โรคหลงผิด: คุณกำลังดูกระทู้
สวัสดีค่ะ สถานการณ์ผู้ป่วยจิตเวชมีแนวโน้มว่าเพิ่มขึ้นทุกปีนะคะ สถิติในปี 2560 ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยขอรับการรักษาอาการทางจิตเวชมากถึง 2,600,000 คน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้ากว่าเท่าตัว โดยอาการป่วยทางโรคจิตเภทเป็นกลุ่มที่มีผู้เข้ารับการรักษามากที่สุดถึง 380,000 คน!
โรคทางจิตเภทนี้ถูกจัดอยู่ในโรคจิต (Psychosis) เช่นเดียวกับ
“โรคจิตหลงผิด (Delusional Disorder)”
ที่พี่เมก้าจะพาไปทำความรู้จักกันในวันนี้ค่ะ บอกเลยว่าโรคจิตหลงผิดนี้ เป็นอีกโรคที่พบบ่อย ที่สำคัญผู้ป่วยมักจะไม่รู้ว่าตัวเองมีความเจ็บป่วยอยู่ ทำให้การดำเนินชีวิตบางส่วนไม่ปกติอย่างที่ควรจะเป็นค่ะ ไม่ปกติยังไง ร้ายแรงขนาดไหน ตามไปดูกัน!
“จิตหลงผิด” คืออะไร?
โรคหลงผิดหรือจิตหลงผิด (Delusional Disorder) เป็นโรคจิต (Psychosis) ชนิดหนึ่งที่มีอาการหลงผิดเป็นลักษณะเด่น เดิมรู้จักกันในชื่อโรคหวาดระแวง (
Paranoid Disorder) แต่จริงๆ โรคนี้ไม่ได้มีภาวะหวาดระแวงเพียงอย่างเดียว ยังมีอาการหลงผิดแบบอื่นๆ แฝงอยู่ หลักๆ
“โรคนี้เป็นความผิดปกติทางด้านความคิด ผู้ป่วยมักมีความคิดความเชื่อแบบผิดๆ เชื่อในสิ่งที่ไม่เป็นจริงฝัง โดยที่เหตุผลต่างๆ ไม่สามารถนำมาหักล้างความเชื่อหรือเปลี่ยนความคิดนั้นๆ ของเขาได้”
หากวัดระดับความเชื่อของผู้ป่วยโรคหลงผิดกับคนที่ไม่ป่วย มีคะแนนเต็ม 10 เท่ากัน คนธรรมดาเมื่อมีเหตุผลมาค้าน ความเชื่อนั้นอาจค่อยๆ ลดระดับจาก 10 เป็น 1 ได้ แต่ผู้ป่วยโรคนี้ ความเชื่อจะฝังแน่นในหัวอยู่ระดับ 10 เต็ม 10 ไม่เปลี่ยน! ต่อให้มีเหตุผลมาป้อนก็ไม่สามารถเปิดใจรับข้อมูลใหม่ๆ ได้
ภายนอกดูปกติ แต่ทำไมหลงผิด?
