt_homepage_panel
เพลง : เวลาคือ(คำตอบ)
ศิลปิน : Sea Two
คำร้อง/ทำนอง: ปิ๊ก ขจรจารุกุล
เรียบเรียง: Steve Thai
Intro:
อยากจะถามให้มันแน่ใจก่อน ก่อนที่เราสองจะเดินไปไกลมากกว่านี้
วันและคืนเวลาทุกนาที นับตั้งแต่นี้คือเราทั้งสองคน
อย่าเอ่ยคำสัญญา ไม่ต้องมีวจีใด จะอยู่ได้ไหมให้เวลาเป็นคำตอบ
ฉันมีคำถามข้อนึง ไม่ว่าวันพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร
อะไรจะเกิด ฉันกลัวเหลือเกิน
ตลอดชีวิตมันนานนะ เธอจะทนกับฉันได้นานหรือป่าว
หากวันนึงบังเอิญมีเรื่องราว ที่ทำให้เธอเสียใจ
จะอยู่อีกนานมั้ย หากว่าใครคนนึงไม่ได้เป็น
เหมือนที่เธอฝันเอาไว้ จะอยู่กันไปตลอดชีวิตหรือป่าว
Solo
(/)
Outro
จะอยู่กันไปตลอดชีวิตหรือป่าว
ฝากติดตาม เพลง ทุกเพลง สังกัด Color room ด้วยนะครับ
ดาวน์โหลดเพลง \”เวลา(คือคำตอบ) \” โทร 49227233 ได้ทั้งริงโทน เต็มเพลง และเสียงรอสาย
🎧 รับฟังได้แล้วทาง Music Streaming
Youtube Music : https://music.youtube.com/watch?v=UtkWrBcjECQ
Spotify : https://open.spotify.com/track/5SXu0F6ydltnG46EfighIs?si=_X2oYWz4S8SMHTM4nPR7Lw
JOOX : https://open.joox.com/s/rd?k=16Wj
Apple Music : https://music.apple.com/th/album/1535416701
TrueID Music : coming soon
Tidal Music : https://tidal.com/browse/track/158162509
เวลาคือ(คำตอบ) SeaTwo ColorRoom
ช้าช้า ช้ำช้ำ | Take a nap | Official MV
กดติดตาม ช่อง Take a nap ช้าช้าช้ำช้ำ
https://bit.ly/2L6DllY
กด 492230762 โทรออก
เสียงรอสาย ริงโทน เพลงเต็ม
▶Available on iTunes : https://apple.co/2x4CWHT
▶Available on Spotify : https://spoti.fi/2N7xein
▶Available on Joox : https://bit.ly/2x89MGX
▶Available on True Music : https://bit.ly/2x5HWLv
ช้าช้าช้ำช้ำ เต้ยพงศกร takeanap
เพลง ช้าช้า ช้ำช้ำ
เนื้อร้อง ธาริน เมตตาริกานนท์
ทำนอง ธนภาค เฉลิมพงษ์
เรียบเรียง Banana Boat
กำกับ MV บัณฑิต ทองดี
เนื้อเพลง ช้าช้ำ ช้ำช้ำ
Intro
(พูด)
ผมไม่รู้หรอกว่า คุณจะเคยรู้ไหม
และผมก็ไม่รู้หรอกว่า คุณจะจบเรื่องนี้ยังไง
A
เพิ่งจะรู้ว่าที่แล้วมาที่คอยทุ่มเทให้เธอทุกอย่าง
เธอมองไม่เห็นความสำคัญกับมันเท่าไร
เมื่อใครคนนั้นที่ใกล้เข้ามาและเธอ พร้อมไปกับเขาทั้งใจ คงมีแค่ฉันแค่เพียงคนเดียวที่เธอไม่แล…
Hook
เดินออกไปอย่างช้าช้า เดินกลับมาอย่างช้ำช้ำ
ถึงคราวที่ความผูกพันต้องห่างไกล
เดินออกไปอย่างช้าช้า ไม่ขอให้เธอต้องมาสนใจ
ปล่อยให้ตัวฉันเหงาคนเดียวก็พอ…
A’
หากว่าเธอนั้นต้องการใครระบายเรื่องราวที่เธอทุกข์ใจ
เธอก็จะพบว่ามีฉันคอยอยู่ตรงที่เดิม…
แต่ตอนที่ฉันนั้นต้องการใครสักคนหาเธอเท่าไหร่ไม่เจอ
ก็ทุกๆครั้งที่เธอมีใครก็ไปทุกที…
Hook
เดินออกไปอย่างช้าช้า เดินกลับมาอย่างช้ำช้ำ
ถึงคราวที่ความผูกพันต้องห่างไกล
เดินออกไปอย่างช้าช้า ไม่ขอให้เธอต้องมาสนใจ
ปล่อยให้ตัวฉันเหงา คนเดียวก็พอ
Solo na…………
Hook
เดินออกไปอย่างช้าช้า เดินกลับมาอย่างช้ำช้ำ
ถึงคราวที่ความผูกพันต้องห่างไกล
เดินออกไปอย่างช้าช้า ไม่ขอให้เธอต้องมาสนใจ
ปล่อยให้ตัวฉันเหงา คนเดียวก็พอ
Hook
เดินออกไปอย่างช้าช้า เดินกลับมาอย่างช้ำช้ำ
ถึงคราวที่ความผูกพันต้องห่างไกล
เดินออกไปอย่างช้าช้า ไม่ขอให้เธอต้องมาสนใจ
ปล่อยให้ตัวฉันเหงา คนเดียวก็พอ…
ปล่อยให้ตัวฉันเหงา ไม่อยากเป็นคนที่เหงาและยังเฝ้ารอ….