ผู้ป่วยโรคจิตหลงผิด ไม่มีอาการประสาทหลอน สื่อสารรู้เรื่อง เรียนและทำงานได้อย่างปกติ แต่ในส่วนของอาการหลงผิดยังคงหมกมุ่นอยู่ เนื่องจาก “ผู้ป่วยไม่รู้ว่าตัวเองป่วย และไม่สามารถตอบได้ว่าทำไมถึงมีพฤติกรรมเช่นนั้น” ความหลงผิดเกิดขึ้นจากระบบการทำงานของสารสื่อประสาทในสมอง “โดปามีน” เสียสมดุลไปจนส่งผลต่อความคิด ความเชื่อ และการรับรู้ของผู้ป่วย ส่วนสาเหตุที่ทำให้สารเคมีในสมองผิดปกตินั้น ทางการแพทย์ยังไม่สามารถตรวจพบได้แน่ชัด ผู้ป่วยอาจได้รับการถ่ายทอดจากพันธุกรรม หรือมีสภาวะแวดล้อมเป็นตัวขับเคลื่อน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่โดดเดี่ยว อ่อนไหวง่าย หรือมีความเครียดสูงเป็นทุนเดิม
“จิตหลงผิด” บิดไปหลายรูปแบบ
อย่างที่บอกว่าอาการของโรคจิตหลงผิด ไม่ได้มีแค่หวาดระแวงเพียงอย่างเดียว ยังมีภาวะอื่นๆ ที่บ่งชี้ว่ามีการหลงผิดอยู่อีกหลายประเภท ดังนี้
รูปแบบที่ 1 หลงผิดว่ามีคนกลั่นแกล้ง (Persecutory Delusional Disorder)
อาการหลงผิดรูปแบบนี้ พบมากที่สุดในบรรดาอาการหลงผิดชนิดอื่นๆ เลยค่ะ ผู้ป่วยจะเชื่อฝังใจและหวาดระแวงว่าตัวเองกำลังถูกกลั่นแกล้ง รังแก หรือลอบปองร้ายถึงขั้นเอาชีวิต ตัวอย่างเช่น D ระแวงว่าเพื่อนรวมกลุ่มกันดักฟัง จับผิด และคอยใส่ร้าย D ให้ครูเกลียด เพราะอิจฉาที่ D เรียนเก่งกว่า ครูรัก D มากกว่า เพื่อนซื้อชานมไข่มุกให้ก็คิดว่าในน้ำมียาพิษ กลัวโดนลอบฆ่า แม้เพื่อนหรือครูจะช่วยกันยืนยันและอธิบายว่า ไม่มีการกลั่นแกล้ง อิจฉากัน ก็ยังเชื่ออยู่แบบนั้นว่าเพื่อนจะทำร้ายตนจนไม่ไว้ใจใคร ไม่อยากไปโรงเรียน
รูปแบบที่ 2 หลงผิดว่าตนเป็นผู้วิเศษ (Grandiose Delusional Disorder)
ผู้ป่วยประเภทนี้จะมีความเข้าใจว่าตัวเองเป็นผู้วิเศษ เก่งกาจ มีความสามารถ และมีอำนาจเหนือใคร บางคนเข้าใจว่าตัวเองมีญาณพิเศษ มีพลังวิเศษแบบที่คนอื่นไม่มี ตัวอย่างเช่น D คิดว่าตัวเองอ่านใจคนได้ หยั่งรู้อนาคต มองหน้า A แล้วรู้เลยว่ากำลังรู้สึกแย่ สอบตกกลางภาคแน่นอน ต่อให้ A การันตีว่า “ชั้นโอเค เกรดกำลังรุ่งพุ่งแรง มีความสุขสุดๆ D ต่างหากต้องรีบอ่านหนังสือเพราะคะแนนเก็บน้อยมาก” แต่ D ก็ยังมองว่า A หลอกตัวเองอยู่ เพราะ D หยั่งรู้ทุกสิ่ง รู้ว่าดวงตัวเองยิ่งใหญ่ที่สุด และเขาเป็นผู้กุมความจริงทุกอย่าง
รูปแบบที่ 3 หลงผิดว่าตัวเองเป็นโรคร้าย (Somatic Delusional Disorder)
อาการหลงผิดรูปแบบนี้ ผู้ป่วยจะคิดว่าตัวเองมีความผิดปกติทางด้านร่างกาย คิดว่าอวัยวะบางอย่างทำงานไม่ปกติ มีชิ้นส่วนของร่างกายผิดรูป หรือตัวเองกำลังทุกข์ทรมานกับโรคร้าย ทั้งที่คนภายนอกมองมาเห็นร่างกายเป็นปกติทุกอย่าง และแข็งแรงดี ตัวอย่างเช่น D คิดว่าจุดไฝของตัวเองโตขึ้น (ทั้งที่มีขนาดเท่าเดิม) D จิตตกคิดว่าตัวเองเป็นมะเร็งไฝ หมอชี้แจงชัดเจนว่าไม่ใช่มะเร็งก็ไม่เชื่อ คิดว่าไฝโตขึ้นอีก กลับไปหาหมออีก หมอแนะนำให้เลเซอร์ออกก็กลัวว่าเซลล์มะเร็งจะแพร่กระจาย ยังคงคิดว่าตัวเองเป็นโรคร้ายทั้งที่ไม่มีเหตุผลใดๆ มารองรับเลยว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ
รูปแบบที่ 4 หลงผิดว่ามีคนหลงรักตัวเอง (Erotomantic Delusional Disorder)
อาการหลงผิดรูปแบบนี้มาแนวๆ เพ้อฝัน แยกแยะไม่ได้ว่าอันไหนมโนอันไหนเรื่องจริง ผู้ป่วยมักจะคิดว่าบุคคลอื่นเป็นคู่รัก หรือมีความหลงใหลคลั่งไคล้ในตัวเองมาก ส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าคนที่มีฐานะทางสังคมสูงกว่า หรือบุคคลสำคัญหลงรักตน เช่น เชื้อพระวงศ์ นักแสดง ไอดอลเกาหลี ฯลฯ หากอาการหนักมาก จะคลั่ง
ถึงขั้นเป็นสตอล์กเกอร์แอบสะกดรอยตามทุกฝีเก้า เช่น D คิดว่า C หลงรักตัวเองมาก ถึงขั้นหยุดรักไม่ได้ขาดใจ แม้ความเป็นจริง C จะกลัวถึงขั้นตัดขาด D ด้วยการบล็อกไลน์ เฟซ ทวิต หนีทุกช่องทาง แต่ D ก็ยังสร้างตัวตนปลอมขึ้นหาทางติดต่อกลับไป และแอบสะกดรอยตาม C ไปทุกที่ เพราะเชื่อว่า C ขาด D ไม่ได้
รูปแบบที่ 5 หลงผิดว่าคนรักนอกใจ (Jealous Delusional Disorder)
เป็นอีกรูปแบบอาการที่จิตแพทย์ยืนยันว่าพบได้บ่อยๆ ผู้ป่วยมักหลงผิดไปว่าคู่รักของตนกำลังนอกใจจนเกิดเป็นความไม่ไว้วางใจและทำให้ชีวิตคู่ล้มเหลว เช่น D ระแวงว่า K เจอผู้หญิงที่ดีกว่า สวย รวย เก่ง แล้วจะทิ้งตัวเองไป ถึงแม้ว่า K จะปฏิเสธและยังรัก D ไม่เปลี่ยนแปลง แต่ D ก็ยังเชื่อไปสุดโต่งว่า K มีชู้! คอยจับผิดและชวนทะเลาะตลอด K พูดเพราะทำดีด้วยก็หาว่าหลอกล่อทำให้ D ตายใจแล้วก็จะเขี่ยทิ้ง
รูปแบบที่ 6 หลงผิดแบบผสม (Mixed Delusional Disorder)
รูปแบบนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการหลงผิดมากกว่า 1 อาการข้างต้น แต่ไม่มีเรื่องใดที่เด่นชัดออกมาโดยเฉพาะ ตัวอย่างเช่น D เชื่อฝังหัวว่าตัวเองมีญาณวิเศษ หยั่งรู้ว่าใครคือคู่แท้ จนหลงผิดคิดว่ามีไอดอลเกาหลีมาหลงรักตัวเอง หน้าตาเราเหมือนกัน เป็นเนื้อคู่กันมาแล้วทุกชาติ กรณีนี้คือหลงผิดแบบมิกซ์ระหว่างการคิดว่าตัวเองเป็นผู้วิเศษกับมีคนมาหลงรักตัวเอง
ยังมีอาการหลงผิดแบบอื่นๆ ที่ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนด้วย โดยโรคหลงผิดแบบนี้จะมีชื่อเรียกว่า
“โรคหลงผิดแบบไม่ระบุเจาะจง (Unspecified Delusional Disorder)”
เริ่มหลงผิดตั้งแต่ 18 จนถึงตลอดชีวิต!
อาการหลงผิดนี้ มักจะเกิดขึ้นกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เริ่มตั้งแต่ช่วงอายุ 18 จนถึง 90 ปี แต่ส่วนใหญ่พบมากในวัยผู้ใหญ่หรือวัยทำงาน ช่วงอายุประมาณ 30 – 40 ปีขึ้นไป โดยผู้ป่วยจะต้องติดอยู่กับความหลงผิดนานตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป บางรายก็อาจหลงผิดไปได้ตลอดชีวิต เพราะระบบการให้เหตุผลสูญเสียไป เลยไม่รู้ว่าสิ่งที่ตัวเองเชื่ออยู่มันผิดไปจากที่ควรจะเป็น
รักษายังไงถึงหายหลงผิด?