fanpage : https://www.facebook.com/takeanapofficial/
อ้ายมันหมอลำ – มนต์แคน แก่นคูน【MUSIC VIDEO】
เพลง : อ้ายมันหมอลำ
ศิลปิน : มนต์แคน แก่นคูน
คำร้องทำนอง : สลา คุณวุฒิ
เรียบเรียง : ปิยะวุฒิ ณ บางช้าง
อ้ายฮ้องบ่เก่ง เด้อ..เพลงอินดี้
เพราะใจของอ้ายคนนี้ เคมีมันเป็นหมอลำ
เกิดอยู่บ้านนอก ชอบเพลงบ้านนา ภาษางามงาม
เสียง โอ ล่ะนอ หมอลำ ฮ้องตามแบบบ่อายใคร
ผู้บ่าวรุ่นใหม่ขายเพลง ขายรูป
อัพโหลดลงในยูทูป วิวผ่านร้อยล้านง่ายง่าย
จังหวะร็อคร็อคใช้คำแรงแรง ผู้สาวชอบใจ
ดัดเสียงพยัญชนะไทย จั๊กไผพาใช้จนเกร่อ
เฮ็ดนำบ่เป็นเด้อ เรียก \”เธอ\” ว่า “เชอ\” ว่าติ๊
ออกเสียง “ธ” เป็น \”ช\” ทุกที “มันเป็นอะไรชี้”
ขีนหูหลายเดอ
ภาษาพ่อขุนฯ กำลังสิหมุ่นเพราะวัยรุ่นเผลอ
หนุ่มรถแห่แอ๊บจนปากเจ่อ ผู้สาวยังเห่อ นำเพิ่นหล๊ายหลาย
ผู้บ่าวสายดงกะคงส่ำนี่
ร้องเพลงลูกทุ่งจังซี้ ถึงสิบ่จ๊วดสะใจ
ไผว่าเชยเชย สิยอมเฉยเฉย บ่แล่นนำไผ
เต้นหน้าฮ้านผู้เดียวกะได้ สิเฮ็ดจังใด๋ อ้าย..มันหมอลำ
เฮ็ดนำบ่เป็นเด้อ เรียก \”เธอ\” ว่า “เชอ\” ว่าติ๊
ออกเสียง “ธ” เป็น \”ช\” ทุกที “มันเป็นอะไรชี้”
ขีนหูหลายเดอ
ภาษาพ่อขุนฯ กำลังสิหมุ่นเพราะวัยรุ่นเผลอ
หนุ่มรถแห่แอ๊บจนปากเจ่อ ผู้สาวยังเห่อ นำเพิ่นหล๊ายหลาย
ผู้บ่าวสายดงกะคงส่ำนี่
ร้องเพลงลูกทุ่งจังซี้ ถึงสิบ่จ๊วดสะใจ
ไผว่าเชยเชย สิยอมเฉยเฉย บ่แล่นนำไผ
เต้นหน้าฮ้านผู้เดียวกะได้ สิเฮ็ดจังใด๋ อ้าย..มันหมอลำ
ไผว่าเชยเชย สิยอมเฉยเฉย บ่แล่นนำไผ
เต้นหน้าฮ้านผู้เดียวกะได้ สิเฮ็ดจังใด๋ อ้าย มันหมอ …. หมอลำ
อ้ายมันหมอลำ มนต์แคนแก่นคูน แกรมมี่โกลด์
grammygold grammygoldofficial\r
\r
❤︎ ติดตามอัพเดทผลงานศิลปิน Grammy Gold ได้ที่\r
[email protected] : http://bit.ly/LineGold\r
IG : Grammygold_Official\r
YouTube : http://bit.ly/GrammyGoldOfficial\r
Twitter : http://bit.ly/TwitGold\r
Facebook : http://bit.ly/FBgmmGold\r
\r
☎ ติดต่องานจ้างศิลปิน แกรมมี่โกลด์ โทร.0854847345
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆWiki
ขอบคุณมากสำหรับการดูหัวข้อโพสต์ แขนช้ำ