จิตแพทย์จะบอกเสมอว่าคนที่มีอาการทางจิต มักจะไม่รู้ว่าตัวเองป่วยและปฏิเสธว่าไม่ได้ป่วย โรคหลงผิดนี้ก็เช่นเดียวกัน ผู้ป่วยจะไม่มานั่งสงสัยว่าสิ่งที่เราคิดอยู่ คิดมากไปหรือเปล่า คิดผิดหรือเปล่า เพราะถ้าเกิดตั้งคำถามขึ้นมายับยั้งเมื่อไหร่ นั่นจะไม่ใช่อาการจิดหลงผิด โรคนี้จะปักใจเชื่อไปอย่างแนบแน่น ไม่สามารถนำเหตุผลหรือคำชี้แจงที่น่าเชื่อถือใดๆ มาโต้แย้ง หักล้างความคิดนั้นได้ คนรอบข้างต้องช่วยสอดส่อง แล้วหมั่นประเมินอาการ ถ้าพบว่าอาการกำเริบเข้าข่ายโรค ควรรีบพาผู้ป่วยมาพบจิตแพทย์ (แต่กว่าจะถึงมือแพทย์คงเหนื่อยหน่อย เพราะผู้ป่วยจะไม่ยอมรับว่าตัวเองป่วย เขาจะคิดว่าเรามองเขาไม่ปกติ)
สำหรับ “ขั้นตอนการรักษาโรคจิตหลงผิด” จิตแพทย์จะเริ่มด้วยการให้ผู้ป่วยทำแบบทดสอบทางจิตเวชเพื่อประเมินอาการก่อน ตามด้วยการ X-ray สมองเพื่อตรวจเช็กอาการผิดปกติที่อาจส่งผลให้เกิดโรค เมื่อทราบผลวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้จริงก็ทำการรักษาด้วยยา พบแพทย์อย่างต่อเนื่องเพื่อปรับวิธีคิดให้ใช้ชีวิตในสังคมได้ปกติ และไม่หยุดใช้ยาเองเมื่ออาการดีขึ้น เพราะอาจป่วยซ้ำและรักษายากกว่าครั้งแรก ถ้ารักษาไม่หายอาจถึงขั้นเป็นโรคจิตถาวร มีพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อตนเอง และส่งผลกระทบต่อการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
หลังอ่านจบน้องๆ คงรู้แล้วว่าผู้ป่วยโรคจิตหลงผิดไม่ได้แกล้งคิดแกล้งทำสิ่งที่ผิด แต่เพราะเขาไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมตัวเองได้ สมองที่ผิดปกติสั่งมาให้เขาคิดแบบนี้จริงๆ มันเป็นส่วนหนึ่งของโรคจริงๆ ทุกอย่างเลยเป็นแบบนี้ พี่เมก้าคิดว่าคนรอบข้างมีผลต่อการเยียวยาความคิดและจิตใจผู้ป่วยมากเลยค่ะ อย่าให้เกิดความรู้สึกว่าทุกคนมองเขาไม่ปกติ ต้องให้ความรักความเข้าใจกับเขามากๆ
เพราะโรคทางจิตเภทก็เหมือนอาการป่วยอย่างหนึ่ง เราเป็นหวัด ไม่สบาย ต้องทานยาถึงจะหาย ผู้ป่วยทางจิตก็เช่นกัน ต้องรักษา ทานยา ถึงจะหายเป็นปกติ ถ้าพบคนใกล้ตัวมีอาการเข้าข่าย รีบโน้มน้าวไปพบจิตแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธีนะคะ เขาจะได้ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีคุณภาพค่ะ
[Update] โรคหลงผิด (Delusional disorder) | โรคหลงผิด – Sonduongpaper
Sign in
Welcome!
Log into your account
your username
your password
รวมเพลงเพื่อชีวิต สะท้อนสังคม ถนนชีวิต (หลงผิด) ขี้ยา
รวมเพลงเพื่อชีวิต สะท้อนสังคม ถนนชีวิต หลงผิด ขี้ยา
รวมเพลงเพื่อชีวิต สะท้อนสังคม ถนนชีวิต หลงผิด ขี้ยา
รวมเพลงเพื่อชีวิต สะท้อนสังคม ถนนชีวิต หลงผิด ขี้ยา
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่
วิธีการรับมือกับความผิดหวัง [ พระจุลนายก สุชาติ อภิชาโต ]
ท่านสามารถติดตามเรื่องเล่าธรรมะ และกดกระดิ่งไว้เพื่อไม่พลาดการรับชมคลิปธรรมะดีๆจากช่อง Bua Channel ได้ที่นี่\r
https://www.youtube.com/channel/UC1KG5bXJAQ7LqSrwjqMbXg\r
\r
An Introduction to Buddhist Practice: When a person is introduced to Buddhism for the first time, the first thing he should do is to forget all about his background of Christianity – and his Christian views and other similar views – and start from scratch.\r
The story of the Buddha begins like this. The Buddha found that he had a problem and he left home to try to find the answer to this problem. He went searching for teachers, he went to this teacher and then that teacher but he found he still had the problem. Finally he had to go off on his own to search for the solution, because he could not find anyone who knew about it. And he found the answer within himself, and he found the way to get to the state where he got the answer to his question and got free from his problem \r
\r
ติดตามฟังธรรมผ่านเพจ สำนักป่าพุทธภูมิ โพธิยาลัย\r
https://www.facebook.com/AnagarikaBhodhiyana/\r
\r
บัวชาแนล เล่าเรื่องเล่าธรรม
เจาะลึกความลับจิตใจมนุษย์ – รายการ Believe สัมภาษณ์ \”ขุนเขา\” ทางช่อง True
การสวมรองเท้าแตะเดิน
ย่อมง่ายกว่าการปูพรมบนโลกทั้งใบ…
ก่อนจะไล่เปลี่ยนคนทุกคน
ลองเปลี่ยน \”ตน\” ดูก่อนไหม…
เพราะเมื่อใจเราเปลี่ยนไป
โลกทั้งใบจะไม่เหมือนเดิม…
ขุนเขา สินธุเสน เขจรบุตร
ติดตามผมได้ที่
Official Line:
@kskhunkhao (มีเครื่องหมาย @ ด้วยนะครับ)
ลิ้งก์ https://lin.ee/1VT3k3oPo
Facebook: K.S. Khunkhao
ลิ้งก์ https://bit.ly/2Set3Cz
Instagram: ks_khunkhao
ลิ้งก์ https://bit.ly/2S7lwWm
Rama Square : โรคหลงผิด โรคจิตเวชที่รักษาได้ : ช่วง Rama DNA 7.5.2562
Rama Square ช่วง Rama DNA 7.5.2562
“โรคหลงผิด” โรคจิตเวชที่รักษาได้
เปิดสายปรึกษาปัญหาทางจิตเวช ในรายการ โทร.023547104 / 023547105
อ. นพ.กานต์ จำรูญโรจน์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
RamaSquare
ติดตามชมรายการ Rama Square ได้ทุกวันจันทร์ ศุกร์ เวลา 11.0012.00 น. ทาง True Visions42 และ YouTube Rama Channel
ติดตาม Rama Channel ได้ทาง
ติดตามชมรายการต่าง ๆ ของรามาแชนแนลได้ทาง
Facebook: Rama Channel
YouTube: Rama Channel TV
Website : RamaChannel.tv
True Visions 42
True ID Mobile Application
โรคหลงผิด : Rama Square ช่วง จิตคิดบวก 23 พ.ค.60 (4/4)
จิตคิดบวก “โรคหลงผิด”
ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
ติดตามรายการได้ทุกวันจันทร์ศุกร์
ออกอากาศสดผ่าน Facebook Fanpage เวลา 12.00 13.00 น.
โดยคุณผู้ชมสามารถรับชมรามาแชนแนลได้ที่ช่อง True Visions 42 หรือ
ทางเว็บไซต์ www.ramachannel.tv และ www.youtube.com/ramachanneltv
ออกอากาศวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2560
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆWiki
ขอบคุณที่รับชมกระทู้ครับ โรคหลงผิด